พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลพิพากษาดอกเบี้ยเกินคำฟ้องต้องมีเหตุสมควรตามมาตรา 142(6) หากไม่มีเหตุผลรองรับ การพิพากษาแก้เป็นอื่นนอกเหนือคำฟ้องย่อมไม่ชอบ
การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(6)
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดาวน์และเงินค่างวดคืนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามคำฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ในส่วนดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีข้อวินิจฉัยว่า จำเลยไม่สุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีนี้อย่างไร ทั้งตามสำนวนก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยสู้ความโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(6) ที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดาวน์และเงินค่างวดคืนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามคำฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ในส่วนดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีข้อวินิจฉัยว่า จำเลยไม่สุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีนี้อย่างไร ทั้งตามสำนวนก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยสู้ความโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(6) ที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อขายที่ดินกับสิทธิทำประโยชน์: ศาลพิพากษาเกินฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงจะโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยผิดสัญญา ขอให้บังคับ ตามข้อตกลงนั้น ก็เป็นการตกลงที่จะโอนให้ใช้ทำมาหากินคือการใช้ทำประโยชน์นั่นเอง และการที่โจทก์ขอให้จำเลยร่วมกันชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าเสียหายที่ผิดสัญญา เมื่อการตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทวัตถุแห่งหนี้เป็นเรื่องการโอนตัวทรัพย์ ส่วนการตกลงให้เข้าใช้หรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท วัตถุแห่งหนี้มิได้เป็นเรื่องการโอนตัวทรัพย์ หากเพียงแต่ให้มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดินพิพาทเท่านั้น จึงเป็นข้อตกลงหรือการกระทำที่มีลักษณะแตกต่างคนละอย่างกัน เมื่อตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันจะบังคับแต่เพียงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมิได้ทำนองเดียวกัน ถ้าตกลงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็จะบังคับให้โอนที่ดินพิพาทมิได้เช่นเดียวกัน และคำขอบังคับให้ชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าทดแทนตัวทรัพย์ ก็เป็นคนละอย่างต่างกันกับการบังคับให้ชำระเงินค่าไถ่ถอนจำนองซึ่งกรณีหลังเป็นการคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้ว แม้จะเป็นการชำระหนี้ด้วยเงินเหมือนกันก็ตาม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงให้โจทก์มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาช่วยตนเองพ้นผิดกับการกระทำความผิดฐานทำลายหลักฐาน: การพิจารณาความผิดตามมาตรา 184 และ 142
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 184จะต้องเป็นการกระทำเพื่อจะช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง การที่จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งป่าไม้อำเภอได้ร่วมกับพวกเผาไม้ท่อน 12 ท่อน ที่พนักงานสอบสวนได้ยึดและรักษาไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานในการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ โดยไม้ดังกล่าวมีดวงตราประจำตัวของจำเลยตีประทับที่หน้าตัดของไม้ทุกท่อน และกำลังอยู่ในระหว่างตรวจสอบว่าเป็นไม้ซึ่งได้ถูกตัดมาโดยถูกต้องตามขั้นตอนและระเบียบกฎหมายหรือไม่นั้น จำเลยกระทำไปด้วยเจตนาเพื่อช่วยตนเองให้พ้นจากความผิดที่ตนอาจได้รับ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 184 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา มาตรา 142: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง
ฮ. ใช้ปืนยิงป.และ ว.ตายจ่าสิบตำรวจ ส. ได้รับแจ้งความแล้วไปยังที่เกิดเหตุในระหว่างทางพบจำเลยที่ 1, 2 และ ฮ. จึงถามจำเลยที่ 1 ว่าปืนที่ ฮ. ใช้ยิง ป. และ ว. นั้นอยู่กับใคร จำเลยที่ 1 ว่าอยู่กับจำเลยที่ 3 จ่าสิบตำรวจ ส. บอกจำเลยที่ 1ให้เก็บปืนไว้ด้วยเมื่อจ่าสิบตำรวจ ส. มอบตัว ฮ. ที่สถานีตำรวจ แล้วกลับไปที่เกิดเหตุเพื่อยึดปืนเป็นของกลาง ถามจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ว่าเมื่อได้รับปืนจากจำเลยที่ 2 แล้วได้เอาไปวางไว้ที่กล่องเบียร์แล้วหายไป จ่าสิบตำรวจ ส. จึงไม่ได้ปืนนั้นมาเป็นของกลาง ดังนี้ บุตรของ ป. กับ ว.และมารดาของว. ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ของกลาง: ยังคงลงโทษได้ตามมาตรา 142 แม้กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 290 ถูกยกเลิก
ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดไปตามกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 290 นั้น หาได้ถูกประมวลกฎหมายอาญายกเลิกไปโดยสิ้นเชิงไม่ แม้ความผิดฐานลักทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดหรืออายัดจะไม่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา แต่การเอาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดรักษาไว้ไปโดยทุจริต ก็คงยังเป็นความผิดตามมาตรา 142 ประมวลกฎหมายอาญาอยู่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ถูกยึด: ยังคงเป็นความผิดตามมาตรา 142 แม้กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 290 ถูกยกเลิก
ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดไปตามกฎหมายลักษณะอาญาร.ศ.127 มาตรา 290 นั้น หาได้ถูกประมวลกฎหมายอาญายกเลิกไปโดยสิ้นเชิงไม่ แม้ความผิดฐานลักทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดหรืออายัดจะไม่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา แต่การเอาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดรักษาไว้ไปโดยทุจริต ก็คงยังเป็นความผิดตามมาตรา 142 ประมวลกฎหมายอาญาอยู่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตำรวจสมคบร่วมกระทำผิดเอง ไม่ผิดฐานใช้อำนาจในทางทุจริตตาม ม.142
แม้จำเลยเป็นตำรวจมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายก็ตาม ก็ลงโทษจำเลยฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริตตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 142 ไม่ได้ ในเมื่อจำเลยสมคบกับพวกพยายามลักทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์เสียเอง จึงมิได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ช่วยเหลือจำเลยอื่นกระทำผิดหรือช่วยเหลือให้พ้นอาญา
บทบัญญัติตามก.ม.ลักษณะอาญา ม.142 เป็นกรณีเจ้าพนักงานช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับอาญา มิใช่เอาผิดแก่เจ้าพนักงานผู้กระทำผิดเสียเอง
บทบัญญัติตามก.ม.ลักษณะอาญา ม.142 เป็นกรณีเจ้าพนักงานช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับอาญา มิใช่เอาผิดแก่เจ้าพนักงานผู้กระทำผิดเสียเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปกครองปล่อยผู้ต้องหา เลี่ยงการดำเนินคดีอาญา เปลี่ยนเป็นคดีแพ่ง มีความผิดตาม ม.142
ม.28 แห่ง พ.ร.บ. ปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 บัญญัติให้ผู้ใหญ่บ้านท้องที่มีอำนาจและหน้าที่การงานในเขตท้องที่ของตน และ พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486 ม.6 เพิ่มหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านเข้าไว้อีกตาม ข้อ 18 ว่า " ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของกำนันหรือทางราชการฯ" ประกอบกับคำปลัดอำเภอพยานโจทก์ว่า ผู้ใหญ่บ้านทุกคนมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดในท้องที่ของตนและต้องรายงานให้อำเภอทราบ
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นเจ้าพนักงานท้องที่ตาม ก.ม.เมื่อพาผู้ต้องหาในคดีลักและฆ่ากระบือไปส่งอำเภอ ระหว่างทางจำเลยจัดการให้ผู้เสียหายกับผู้ต้องหาเลิกคดีกันโดยผู้ต้องหายอมใช้ราคาค่าเสียหาย จำเลยปล่อยผู้ต้องหาโดยจัดหาสัญญาประนีประนอมให้เลิกคดีกัน ปิดข้อเท็จจริงเรื่องลักทรัพย์และฆ่ากระบือเป็นเรื่องทำให้เสียทรัพย์โดยไม่เจตนา คือปิดข้อเท็จจริงซึ่งเป็นความผิดทางอาญาแผ่นดินที่ไม่มีทางเลิกกันได้ให้เป็นความผิดส่วนตัวที่เลิกกันได้ตามกฎหมาย เช่นนี้จำเลยได้ชื่อว่ากระทำการอันไม่ควรกระทำและมีเจตนาช่วยเหลือผู้กระทำผิดไม่ให้ต้องรับโทษ การกระทำของจำเลยจึงเป็นผิดตาม ก.ม. อาญา ม. 142
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นเจ้าพนักงานท้องที่ตาม ก.ม.เมื่อพาผู้ต้องหาในคดีลักและฆ่ากระบือไปส่งอำเภอ ระหว่างทางจำเลยจัดการให้ผู้เสียหายกับผู้ต้องหาเลิกคดีกันโดยผู้ต้องหายอมใช้ราคาค่าเสียหาย จำเลยปล่อยผู้ต้องหาโดยจัดหาสัญญาประนีประนอมให้เลิกคดีกัน ปิดข้อเท็จจริงเรื่องลักทรัพย์และฆ่ากระบือเป็นเรื่องทำให้เสียทรัพย์โดยไม่เจตนา คือปิดข้อเท็จจริงซึ่งเป็นความผิดทางอาญาแผ่นดินที่ไม่มีทางเลิกกันได้ให้เป็นความผิดส่วนตัวที่เลิกกันได้ตามกฎหมาย เช่นนี้จำเลยได้ชื่อว่ากระทำการอันไม่ควรกระทำและมีเจตนาช่วยเหลือผู้กระทำผิดไม่ให้ต้องรับโทษ การกระทำของจำเลยจึงเป็นผิดตาม ก.ม. อาญา ม. 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใหญ่บ้านไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายอาญา มาตรา 142 ในการจับกุม
ผู้ใหญ่บ้านไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายอาญา ม.142 อ้างฎีกาที่ 169/2481
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อำนาจเกินเหตุของเจ้าพนักงานตำรวจและการปรับบทลงโทษตาม ม.142 วรรค 2
ตำรวจจับคนเมาสุราใช้อำนาจรุนแรงเกินเหตุโดยใช้เท้าถีบและเตะแล้วจับตัวไปสถานีตำรวจยังไม่มีผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 142 วรรค 2 สัญญาทางพระราชไมตรีคดีที่คนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความฎีกาได้ แต่ปัญหาข้อกฎหมาย