พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีอาญา ม.157 ศาลวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว สิทธิฟ้องระงับ
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโดยไม่นัดไต่สวนมูลฟ้อง หรือนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้อง หรือไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องก็ได้ทั้งสิ้น เพราะเป็นดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาให้คดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอที่จะวินิจฉัยชี้ขาดได้ และมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาไป ย่อมมีอำนาจกระทำได้
คดีอาญาเรื่องก่อน โจทก์และจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้โดยโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกระทำความผิดในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เช่นเดียวกับคดีนี้ซึ่งคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องว่า "การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าเป็นการไม่ชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต หรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่นที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไรพิพากษายกฟ้อง" เท่ากับศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วว่าการกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิด ซึ่งเป็นการยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำและมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์ฟ้องคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คดีอาญาเรื่องก่อน โจทก์และจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้โดยโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกระทำความผิดในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เช่นเดียวกับคดีนี้ซึ่งคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องว่า "การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าเป็นการไม่ชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต หรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่นที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไรพิพากษายกฟ้อง" เท่ากับศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วว่าการกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิด ซึ่งเป็นการยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำและมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์ฟ้องคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจสั่งงดจ่ายเงินเดือนย่อมไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่ง ผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็น ความผิดตามมาตรานี้ อำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนของข้าราชการตำรวจเป็นอำนาจหน้าที่ของ กรมตำรวจหรือผู้ที่กรมตำรวจมอบหมายโดยตรง ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับ มอบหมายให้มีหน้าที่สั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจ แม้จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาในการที่โจทก์ขาดราชการเกินกว่า 15 วัน และเสนอความเห็นให้มีคำสั่งให้ โจทก์ออกจากราชการ และการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่การเงินจ่ายเงินเดือนให้ โจทก์ก็เพราะเหตุที่เชื่อว่าโจทก์ละทิ้งราชการหรือหนีราชการ ประกอบกับในทางปฏิบัติ กองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้จ่ายเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนให้แก่สถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง จำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ขอเบิกรับเงินไป หากมีเงินส่งคืนก็จะบันทึก เหตุผลในการส่งคืนไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น จึงไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือบุคคลต่างด้าว ได้รับคำสั่งให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,137,157,267,268 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 137 และ 267 ด้วย หากแต่เป็นการกระทำ ด้วยเจตนาเดียวคือเพื่อช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวในการ ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานได้ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ดำเนินการขัดขวางมิให้บุคคล ต่างด้าวขอทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่กลับให้ถ้อยคำรับรอง บุคคลต่างด้าวว่ามีสัญชาติไทย อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ อำเภอ ท.และผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90คำพิพากษาดังกล่าวย่อมหมายความว่าจำเลยกระทำความผิดตาม บทกฎหมายอื่น อันได้แก่มาตรา 137,267 และ 157 ด้วยแต่เป็นกรรมเดียว เพียงแต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทให้เห็น ชัดเจนการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทให้ชัดเจนขึ้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดบ้างโดยมิได้แก้โทษจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ว.พาท.มาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านพ.วันเกิดเหตุนายอำเภอและ ร. ปลัดอำเภอ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่จำเลยในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนจึงอนุมัติการย้ายเข้าของ ท.ต่อมาวันรุ่งขึ้นท. ได้มาติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ ข.เป็น ร. และได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรกเจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการรับรองบุคคล บุคคลที่มารับรองจะเป็นผู้ใดก็ได้ซึ่งรู้จักผู้ยื่นคำขอ มีจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง ท.และจำเลยเป็นผู้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ท. เมื่อปรากฏความจริงว่า ข.คือ ท. ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยมาให้คำรับรองว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้ง ๆ ที่จำเลยทราบว่า ท.เป็นบุคคลต่างด้าว ดังนี้ แม้จำเลยจะมีตำแหน่งเป็นเพียงปลัดอำเภอ และมีอาวุโสต่ำกว่าปลัดอำเภออื่น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่รักษาการแทนนายอำเภอเพราะยังมีปลัดอำเภออาวุโสปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็ตาม และแม้ตามคำสั่งนายอำเภอที่เกิดเหตุได้มอบหมายงานทะเบียนทั่วไปให้ ร.และมอบหมายงานบัตรประจำตัวประชาชนให้ ส. ส่วนจำเลยเพียงแต่ได้รับมอบหมายงานส่งเสริมการปกครอง จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยการ รักษาการแทนนายอำเภอหรือโดยได้รับมอบหมายจากนายอำเภอก็ตาม แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเมื่อเป็นการมอบหมายภายใน ซึ่ง ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67 บัญญัติให้ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกว่ากรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่ และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้น เรียบร้อย ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ข้อบังคับที่ 1/2509 ของกระทรวงมหาดไทย ได้วางระเบียบไว้ในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่า ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วยเมื่อข้อบังคับดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษแห่งข้อบังคับดังกล่าวเท่านั้น เช่น กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น ซึ่งหากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ และรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้ รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาของศาล ทั้งจำเลยเองก็มิได้กล่าวหาว่าการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน ฝ่ายตำรวจดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ การสอบสวนในคดีนี้จึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดมาตรา 157 กรณีเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และการดำเนินการตามนโยบายพลังงาน
จำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เพื่อให้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคดีร้องทุกข์แล้วนำคำวินิจฉัยชี้ขาดเสนอนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลให้มีคำสั่งชี้ขาดการร้องทุกข์ โจทก์ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521โจทก์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตคือ 1.ต้องค้าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว2.ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2528) โจทก์มีหน้าที่ต้องสำรองน้ำมันตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2528) ต่อมากรมทะเบียนการค้าได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าใบอนุญาตค้าน้ำมันของโจทก์สิ้นผลแล้ว เพราะโจทก์สำรองน้ำมันไม่ครบปริมาณ 3,600,000 ลิตร ตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์ได้มีหนังสือทักท้วงต่อจำเลยที่ 4 ขอให้ทบทวนและเพิกถอนหนังสือดังกล่าว กับโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อ้างว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขในประกาศกระทรวงพาณิชย์ให้ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันสิ้นผลและตีความเรื่องการสำรองน้ำมันไม่ถูกต้องและผิดเจตนารมณ์ของกฎหมาย พร้อมกับขอให้ใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่โจทก์คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 2) มีมติให้ใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่โจทก์โดยให้โจทก์ดำเนินการค้าน้ำมันระหว่างรอคำวินิจฉัยไปพลางก่อน และสำรองน้ำมันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของปริมาณที่นำเข้าหรือทำการค้าจริง จำเลยที่ 2 ได้ร่วมเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 2) ด้วย และเห็นพ้องด้วยกับการให้ใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่โจทก์พร้อมทั้งทำบันทึกข้อสังเกตสนับสนุนต่อมาวันที่ 20 กันยายน 2531 คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5)ได้วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของโจทก์ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่มีอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 ที่จะกำหนดเงื่อนไขเรื่องการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันไว้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2528)ได้ และเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีคำสั่งถอนคืนหนังสือกรมทะเบียนการค้า ที่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าใบอนุญาตค้าน้ำมันของโจทก์สิ้นผล แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาในขณะนั้นไม่ได้เสนอคำวินิจฉัยดังกล่าวไปให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ ครั้นต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จำเลยที่ 6ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในการออกใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ตามสำเนาประกาศ ต่อมา ส. ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขา-ธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อจากจำเลยที่ 2 ได้เสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ไปยังนายกรัฐมนตรีโดยมีบันทึกข้อสังเกตของจำเลยที่ 2 ประกอบการพิจารณาสั่งการแนบไปด้วย จำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับ สั่งการ ดูแลคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแทนนายกรัฐมนตรีซึ่งปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีอำนาจตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 กำหนดเงื่อนไขเรื่องการสิ้นผลของใบอนุญาตให้เป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ที่กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติหรือไม่ ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวแล้วเห็นว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีอำนาจกำหนดให้การสิ้นผลของใบอนุญาตการเป็นผู้ค้าน้ำมันเป็นเงื่อนไขประการหนึ่งเพื่อให้มีผลเป็นการถอนคืนการอนุญาตเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ได้ จากนั้นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอคำวินิจฉัยดังกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีคำสั่งตามคำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายให้ยกคำร้องทุกข์ของโจทก์ วันที่ 27 ธันวาคม 2534 กรมทะเบียนการค้าได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบถึงคำสั่งยกคำร้องทุกข์ ยังผลให้ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 สิ้นผลนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกรมทะเบียนการค้า ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์เรื่องใดแล้ว ให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอคำวินิจฉัยไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีคำวินิจฉัยเช่นนั้น การที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์(คณะที่ 5) มีคำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์เป็นคุณแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2531 แต่จำเลยที่ 2 ไปราชการของรัฐสภาที่ประเทศบัลแกเรียตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2531 ถึงวันที่ 28 กันยายน2531 ในระหว่างนั้นมีผู้รักษาราชการแทนจำเลยที่ 2 ดังนั้น ในขณะที่ครบเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีคำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของโจทก์ตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 คือ วันที่ 27 กันยายน 2531 จำเลยที่ 2ยังปฏิบัติราชการอยู่ในต่างประเทศ จึงไม่สามารถเสนอคำวินิจฉัยไปยังนายกรัฐมนตรีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดได้ และเมื่อล่วงพ้นกำหนดเจ็ดวันไปแล้ว จำเลยที่ 2กลับจากต่างประเทศเดือนตุลาคม 2531 แม้จะไม่ได้เสนอคำวินิจฉัยไปยังนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา และเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาคนใหม่เพิ่งเสนอไปยังนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2534 ภายหลังจำเลยที่ 2 เกษียณอายุราชการไปแล้ว การฝ่าฝืนมาตรา 49 ของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้อีกข้อเท็จจริงย่อมฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 กลับจากไปราชการต่างประเทศแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังมีหน้าที่ต้องเสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ไปยังนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 49 อยู่ การที่จำเลยที่ 2 มิได้เสนอและปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานกว่า 2 ปี จนจำเลยที่ 2เกษียณอายุราชการ ทั้งกรณีไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รายงานต่อนายกรัฐมนตรีว่าในระหว่างนั้นมีเหตุขัดข้องอย่างไรจึงยังไม่สามารถเสนอได้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทำให้โจทก์เสียหาย เพราะจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกข้อสังเกตสนับสนุนเห็นพ้องด้วยกับการให้ใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่โจทก์มาตั้งแต่เริ่มแรก การให้ใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่โจทก์ในระหว่างที่รอจำเลยที่ 2 เสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการมีผลให้โจทก์สามารถค้าน้ำมันต่อไปได้ตามปกติ และได้สิทธิพิเศษสำรองน้ำมันน้อยกว่าผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ๆ จนกว่านายกรัฐมนตรีจะสั่งการเรื่องร้องทุกข์ของโจทก์เสร็จสิ้น ดังนี้ความล่าช้าในการเสนอเรื่องร้องทุกข์ของโจทก์ไปให้นายกรัฐมนตรีสั่งการไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ แต่โจทก์กลับได้ประโยชน์ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ย่อมไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการตามมาตรา 49 แห่งพ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 นั้น เป็นเรื่องการปฏิบัติราชการระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ใต้บังคับบัญชากับนายกรัฐมนตรีผู้บังคับบัญชาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหรือละเว้นไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยมิชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่มีการร้องทุกข์นั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 มาตรา 70
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาทำบันทึกข้อสังเกตประกอบการเสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์(คณะที่ 5) ต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาประกอบการสั่งการนั้น เป็นการเสนอเรื่องและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุแห่งการร้องทุกข์และหลักกฎหมายที่จะนำมาใช้กับการร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522มาตรา 6 วรรคหนึ่ง มาตรา 63 และมาตรา 62 (7) โดยเฉพาะกรณีของโจทก์เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความสำคัญในทางกฎหมายปกครอง เพราะก่อนดำเนินการออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขในการออกและการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ไว้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าวกรมทะเบียนการค้าเคยหารือโดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะมีอำนาจตามมาตรา 6วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 กำหนดเงื่อนไขให้ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันสิ้นผลหรือไม่ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยคณะกรรมการร่างกฎหมาย (คณะที่ 6) ได้ให้ความเห็นว่า มาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดเงื่อนไขได้ทุกชนิด รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันด้วยซึ่งกรมทะเบียนการค้าและกระทรวงพาณิชย์ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติราชการอยู่ แต่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ได้วินิจฉัยในปัญหาเดียวกันนี้ว่า การใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตามมาตรา 6 วรรคสอง ที่กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการเกินอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่กฎหมายให้ไว้ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการร่างกฎหมาย (คณะที่ 6) และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) มีผลกระทบกระเทือนต่อวิถีทางปฏิบัติราชการของกระทรวงพาณิชย์ อันอาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะหรือแก่ระบบบริหารราชการเป็นส่วนรวม จำเลยที่ 2 จึงจำเป็นต้องหาข้อยุติ และทำบันทึกข้อสังเกตในเรื่องนี้ และในบันทึกข้อสังเกตของจำเลยที่ 2 ก็ได้เสนอทางเลือกให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา 2 ประการ คือ ประการแรก นายกรัฐมนตรีอาจสั่งการให้ที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาทบทวน ประการที่สองนายกรัฐมนตรีอาจขอความเห็นจากที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะมีอำนาจตามมาตรา 6 วรรคสองกำหนดเงื่อนไขเรื่องการสิ้นผลของใบอนุญาตให้เป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ได้หรือไม่ ส่วนนายกรัฐมนตรีจะพิจารณาสั่งการให้ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5)ไปเลย หรือจะสั่งการให้นำปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับการร้องทุกข์ดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย ก็เป็นดุลพินิจอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2 ไม่อาจเข้าไปก้าวก่ายชี้นำได้ และมติของที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือกรรมการร่างกฎหมายจะออกมาอย่างไร ก็ไม่อาจทราบล่วงหน้าได้ การที่ ส.ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อจากจำเลยที่ 2 ได้เสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5)ไปยังนายกรัฐมนตรีพร้อมแนบบันทึกข้อสังเกตของจำเลยที่ 2 ไปด้วยภายหลังที่จำเลยที่ 2 เกษียณอายุราชการแล้ว และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้นำปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย ซึ่งต่อมาที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายมีมติกลับคำวินิจฉัยเดิมของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์(คณะที่ 5) นายกรัฐมนตรีจึงได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องทุกข์ของโจทก์ในเวลาต่อมานั้นการกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการชี้นำกลั่นแกล้งโจทก์เพื่อให้มีการพลิกผลคำวินิจฉัยเดิม จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนี้โดยชอบด้วยกฎหมายและเหตุผลแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
การที่เจ้าหน้าที่ของกองน้ำมันเชื้อเพลิงไปตรวจสอบการสำรองน้ำมันของโจทก์ก็ดี การตีความการสำรองน้ำมันของโจทก์ว่าโจทก์ต้องสำรองน้ำมันไว้ล่วงหน้าในอัตราร้อยละ 3 ของปริมาณที่ได้รับอนุญาตให้ค้าทั้งปี ตามที่ยึดถือเป็นหลักใช้ปฏิบัติแก่ผู้ค้าน้ำมันทั่วไปทุกรายก็ดี เมื่อโจทก์สำรองน้ำมันไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการผิดเงื่อนไขในใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตาม พ.ร.บ.น้ำมันเชิ้อเพลิง พ.ศ.2521 มาตรา 6 จนเป็นเหตุให้รองอธิบดีกรมทะเบียนการค้าซึ่งปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 4 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ของโจทก์สิ้นผลก็ดี เมื่อล้วนเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายและประกาศกระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ และมิใช่เป็นการปฏิบัติตามแผนการของบริษัทค้าน้ำมันต่างชาติหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางที่ไม่ชอบของจำเลยที่ 3และที่ 4 การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เมื่อไม่เป็นการร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ให้หยุดประกอบการค้าน้ำมัน จึงไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 83, 157
อำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลการจำหน่ายน้ำมันเป็นของจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ และของกรมทะเบียนการค้าซึ่งมีจำเลยที่ 4 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทะเบียนการค้า แต่ในการปฏิบัติราชการดังกล่าว จำเลยที่ 3 ได้มอบอำนาจหน้าที่ในการสั่งการอนุญาต การอนุมัติ หรือปฏิบัติราชการเกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้าให้แก่ ฉ.รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 มิได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการของ ฉ. การเสนอเรื่องของกรมทะเบียนการค้าเกี่ยวกับเรื่องน้ำมันจึงต้องเสนอต่อรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ผู้รับมอบอำนาจหน้าที่จากปลัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ก็สามารถเสนอเรื่องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยตรง ไม่ต้องเสนอผ่านปลัดกระทรวงพาณิชย์ก่อน กรณีของโจทก์จำเลยที่ 4 ได้เสนอเรื่องพร้อมกับร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ซึ่งได้ดำเนินการตามขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมายไปยัง ฉ.รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกรมทะเบียนการค้า หลังจากนั้น ฉ.ก็ได้เสนอเรื่องไปยังจำเลยที่ 6 ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อพิจารณาลงนามในร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) เพื่อใช้บังคับต่อไปโดยไม่ได้เสนอผ่านจำเลยที่ 3 ก่อน จำเลยที่ 3 จึงมิได้เกี่ยวข้องกับการจัดทำและเสนอร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ต่อจำเลยที่ 6 ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) แล้วนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นตอนของกฎหมายจนถึงจำเลยที่ 6 เพื่อลงนามใช้บังคับ ก็ดำเนินการตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและมติของคณะรัฐมนตรี โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านการพลังงานของประเทศ และผ่านขั้นตอนในการดำเนินการออกประกาศดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ก็ออกมาเพื่อใช้บังคับแก่ผู้ค้าน้ำมันโดยทั่วไป มิได้เฉพาะเจาะจงบังคับใช้แก่โจทก์ และการที่จำเลยที่ 6 ลงนามในประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ก็กระทำโดยสุจริต เพราะเห็นว่าได้เสนอผ่านลำดับขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมายและเป็นไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและมติของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านการพลังงานของประเทศ ทั้งผู้ค้าน้ำมันโดยทั่วไปก็สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและสำรองน้ำมันได้ถูกต้องครบถ้วน ยกเว้นโจทก์และบริษัทบอสตันออยล์ จำกัด เท่านั้นที่ไม่สำรองน้ำมันให้ถูกต้องครบถ้วน การกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 จึงมิได้ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ออกกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมาเพื่อกีดกันมิให้โจทก์สามารถขอใบอนุญาตประกอบการค้าน้ำมันได้ ย่อมไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157, 83
การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการตามมาตรา 49 แห่งพ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 นั้น เป็นเรื่องการปฏิบัติราชการระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ใต้บังคับบัญชากับนายกรัฐมนตรีผู้บังคับบัญชาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหรือละเว้นไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยมิชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่มีการร้องทุกข์นั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 มาตรา 70
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาทำบันทึกข้อสังเกตประกอบการเสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์(คณะที่ 5) ต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาประกอบการสั่งการนั้น เป็นการเสนอเรื่องและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุแห่งการร้องทุกข์และหลักกฎหมายที่จะนำมาใช้กับการร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522มาตรา 6 วรรคหนึ่ง มาตรา 63 และมาตรา 62 (7) โดยเฉพาะกรณีของโจทก์เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความสำคัญในทางกฎหมายปกครอง เพราะก่อนดำเนินการออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขในการออกและการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ไว้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าวกรมทะเบียนการค้าเคยหารือโดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะมีอำนาจตามมาตรา 6วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 กำหนดเงื่อนไขให้ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันสิ้นผลหรือไม่ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยคณะกรรมการร่างกฎหมาย (คณะที่ 6) ได้ให้ความเห็นว่า มาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดเงื่อนไขได้ทุกชนิด รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันด้วยซึ่งกรมทะเบียนการค้าและกระทรวงพาณิชย์ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติราชการอยู่ แต่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ได้วินิจฉัยในปัญหาเดียวกันนี้ว่า การใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตามมาตรา 6 วรรคสอง ที่กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการเกินอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่กฎหมายให้ไว้ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการร่างกฎหมาย (คณะที่ 6) และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) มีผลกระทบกระเทือนต่อวิถีทางปฏิบัติราชการของกระทรวงพาณิชย์ อันอาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะหรือแก่ระบบบริหารราชการเป็นส่วนรวม จำเลยที่ 2 จึงจำเป็นต้องหาข้อยุติ และทำบันทึกข้อสังเกตในเรื่องนี้ และในบันทึกข้อสังเกตของจำเลยที่ 2 ก็ได้เสนอทางเลือกให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา 2 ประการ คือ ประการแรก นายกรัฐมนตรีอาจสั่งการให้ที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาทบทวน ประการที่สองนายกรัฐมนตรีอาจขอความเห็นจากที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะมีอำนาจตามมาตรา 6 วรรคสองกำหนดเงื่อนไขเรื่องการสิ้นผลของใบอนุญาตให้เป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ได้หรือไม่ ส่วนนายกรัฐมนตรีจะพิจารณาสั่งการให้ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5)ไปเลย หรือจะสั่งการให้นำปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับการร้องทุกข์ดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย ก็เป็นดุลพินิจอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2 ไม่อาจเข้าไปก้าวก่ายชี้นำได้ และมติของที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือกรรมการร่างกฎหมายจะออกมาอย่างไร ก็ไม่อาจทราบล่วงหน้าได้ การที่ ส.ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อจากจำเลยที่ 2 ได้เสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5)ไปยังนายกรัฐมนตรีพร้อมแนบบันทึกข้อสังเกตของจำเลยที่ 2 ไปด้วยภายหลังที่จำเลยที่ 2 เกษียณอายุราชการแล้ว และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้นำปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย ซึ่งต่อมาที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายมีมติกลับคำวินิจฉัยเดิมของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์(คณะที่ 5) นายกรัฐมนตรีจึงได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องทุกข์ของโจทก์ในเวลาต่อมานั้นการกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการชี้นำกลั่นแกล้งโจทก์เพื่อให้มีการพลิกผลคำวินิจฉัยเดิม จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนี้โดยชอบด้วยกฎหมายและเหตุผลแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
การที่เจ้าหน้าที่ของกองน้ำมันเชื้อเพลิงไปตรวจสอบการสำรองน้ำมันของโจทก์ก็ดี การตีความการสำรองน้ำมันของโจทก์ว่าโจทก์ต้องสำรองน้ำมันไว้ล่วงหน้าในอัตราร้อยละ 3 ของปริมาณที่ได้รับอนุญาตให้ค้าทั้งปี ตามที่ยึดถือเป็นหลักใช้ปฏิบัติแก่ผู้ค้าน้ำมันทั่วไปทุกรายก็ดี เมื่อโจทก์สำรองน้ำมันไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการผิดเงื่อนไขในใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตาม พ.ร.บ.น้ำมันเชิ้อเพลิง พ.ศ.2521 มาตรา 6 จนเป็นเหตุให้รองอธิบดีกรมทะเบียนการค้าซึ่งปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 4 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ของโจทก์สิ้นผลก็ดี เมื่อล้วนเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายและประกาศกระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ และมิใช่เป็นการปฏิบัติตามแผนการของบริษัทค้าน้ำมันต่างชาติหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางที่ไม่ชอบของจำเลยที่ 3และที่ 4 การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เมื่อไม่เป็นการร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ให้หยุดประกอบการค้าน้ำมัน จึงไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 83, 157
อำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลการจำหน่ายน้ำมันเป็นของจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ และของกรมทะเบียนการค้าซึ่งมีจำเลยที่ 4 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทะเบียนการค้า แต่ในการปฏิบัติราชการดังกล่าว จำเลยที่ 3 ได้มอบอำนาจหน้าที่ในการสั่งการอนุญาต การอนุมัติ หรือปฏิบัติราชการเกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้าให้แก่ ฉ.รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 มิได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการของ ฉ. การเสนอเรื่องของกรมทะเบียนการค้าเกี่ยวกับเรื่องน้ำมันจึงต้องเสนอต่อรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ผู้รับมอบอำนาจหน้าที่จากปลัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ก็สามารถเสนอเรื่องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยตรง ไม่ต้องเสนอผ่านปลัดกระทรวงพาณิชย์ก่อน กรณีของโจทก์จำเลยที่ 4 ได้เสนอเรื่องพร้อมกับร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ซึ่งได้ดำเนินการตามขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมายไปยัง ฉ.รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกรมทะเบียนการค้า หลังจากนั้น ฉ.ก็ได้เสนอเรื่องไปยังจำเลยที่ 6 ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อพิจารณาลงนามในร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) เพื่อใช้บังคับต่อไปโดยไม่ได้เสนอผ่านจำเลยที่ 3 ก่อน จำเลยที่ 3 จึงมิได้เกี่ยวข้องกับการจัดทำและเสนอร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ต่อจำเลยที่ 6 ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) แล้วนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นตอนของกฎหมายจนถึงจำเลยที่ 6 เพื่อลงนามใช้บังคับ ก็ดำเนินการตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและมติของคณะรัฐมนตรี โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านการพลังงานของประเทศ และผ่านขั้นตอนในการดำเนินการออกประกาศดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ก็ออกมาเพื่อใช้บังคับแก่ผู้ค้าน้ำมันโดยทั่วไป มิได้เฉพาะเจาะจงบังคับใช้แก่โจทก์ และการที่จำเลยที่ 6 ลงนามในประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ก็กระทำโดยสุจริต เพราะเห็นว่าได้เสนอผ่านลำดับขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมายและเป็นไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและมติของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านการพลังงานของประเทศ ทั้งผู้ค้าน้ำมันโดยทั่วไปก็สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและสำรองน้ำมันได้ถูกต้องครบถ้วน ยกเว้นโจทก์และบริษัทบอสตันออยล์ จำกัด เท่านั้นที่ไม่สำรองน้ำมันให้ถูกต้องครบถ้วน การกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 จึงมิได้ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ออกกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมาเพื่อกีดกันมิให้โจทก์สามารถขอใบอนุญาตประกอบการค้าน้ำมันได้ ย่อมไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157, 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5988/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานตามมาตรา 157: การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและขอบเขตหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและจัดเก็บค่าธรรมเนียม ตลอดทั้งภาษีเกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่จำเลยกลับรับค่าธรรมเนียมดังกล่าวโดยไม่ออกใบเสร็จรับเงินแล้วนำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งเรียกเก็บเงินเกินอัตราที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
วันเวลาเกิดเหตุในคำฟ้องเป็นเพียงรายละเอียด ไม่ใช่สาระสำคัญของคำฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลากระทำผิดที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาที่กล่าวในฟ้อง แต่จำเลยก็นำสืบรับว่าได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ดังนี้ จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
กรณีที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา157 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้น ต้องเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ จ. ฉ.และ ช.แต่เพียงว่า จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้เกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ มิได้บรรยายว่า จำเลยมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือรับค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ จ.ฉ. และ ช.ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
วันเวลาเกิดเหตุในคำฟ้องเป็นเพียงรายละเอียด ไม่ใช่สาระสำคัญของคำฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลากระทำผิดที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาที่กล่าวในฟ้อง แต่จำเลยก็นำสืบรับว่าได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ดังนี้ จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
กรณีที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา157 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้น ต้องเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ จ. ฉ.และ ช.แต่เพียงว่า จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้เกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ มิได้บรรยายว่า จำเลยมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือรับค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ จ.ฉ. และ ช.ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5988/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินอัตราและนำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและจัดเก็บค่าธรรมเนียม ตลอดทั้งภาษีเกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่จำเลยกลับรับค่าธรรมเนียมดังกล่าวโดยไม่ออกใบเสร็จรับเงินแล้วนำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งเรียกเก็บเงินเกินอัตราที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
วันเวลาเกิดเหตุในคำฟ้องเป็นเพียงรายละเอียด ไม่ใช่สาระสำคัญของคำฟ้องแม้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลากระทำผิดที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาที่กล่าวในฟ้อง แต่จำเลยก็นำสืบรับว่าได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ดังนี้ จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
กรณีที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้น ต้องเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ จ. ฉ.และช. แต่เพียงว่า จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้เกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ มิได้บรรยายว่า จำเลยมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือรับค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ จ. ฉ.และช. ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
วันเวลาเกิดเหตุในคำฟ้องเป็นเพียงรายละเอียด ไม่ใช่สาระสำคัญของคำฟ้องแม้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลากระทำผิดที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาที่กล่าวในฟ้อง แต่จำเลยก็นำสืบรับว่าได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ดังนี้ จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
กรณีที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้น ต้องเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ จ. ฉ.และช. แต่เพียงว่า จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้เกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ มิได้บรรยายว่า จำเลยมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือรับค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ จ. ฉ.และช. ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อออกใบอนุญาตเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้ออกตรวจสถานประกอบการค้ามีอำนาจหน้าที่เสนอต่อผู้บังคับบัญชาให้ออกหรือไม่ให้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบกิจการค้าถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการพิจารณาออกใบอนุญาต จำเลยเรียกร้องเงินเป็นการตอบแทนการออกใบอนุญาต จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดตามมาตรา 157, 177, 326: หน้าที่, ความเสียหาย, และเจตนาใส่ความ
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้น หมายถึงหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่โดยตรงแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานที่ศาลไม่ใช่หน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้จำเลยที่ถูกฟ้องร้องได้รับโทษหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการรับฟังพยานอันเป็นเท็จ เมื่อโจทก์ในคดีนี้มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่จำเลยในคดีนี้ไปเบิกความเป็นพยาน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงในการเบิกความของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรานี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)
ข้อความที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นข้อที่จำเลยสืบทราบมาจากชาวบ้าน จำเลยไม่ได้ประสบมาด้วยตนเอง และข้อที่ชาวบ้านบอกให้จำเลยรับทราบนี้จะเป็นความจริงหรือไม่โจทก์ก็ไม่ทราบดังนี้ การที่จำเลยเบิกความจึงมีเพียงเจตนาจะให้ความจริงต่อศาลในการพิจารณาคดีตามที่จำเลยสืบทราบมาเท่านั้น หาได้มีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326.
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้จำเลยที่ถูกฟ้องร้องได้รับโทษหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการรับฟังพยานอันเป็นเท็จ เมื่อโจทก์ในคดีนี้มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่จำเลยในคดีนี้ไปเบิกความเป็นพยาน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงในการเบิกความของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรานี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)
ข้อความที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นข้อที่จำเลยสืบทราบมาจากชาวบ้าน จำเลยไม่ได้ประสบมาด้วยตนเอง และข้อที่ชาวบ้านบอกให้จำเลยรับทราบนี้จะเป็นความจริงหรือไม่โจทก์ก็ไม่ทราบดังนี้ การที่จำเลยเบิกความจึงมีเพียงเจตนาจะให้ความจริงต่อศาลในการพิจารณาคดีตามที่จำเลยสืบทราบมาเท่านั้น หาได้มีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านผู้พิพากษา การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตุลาการ และความผิดตามมาตรา 157
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่คัดค้านผู้พิพากษาทุกคนที่จะทำการพิจารณาคดีโจทก์ในศาลชั้นต้น ด้วยเหตุคำคัดค้านไม่ต้องด้วยบทบัญญัติเรื่องการคัดค้านผู้พิพากษา ดังนี้เท่ากับเป็นการไม่รับคำคัดค้านไว้พิจารณา มิใช่เป็นการสั่งยอมรับหรือยกเสียซึ่งคำคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 14ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยไม่ส่งสำนวนไปให้ศาลซึ่งมีอำนาจสูงกว่าวินิจฉัย ตามมาตรา 13 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวนั้นชอบแล้ว คณะกรรมการตุลาการปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการกำหนดไว้ได้โดยอิสระ มิได้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีฯ จึงไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนกรรมการตุลาการเป็นรายคนหรือทั้งคณะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยมีอำนาจสอบสวนและลงมติตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้ง เมื่อไม่ได้กระทำไปโดยอคติ หรือไม่ยุติธรรม หรือไม่สุจริต ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา มาตรา 157: ความเสียหายโดยนิตินัยของกรรมการสมาคมที่ถูกเพิกถอน
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งสมาคม ศ. เป็นการกระทำต่อ สมาคม ศ. ซึ่ง เป็นนิติบุคคลมิได้กระทำต่อ โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่ง เป็นคณะกรรมการของสมาคม ศ. เป็นส่วนตัว และเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะ นายทะเบียนสมาคมจังหวัดมีประกาศขีดชื่อ สมาคม ศ. ออกจากทะเบียนสมาคมแล้ว อันเป็นเหตุให้สมาคม ศ. ต้อง เลิกไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1292(7) ไม่ได้เป็นนิติบุคคลอีกต่อไป โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นกรรมการของสมาคม ศ. ในขณะนั้นจึงต้อง พ้นจากตำแหน่งกรรมการของสมาคม ศ. ไปด้วย ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือความสัมพันธ์ใด ๆ เกี่ยวข้องกันอีก แม้โจทก์ทั้งเจ็ดจะได้ บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับการดูหมิ่น เหยียดหยามจากบุคคลอื่น และอาจถูก สมาชิกของสมาคม ศ. เรียกร้องค่าเสียหายได้ นั้น ก็เป็นความรู้สึกและคาดคิดส่วนตัวของโจทก์ทั้งเจ็ดเองถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายเนื่องจากการออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดย นิตินัยอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้.