คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 148

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 กรณีประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อนพิพาทในเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่ารถยนต์พิพาท โดยศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทอันเป็นวัตถุแห่งหนี้คืนแก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทตามคำพิพากษา เนื่องจากจำเลยโอนรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จึงขอให้บังคับจำเลยชดใช้ราคารถยนต์จำนวน 350,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้เงินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้แทนตัวทรัพย์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคารถยนต์พิพาทมาได้พร้อมกันในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อทั้งสองคดีคู่ความเป็นคนเดียวกัน ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่เช่นเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำประเด็นครอบครองปรปักษ์ แม้มีประเด็นอื่นเพิ่มเติม ศาลฎีกาพิจารณาแล้วว่าฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในคดีนี้กับพวกต่อศาลชั้นต้นขอให้แสดงกรรมสิทธิ์และเรียกทรัพย์คืนโดยอ้างว่าวันที่ 5 เมษายน 2484 บ.ด้วยความยินยอมของ จ. เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ โดย บ.ยอมรับเอาที่ดินโฉนดเลขที่1841 กับที่ดินโฉนดเลขที่ 1842 ของโจทก์และบ. ด้วยความรู้เห็นยินยอมของ จ. ยอมให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 419 พร้อมสิ่งปลูกสร้างหลังจากนั้นต่างฝ่ายต่างเข้าครอบครองโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ใน พ.ศ. 2499 โจทก์ได้ปลูกสร้างตึกเลขที่234 สูง 5 ชั้น ชั้นล่างของตึกนี้ซึ่งปลูกอยู่ในโฉนดเลขที่419 ด้านติดถนนมหาจักรกั้นเป็นห้องเลขที่ 214/4 และได้เปลี่ยนแปลงห้องแถวไม้แต่เดิมโดยรื้อของเก่าออกแล้วปลูกเป็นตึกอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น รวม 7 คูหา โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างที่โจทก์สร้างขึ้น ขอให้พิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่419 พร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของพิพากษายกฟ้อง โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่าโจทก์ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 419 เฉพาะส่วนปลูกตึก5 ชั้น และเรือนไม้เลขที่ 234 และตึกแถวเลขที่ 214/4ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 419 พร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์และขอให้เพิกถอนการโอน แม้ในคดีก่อนมีประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนที่ดินกันหรือไม่แต่ก็มีประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์หรือไม่ด้วยซึ่งเป็นประเด็นเรื่องเดียวกันส่วนประเด็นเรื่องขอให้เพิกถอนนิติกรรมเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องกันประเด็นครอบครองปรปักษ์ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีดังกล่าวมาฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำประเด็นครอบครองปรปักษ์ แม้มีประเด็นเพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวข้อง ศาลยกฟ้องตามมาตรา 148
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในคดีนี้กับพวกต่อศาลชั้นต้นขอให้แสดงกรรมสิทธิ์และเรียกทรัพย์คืนโดยอ้างว่าวันที่5เมษายน2484บ.ด้วยความยินยอมของจ. เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์โดยบ.ยอมรับเอาที่ดินโฉนดเลขที่1841กับที่ดินโฉนดเลขที่1842ของโจทก์และบ. ด้วยความรู้เห็นยินยอมของจ. ยอมให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่419พร้อมสิ่งปลูกสร้างหลังจากนั้นต่างฝ่ายต่างเข้าครอบครองโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า10ปีแล้วในพ.ศ.2499โจทก์ได้ปลูกสร้างตึกเลขที่234สูง5ชั้นชั้นล่างของตึกนี้ซึ่งปลูกอยู่ในโฉนดเลขที่419ด้านติดถนนมหาจักรกั้นเป็นห้องเลขที่214/4และได้เปลี่ยนแปลงห้องแถวไม้แต่เดิมโดยรื้อของเก่าออกแล้วปลูกเป็นตึกอาคารพาณิชย์2ชั้นรวม7คูหาโจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างที่โจทก์สร้างขึ้นขอให้พิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่419พร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของพิพากษายกฟ้องโจทก์ฟ้องคดีนี้ว่าโจทก์ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินโฉนดเลขที่419เฉพาะส่วนปลูกตึก5ชั้นและเรือนไม้เลขที่234และตึกแถวเลขที่214/4ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่419พร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์และขอให้เพิกถอนการโอนแม้ในคดีก่อนมีประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนที่ดินกันหรือไม่แต่ก็มีประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์หรือไม่ด้วยซึ่งเป็นประเด็นเรื่องเดียวกันส่วนประเด็นเรื่องขอให้เพิกถอนนิติกรรมเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องกันประเด็นครอบครองปรปักษ์โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีดังกล่าวมาฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำประเด็นครอบครองปรปักษ์ แม้มีประเด็นเพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวเนื่อง ศาลฎีกาตัดสินฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในคดีนี้กับพวกต่อศาลชั้นต้นขอให้แสดงกรรมสิทธิ์และเรียกทรัพย์คืนโดยอ้างว่าวันที่5เมษายน2484บ. ด้วยความยินยอมของจ. เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์โดยบ.ยอมรับเอาที่ดินโฉนดเลขที่1841กับที่ดินโฉนดเลขที่1842ของโจทก์และบ. ด้วยความรู้เห็นยินยอมของจ. ยอมให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่419พร้อมสิ่งปลูกสร้างหลังจากนั้นต่างฝ่ายต่างเข้าครอบครองโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า10ปีแล้วในพ.ศ.2499โจทก์ได้ปลูกสร้างตึกเลขที่234สูง5ชั้นชั้นล่างของตึกนี้ซึ่งปลูกอยู่ในโฉนดเลขที่419ด้านติดถนนมหาจักรกั้นเป็นห้องเลขที่214/4และได้เปลี่ยนแปลงห้องแถวไม้แต่เดิมโดยรื้อของเก่าออกแล้วปลูกเป็นตึกอาคารพาณิชย์2ชั้นรวม7คูหาโจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างที่โจทก์สร้างขึ้นขอให้พิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่419พร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของพิพากษายกฟ้องโจทก์ฟ้องคดีนี้ว่าโจทก์ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินโฉนดเลขที่419เฉพาะส่วนปลูกตึก5ชั้นและเรือนไม้เลขที่234และตึกแถวเลขที่214/4ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่419พร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์และขอให้เพิกถอนการโอนแม้ในคดีก่อนมีประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนที่ดินกันหรือไม่แต่ก็มีประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์หรือไม่ด้วยซึ่งเป็นประเด็นเรื่องเดียวกันส่วนประเด็นเรื่องขอให้เพิกถอนนิติกรรมเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องกันประเด็นครอบครองปรปักษ์โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีดังกล่าวมาฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5199/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ค่าภาษีรถยนต์จากสัญญาเช่าซื้อเดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.148
คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยมีข้ออ้างว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าภาษีรถยนต์ที่โจทก์ได้ชำระแทนจำเลยตลอดระยะเวลาที่จำเลยครอบครองอยู่จนถึงวันส่งคืนการครอบครองให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ ส่วนคดีก่อนข้ออ้างที่โจทก์กล่าวหาก็คือเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าซื้อซื้อแล้วจำเลยยังครอบครองรถยนต์เช่าซื้ออยู่ทำให้โจทก์เสียหายขอให้ใช้ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นเรื่องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากสัญญาเช่าซื้อฉบับเดียวกันแม้ฟ้องของโจทก์ในคดีเรื่องก่อนจะขอให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายที่จำเลยครอบครองรถยนต์แล้วไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์หลังจากบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วส่วนคดีนี้เป็นเรื่องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าภาษีรถยนต์ที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไปแต่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยก็เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกันคือความเสียหายอันเกิดแต่สัญญาเช่าซื้อนั่นเองค่าภาษีรถยนต์ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อนแล้วโจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยได้ในคดีเรื่องก่อนแต่โจทก์ไม่ฟ้องจึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: แม้เปลี่ยนฐานะโจทก์ แต่พิพาทประเด็นเดียวกันกับคดีก่อนย่อมถูกห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คดีก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีอ้างฐานะของความเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในกรณีที่กองทรัพย์สินของ ส. ถูกจำเลยทั้งสองใช้จ่ายไปโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนจำเลยทั้งสองออกจากการเป็นผู้อนุบาลของ ส. ส่วนคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีอ้างฐานะของความเป็นผู้อนุบาลของ ส. ซึ่งเกิดจากคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลชั้นต้นในคดีก่อนเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินส่วนที่จำเลยทั้งสองในฐานะผู้อนุบาลของ ส. นำจากกองทรัพย์สินของ ส. ไปใช้โดยไม่สุจริตคืน ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้ว่ากล่าวกันในคดีก่อนแล้วการอ้างฐานะในการใช้สิทธิต่างกันของโจทก์ทั้งสองที่ทรงสิทธิเดียวกันเช่นนี้หาได้ทำให้ฐานะของการเป็นคู่ความของโจทก์ทั้งสองเปลี่ยนแปลงหรือต่างกันไปด้วยไม่โจทก์ทั้งสองยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายโจทก์รายเดียวกันกับคู่ความฝ่ายโจทก์ในคดีก่อนและพิพาทกันในประเด็นเดียวกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วในคดีก่อน ห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองรื้อร้องฟ้องกันใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นเดียวกัน คู่ความเดิม ศาลห้ามรื้อร้องตามมาตรา 148
การอ้างฐานะในการใช้สิทธิต่างกันของโจทก์ทั้งสองที่ทรงสิทธิเดียวกัน หาได้ทำให้ฐานะของการเป็นคู่ความของโจทก์ทั้งสองเปลี่ยนแปลง หรือต่างกันไปด้วยไม่ กล่าวคือโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายโจทก์รายเดียวกันกับคู่ความฝ่ายโจทก์ในคดีก่อน ดังนั้น เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายของคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนพิพาทกันในประเด็นเดียวกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วในคดีก่อน จึงห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองในคดีนี้รื้อร้องฟ้องกันใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 กรณีรับสภาพหนี้เดิม
จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์คดีนี้ก็เนื่องจากจำเลยทั้งสามรับสภาพหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมนั้นเอง แต่การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นแต่ประการใด คงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น ประเด็นที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยในคดีนี้ จึงเนื่องมาจากมูลฐานที่จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งในคดีเดิมได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่โจทก์นำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยประเด็นแล้ว การฟ้องคดีใหม่ในประเด็นเดียวกันย่อมเป็นฟ้องซ้ำ
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำแม้คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์และโจทก์ไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเอง
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกให้แก่จำเลยคดีนี้จำนวน 2 ไร่ 2 งาน คดีถึงที่สุด ปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวนเนื้อที่เท่าใดจึงเป็นประเด็นแห่งคดีในคดีก่อน ในชั้นบังคับคดีของคดีก่อนโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายบังคับคดีและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเฉลี่ยลดเนื้อที่ลงตามส่วนเพราะเนื้อที่ดินมรดกขาดไป 239 ตารางวาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว กลับนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้โดยมีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ จำนวน 2 ไร่ 2 งานเต็มตามคำพิพากษาในคดีก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีก่อนของศาลชั้นต้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมตัดสินสัญญาโมฆะแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกมัดจำจากสัญญานั้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินต้องห้ามขายภายใน 10 ปี โจทก์บอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยได้พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยคืนมัดจำเนื่องจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ มูลคดีทั้งสองเรื่องและคำขอบังคับอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148.
of 3