พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7797/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานยักยอกเงิน แม้เป็นเงินสถานีอนามัย ไม่ใช่สำนักงานสาธารณสุข ก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147
จำเลยรับราชการในตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธรเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายมีหน้าที่รักษาเงินตามหน้าที่เมื่อจำเลยถอนเงินดังกล่าวมาแล้วเบียดบังเอาเป็นของจำเลยเสียโดยทุจริตแม้จะเป็นเงินของสถานีอนามัยอำเภอเมืองยโสธรไม่ใช่เงินของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธรที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานอยู่และเป็นเงินบำรุงนอกงบประมาณจำเลยก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบียดบังของกลาง – เจตนาทุจริต – ความผิดมาตรา 147
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตำแหน่งหัวหน้าเสมียนคดี มีหน้าที่เก็บรักษาของกลางจำเลยตรวจรับกัญชาของกลางและลงลายมือชื่อในสำเนาบัญชีของกลางกับสำเนาหนังสือนำส่งของกลางของสถานีตำรวจภูธรอำเภอทับสะแกแต่ไม่ลงบัญชีของกลางในคดีอาญาของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นหลักฐานว่ามีการรับกัญชาของกลางรายนี้แล้วต่อมาจำเลยเบียดบังเอากัญชานั้นเป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริตการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 การที่จำเลยตรวจรับกัญชาของกลางไว้แล้วไม่นำลงบัญชีของกลางในคดีอาญา ก็โดยเจตนาที่จะเบียดบังเอากัญชานั้นเป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต อันเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานรักษาทรัพย์เบียดบังเงิน: การกำหนดฐานความผิดตามมาตรา 147 แทนมาตรา 352
แม้จำเลยมีตำแหน่งอาจารย์ทำหน้าที่สอนหนังสือ แต่จำเลยก็ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ใหญ่ให้ทำหน้าที่หัวหน้าแผนกการเงินซึ่งอาจารย์ใหญ่มีอำนาจมอบหมายได้ เงินที่จำเลยได้รับและเบียดบังไปเป็นเงินค่าจำหน่ายผลิตผลและอื่น ๆ เมื่อจำเลยรับไว้แล้วมีหน้าที่ต้องนำส่งต่อคณะกรรมการรักษาเงิน อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจจำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รักษาทรัพย์ เมื่อจำเลยเบียดบังเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริต ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 หาใช่ มาตรา 352 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จัดการทรัพย์ - เงินยืม-ฝากส่วนตัว ไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยมีหน้าที่รักษาตามมาตรา 147
เงินที่พิพาท 5,000 บาท เป็นเงินที่จำเลยที่ 2 เสมียนตราอำเภอยืมจากจำเลยที่ 1 เสมียนปกครอง และเงินค่าธรรมเนียมอาวุธปืน 5,970 บาท เป็นเงินที่บุคคลอื่นนำมาฝากจำเลยที่ 2 ไว้เป็นการส่วนตัวมิใช่จำเลยที่ 2 รับเงินจากจำเลยที่ 1 และบุคคลอื่นในหน้าที่ราชการเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่จัดการหรือรักษาตามความหมายของ มาตรา 147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่เบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการ แม้ไม่ใช่ทรัพย์ของทางราชการโดยตรง ก็มีความผิดตามมาตรา 147
ความผิดตามมาตรา 147 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นเรื่องบัญญัติเอาผิดแก่เจ้าหน้าที่ที่เบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนได้มาหรือถือไว้เพื่อจัดการตามหน้าที่ ไม่ใช่เอาผิดแต่เฉพาะว่าทรัพย์นั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของทางการหรือของใคร
การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเงินที่ไม่ใช่เป็นเงินผลประโยชน์ของทางการรถไฟฯโดยแท้ ดังนี้ ไม่เป็นกรณีที่ทางพิจารณาได้ความต่างกับฟ้องอันจำเป็นที่ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเงินที่ไม่ใช่เป็นเงินผลประโยชน์ของทางการรถไฟฯโดยแท้ ดังนี้ ไม่เป็นกรณีที่ทางพิจารณาได้ความต่างกับฟ้องอันจำเป็นที่ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดมาตรา 147 อาญา: เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ที่ได้รับมอบหมาย แม้ไม่ใช่ทรัพย์ของทางราชการโดยตรง
ความผิดตามมาตรา 147 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นเรื่องบัญญัติเอาผิดแก่เจ้าหน้าที่ที่เบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนได้มาหรือถือไว้เพื่อจัดการตามหน้าที่ ไม่ใช่เอาผิดแต่เฉพาะว่าทรัพย์นั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของทางการหรือของใคร
การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเงินที่ไม่ใช่เป็นเงินผลประโยชน์ของทางการรถไฟฯ โดยแท้ ดังนี้ ไม่เป็นกรณีที่ทางพิจารณาได้ความต่างกับฟ้องอันจำเป็นที่ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเงินที่ไม่ใช่เป็นเงินผลประโยชน์ของทางการรถไฟฯ โดยแท้ ดังนี้ ไม่เป็นกรณีที่ทางพิจารณาได้ความต่างกับฟ้องอันจำเป็นที่ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบิกเงินเดือนซ้ำซ้อนจากสองหน่วยงานโดยเจตนาทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
หลังจากจำเลยยื่นฎีกาว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้องและขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย จำเลยยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา แต่ในคำร้องขอให้การรับสารภาพมีข้อความว่า มูลเหตุที่จำเลยกระทำความผิดเกิดขึ้นเนื่องจากจำเลยย้ายสถานที่ทำงานใหม่และเป็นหน่วยงานใหม่ จึงเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิเบิกเงินเดือนได้ในที่ทำงานใหม่ และไม่ทราบว่าสามีจำเลยเบิกเงินเดือนของจำเลยจากที่ทำการปกครองจังหวัดขอนแก่นด้วย จึงเท่ากับจำเลยยังปฏิเสธต่อสู้คดีอยู่ และไม่อาจถือว่าการที่จำเลยยื่นคำร้องนี้เป็นการยื่นคำร้องขอถอนฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 202 ประกอบมาตรา 225
พ.ร.ฎ.ระเบียนพนักงานส่วนตำบล พ.ศ.2539 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การโอนข้าราชการ...มาบรรจุเป็นพนักงานส่วนตำบลอาจทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยองค์การบริหารส่วนตำบลที่จะรับโอนทำความตกลงกับ...หรือหน่วยงานต้นสังกัดแล้วรายงานประธาน อ.ก.ท. จังหวัดเพื่อพิจารณาเสนอความเห็นไปยัง ก.ท. เมื่อ ก.ท. อนุมัติแล้ว ให้โอนและบรรจุได้ ทั้งนี้จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและจะรับเงินเดือนเท่าใดให้ ก.ท. เป็นผู้พิจารณากำหนด..." แสดงว่าการจะรับโอนบรรจุและแต่งตั้งจำเลยให้ดำรงตำแหน่งใดและรับเงินเดือนเท่าใดในองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระต้องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาง (ก.ท.) เป็นผู้อนุมัติและพิจารณา ดังนี้ เมื่อยังไม่มีหนังสือแจ้งการรับโอนจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาล จำเลยจึงยังคงดำรงตำแหน่งเดิมอยู่ที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือ เพียงแต่ถูกยืมตัวไปปฏิบัติหน้าที่โดยยังไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม
จำเลยมาช่วยราชการที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ โดยยังไม่ขาดจากตำแหน่งเดิมที่อำเภอหนองเรือ จึงต้องรับเงินเดือนจากต้นสังกัดเดิม กลับตั้งฎีกาเบิกเงินเดือนของจำเลย ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระอีก อันเป็นการเบิกซ้ำซ้อนรวม 7 เดือน แล้วเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตน การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รักษาทรัพย์แล้วเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147
พ.ร.ฎ.ระเบียนพนักงานส่วนตำบล พ.ศ.2539 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การโอนข้าราชการ...มาบรรจุเป็นพนักงานส่วนตำบลอาจทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยองค์การบริหารส่วนตำบลที่จะรับโอนทำความตกลงกับ...หรือหน่วยงานต้นสังกัดแล้วรายงานประธาน อ.ก.ท. จังหวัดเพื่อพิจารณาเสนอความเห็นไปยัง ก.ท. เมื่อ ก.ท. อนุมัติแล้ว ให้โอนและบรรจุได้ ทั้งนี้จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและจะรับเงินเดือนเท่าใดให้ ก.ท. เป็นผู้พิจารณากำหนด..." แสดงว่าการจะรับโอนบรรจุและแต่งตั้งจำเลยให้ดำรงตำแหน่งใดและรับเงินเดือนเท่าใดในองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระต้องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาง (ก.ท.) เป็นผู้อนุมัติและพิจารณา ดังนี้ เมื่อยังไม่มีหนังสือแจ้งการรับโอนจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาล จำเลยจึงยังคงดำรงตำแหน่งเดิมอยู่ที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือ เพียงแต่ถูกยืมตัวไปปฏิบัติหน้าที่โดยยังไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม
จำเลยมาช่วยราชการที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ โดยยังไม่ขาดจากตำแหน่งเดิมที่อำเภอหนองเรือ จึงต้องรับเงินเดือนจากต้นสังกัดเดิม กลับตั้งฎีกาเบิกเงินเดือนของจำเลย ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระอีก อันเป็นการเบิกซ้ำซ้อนรวม 7 เดือน แล้วเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตน การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รักษาทรัพย์แล้วเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147