คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 20

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12088/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง vs. ประกาศฝ่ายเดียว: ขอบเขตมาตรา 20 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
แม้บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20 จะใช้คำว่า ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยมิได้บัญญัติว่าต้องเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากข้อเรียกร้อง แต่บทบัญญัติมาตรา 20 ดังกล่าว บัญญัติต่อเนื่องจากมาตรา 13 ถึง 19 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วมีการเจรจาต่อรองจนตกลงกันได้มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างนำไปจดทะเบียนอันมีผลบังคับทั้งสองฝ่ายแล้วต่อด้วยมาตรา 20 ที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 20 จึงหมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างใหม่ให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้ เมื่อประกาศของจำเลย จำเลยได้ประกาศจ่ายค่าเที่ยวแก่ลูกจ้างรถบรรทุกหัวลากแต่ฝ่ายเดียว แล้วมีการถือปฏิบัติจ่ายค่าเที่ยวเรื่อยมาจนกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายก็ไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง จำเลยจึงสามารถทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างที่ทำงานใหม่โดยตกลงยกเว้นสิทธิประโยชน์บางส่วนตามประกาศของจำเลยได้ ไม่ขัดต่อมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสินค้าคงเหลือที่ขาดหาย การตรวจสอบพยานหลักฐานตามมาตรา 20 พ.ร.รษฎากรชอบแล้ว
การที่เจ้าพนักงานของจำเลยได้ตรวจสอบเอกสารบัญชีคุมสินค้าของโจทก์ซึ่งมีรายการสินค้าที่ขาดและเกินจากบัญชี โดยนำเอามูลค่าของสินค้าที่ขาดจากบัญชีคุมสินค้าตามที่โจทก์ตรวจนับเองมาคำนวณเป็นรายได้เท่ากับยอดขายสินค้า โดยถือว่าโจทก์ขายสินค้าดังกล่าวแล้วไม่ลงบัญชีหรือลงบัญชีต่ำไป แต่เมื่อโจทก์ชี้แจงถึงเหตุที่สินค้าขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าหลายประการ เจ้าพนักงานของจำเลยก็ยอมให้โจทก์นำรายการสินค้าที่เกินจากบัญชีมาหักออกจากรายการสินค้าที่ขาดจากบัญชีสำหรับสินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แล้วแก้รายการที่โจทก์ยื่นไว้เดิมว่าโจทก์มีรายได้จากการขายสินค้าที่ขาดจำนวนในบัญชีคุมสินค้านั้น เป็นวิธีประเมินด้วยการตรวจสอบพยานหลักฐานที่ปรากฏตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 20 มิได้ประเมินตามมาตรา 77/1 (8) (จ) จึงเป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกและรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 20 และ 56
ในความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับนั้นประมวลกฎหมายอาญามาตรา20เป็นบทบัญญัติที่ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะเลือกโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยแต่เพียงสถานเดียวได้และเมื่อศาลใช้ดุลพินิจเลือกที่จะลงโทษจำคุกจำเลยแต่เพียงสถานเดียวก็มิได้หมายความว่าศาลต้องลงโทษจำคุกไปทีเดียวจะรอการลงโทษไม่ได้แล้วศาลย่อมนำบทบัญญัติมาตรา56ว่าด้วยการรอการลงโทษมาปรับใช้ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5158/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรต้องออกหมายเรียกไต่สวนก่อนตามมาตรา 19 และ 20 มิฉะนั้นการประเมินไม่ชอบ
การประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา20จะต้องมีการออกหมายเรียกต่อผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตามมาตรา19ก่อนเจ้าพนักงานประเมินต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามมาตรา19และจะต้องตรวจสอบให้ครบถ้วนในคราวเดียวกันแล้วจึงแจ้งการประเมินไป การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ทวิ(4)หรือมาตรา65ตรี(5)ก็เป็นการประเมินตามประมวลรัษฎากรต้องอยู่ในบังคับมาตรา19และ20เช่นเดียวกัน ปัญหาว่าการออกหมายเรียกประเมินภาษีอากรไม่ชอบนั้นโจทก์มิได้ยกขึ้นอ้างในคำฟ้องแต่ก็มีประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบหรือไม่ทั้งปัญหาเรื่องการประเมินภาษีอากรโดยมิได้มีการออกหมายเรียกมาไต่สวนก่อนตามประมวลรัษฎากรมาตรา19เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีต้องทำตามขั้นตอน ม.19 ก่อนแจ้งประเมิน ม.20 มิได้ตรวจสอบหลักฐานเป็นส่วนๆ
การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 จะต้องมีการออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตามมาตรา 19 ก่อน และเจ้าพนักงานประเมินจะต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามอำนาจในมาตรา 19ว่ามีอยู่เท่าใด เจ้าพนักงานประเมินจะต้องตรวจสอบให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน แล้วจึงจะแจ้งการประเมิน มิใช่ว่าจะให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบหลักฐานเป็นส่วน ๆ แล้วทยอยแจ้งการประเมินแต่ละคราวเท่าที่เห็นสมควร เมื่อปรากฏว่าการประเมินครั้งแรกและครั้งหลังเป็นการประเมินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 66และ 70 ทวิ แห่ง ป. รัษฏากร จึงเป็นการทยอยการประเมินตามหลักฐานที่ได้มาจากการไต่สวนเป็นส่วน ๆ ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจที่จะทำเช่นนั้นทั้งการแจ้งการประเมินครั้งแรกแสดงว่าพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามมาตรา 19 ได้มีการพิจารณาเสร็จสิ้นไปแล้วถ้า จะมีการประเมินอีกครั้งก็ต้องมีการออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามที่กำหนดไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 19 ก่อน ไม่อาจที่จะอาศัยหมายเรียกมาไต่สวนครั้งเดียวนั้นเพื่อทำการแจ้งการประเมินอีกดังนั้นการที่จำเลยประเมินครั้งหลังโดยไม่มีการออกหมายเรียกมาไต่สวนตามกำหนดเวลาที่มาตรา 19 กำหนดไว้ จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 20.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 20 มิใช่มาตรา 21 ผู้เสียภาษีมีสิทธิอุทธรณ์
ถ้าภายในเวลาห้าปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรได้ ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอากร ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องเสียภาษีอากรแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริง หรือไม่บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกระทำได้2 ประการคือ ประการ ที่หนึ่ง เรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนรวมทั้งเรียกพยานบุคคล มาสอบคำให้การ กับประการที่สอง สั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานบุคคลนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง การใช้อำนาจประการที่หนึ่ง เจ้าพนักงานประเมินจะต้องออกหมายเรียกส่วนการใช้อำนาจ ประการที่สองเพียงแต่ทำเป็นคำสั่ง
โจทก์เป็นนิติบุคคลจำพวกห้างหุ้นส่วนจำกัด มี ข. เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ยื่น แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและได้ชำระเงินภาษีสำหรับ รอบระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2520 ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 19 และ 123แห่งประมวลรัษฎากร ออกหมายเรียกให้หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปให้ถ้อยคำประกอบการไต่สวน และส่งมอบบัญชีที่จะต้อง ทำและเอกสารอื่นอันควรแก่เรื่อง สำหรับระยะเวลาบัญชี ปี 2517-2521เพื่อตรวจสอบ ข. ได้นำสมุดบัญชีและ เอกสารดังกล่าวไปมอบให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยตลอดจนให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินตามนั้นแล้วเจ้าหน้าที่ของจำเลยคำนวณผลผลิตของโจทก์ตามคำให้การของ ข. แล้วเห็นว่าโจทก์ ได้ผลผลิตมากกว่าที่ลงในบัญชี เจ้าพนักงานประเมินจึง มีหนังสือถึง ข.แจ้งว่าการตรวจสอบได้เสร็จสิ้นแล้วมี กรณีจะต้องไต่สวน ข.บางประการ ขอให้ไปพบเจ้าพนักงานประเมินในวันที่ 3 มีนาคม 2523แต่ปรากฏว่าในวันนั้นมิได้ มีการสอบคำให้การ ข.ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือเตือน ให้ ข. ไปพบในวันที่ 12พฤษภาคม 2523 ข. ได้ไปให้การ ต่อเจ้าพนักงานประเมินในวันนั้นต่อมา สรรพากรเขต 8 มีหนังสือเชิญให้ข.ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อรับทราบผล การตรวจสอบ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2523หากพ้นกำหนดไม่ไปพบ เจ้าพนักงานจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไปข.มีหนังสือ ถึงสรรพากรเขต 8 ตอบไปว่า ไปพบไม่ได้เพราะติดนัดกับ แพทย์ และยืนยัน ข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้กับ เจ้าพนักงานประเมินแล้วนั้น ต่อมาสรรพากรเขต 8 ได้มี หนังสือถึง ข. ว่าคำชี้แจงและเหตุผลของ ข. ยังไม่อาจหา ข้อยุติได้ ให้ ข. ไปพบเจ้าพนักงานประเมินเพื่อชี้แจงด้วยตนเองในวันที่ 27 มิถุนายน 2523ถ้าไม่ไปพบจะ ดำเนินการตามทางแห่งกฎหมายต่อไป ข. ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน ในวันดังกล่าว ดังนี้ แม้ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ไป เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินใน วันที่ 9 และ 27 มิถุนายน2523 ก็ถือได้ว่าเป็นการประเมินแก้จำนวนเงินที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัย พยานหลักฐานที่ปรากฏตาม มาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 21 เพราะหนังสือทั้งสอง ฉบับดังกล่าวมิใช่หมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือ คำสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง ตาม มาตรา 19โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ จำเลย ชอบที่จะต้องรับอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลงโทษจำคุกอย่างเดียวตาม ป.อ. มาตรา 20 ไม่จำเป็นต้องระบุในคำพิพากษา
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกำหนด ให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว โดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษ ที่ศาลจะต้องระบุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7) แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 20 ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21554/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกโดยไม่ลงโทษปรับตาม ป.อ.มาตรา 20 ไม่ถือเป็นข้อผิดพลาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 186(7)
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีบรรดาความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่บทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดหรือบทกำหนดโทษ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ปรับบทดังกล่าวแล้วลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)