คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 165

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าทดรองจ่ายในสัญญาตัวแทน: ใช้มาตรา 164 ไม่ใช่ 165(7)
จำเลยที่ 1 แต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ตามมาตรา 816 วรรคหนึ่งซึ่งในกรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นต้องใช้อายุความสิบปี ตามมาตรา 164(เดิม)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ไม่ใช่ กรณีที่โจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองจากจำเลยทั้งสอง ตามมาตรา 165(7)(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเอกสารประกอบคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ไม่ถือเป็นการสืบพยานขัดต่อมาตรา 165 วรรคสอง
ชั้นไต่สวนมูลฟ้องทนายจำเลยถามค้านโจทก์ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานถึงการที่โจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 โจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คเอกสารหมาย ล.1 และ ล.2 โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากบริษัท ส. จำกัด และต่อมาโจทก์นำเช็คธนาคาร ท. จำกัดไปแลกเปลี่ยนกับเช็คหมาย ล.1 และ ล.2 โดยเอาเอกสารที่เกี่ยวข้องให้โจทก์ดูและโจทก์รับรองว่าถูกต้อง ดังนี้ เอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นพยานเอกสารที่จำเลยอ้าง หากแต่เป็นเอกสารที่โจทก์เบิกความถึงและทนายจำเลยนำส่งศาลเพื่อประกอบถ้อยคำของโจทก์ให้ปรากฏรายละเอียดชัดเจนขึ้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยนำพยานมาสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุด: มาตรา 165(9) อายุความ 2 ปี มิใช่มาตรา 166 อายุความ 5 ปี
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดมิใช่จำนวนที่ตกลงไว้แน่นอนแม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาก็ตาม ฉะนั้นจึงไม่อยู่ในบังคับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) ใช้บังคับสำหรับบุคคลผู้รับจ้างใช้การงานส่วนบุคคลเรียกร้องเอาเงินค่าจ้างเพื่อแรงงานที่ทำดังนั้นจึงใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างองค์การของรัฐไม่ได้แต่เนื่องจากค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานของลูกจ้างอันถือเป็นเงินจ้างหรือค่าจ้าง กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าล่วงเวลา: การตีความ 'คนงาน' ในมาตรา 165(9) และการพิจารณาจำนวนเงินที่ไม่แน่นอน
คำว่า "หัตถกรรม" นั้น ประกอบคำว่า "โรงงาน" เพื่อให้ทราบว่าบุคคลจำพวกที่ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) นี้ หมายถึงผู้ที่ทำงานประจำสถานที่ที่เรียกว่าโรงงานหัตถกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงสถานที่อย่างอื่นด้วย คำว่า "หัตถกรรม" หรือแม้กระทั่งคำว่า "โรงงานหัตถกรรม" หาได้ประกอบคำว่า "คนงาน" "ผู้ช่วยงาน" หรือ "ลูกมือฝึกหัด" ด้วยไม่
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165 (9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากัน จึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อขายสินค้าเพื่ออุตสาหกรรม: 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165
บริษัทโจทก์ผู้ประกอบกิจการค้าปลาสติกเม็ดฟ้องบริษัท จำเลยซึ่งทำการค้าเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ และสิ่งทำด้วยปลาสติก ให้ชำระราคาสินค้าปลาสติกเม็ดที่บริษัทจำเลยซื้อไปเพื่อผลิตเป็นถุงปลาสติกขาย ดังนี้ย่อมแสดงว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้ จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีนายหน้า: ค่าบำเหน็จต่างจากค่าจ้าง/ค่าทำของตามมาตรา 165, อายุความ 10 ปี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) และ (7) เป็นบทบัญญัติให้บุคคลเรียกเอาค่า เช่น ค่าที่ได้ส่งมอบของ ค่าทำของ ฯลฯ หรือไม่ก็เรียกเอาสินจ้าง แต่ไม่ได้บัญญัติให้บุคคลเหล่านั้นเรียกเอาค่าบำเหน็จ บำเหน็จบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 ซึ่งเป็นเรื่องของนายหน้า ดังนั้น นายหน้ากับบุคคลที่กล่าวไว้ในมาตรา 165 (1) และ (7) จึงไม่เหมือนกัน การใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่เหมือนกันไปด้วย โจทก์เรียกร้องเอาค่าบำเหน็จและไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี
(ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2509 ได้เห็นชอบตามร่างคำพิพากษาฉบับนี้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่านายหน้า: แยกความแตกต่างระหว่างนายหน้ากับผู้รับจ้างตามมาตรา 165 และการใช้สิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) และ (7) เป็นบทบัญญัติให้บุคคลเรียกเอาค่า เช่น ค่าที่ได้ส่งมอบของค่าทำของ ฯลฯหรือไม่ก็เรียกเอาสินจ้าง แต่ไม่ได้บัญญัติให้บุคคลเหล่านั้นเรียกเอาค่าบำเหน็จ บำเหน็จบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 ซึ่งเป็นเรื่องของนายหน้า ดังนั้น นายหน้ากับบุคคลที่กล่าวไว้ในมาตรา 165(1) และ (7) จึงไม่เหมือนกัน การใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่เหมือนกันไปด้วย โจทก์เรียกร้องเอาค่าบำเหน็จและไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี(ที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2509 ได้เห็นชอบตามร่างคำพิพากษาฉบับนี้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำว่า 'หมอความ' ตามมาตรา 165(15) และการคิดอายุความค่าป่วยการที่ปรึกษากฎหมาย
"หมอความ" ตามมาตรา 165(15) นั้น ย่อมหมายถึงบุคคลผู้ถือเป็นอาชีพ หรือแสดงออกว่าเป็นผู้มีความรู้เพื่อรับจ้างในการใช้วิชากฎหมายโดยทั่วๆ ไป ที่ปรึกษากฎหมายจึงเป็นหมอความตามความหมายของมาตรา 165(15) ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ใหญ่บ้านปล่อยตัวผู้ต้องหา: ความผิดตามมาตรา 165 ไม่ใช่ 168
ผู้ใหญ่บ้านได้รับฝากผู้ต้องหาเพียงชั่วขณะหนึ่งแล้วปล่อยผู้ต้องหาไปนั้น หามีความผิดตามมาตรา 168 ไม่ คงมีผิดตามมาตรา 165.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อเชื่อเพื่ออุตสาหกรรม: 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคสุดท้าย
โจทก์จำเลยเป็นพ่อค้าเย็บจากขายด้วยกัน จำเลยซื้อเชื่อจากไปจากโจทก์เรียกว่าเพื่ออุสาหะกรรมของจำเลยกำหนดอายุความ 5 ปี ไม่ใช่ 2 ปี (รับสภาพหนี้ตาม ม. 172 ถ้าทำด้วยปากเปล่าใช้ไม่ได้ ปรากฎในรายงานประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/ 75)