คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 202

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 กรณีจำเลยไม่มาศาลและศาลไม่สั่งขาดนัด
การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ทั้งที่จำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 ดังนั้นการที่ศาลมีคำสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งต่อไป และมีคำพิพากษาคดีนี้มา จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณา และปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเรื่องนี้ไว้ จำเลยก็มีสิทธิยกปัญหานี้ขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณา: ศาลต้องมีคำสั่งแสดงการขาดนัดก่อนชี้ขาดคดีตามมาตรา 202
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสองเป็นบทบัญญัติถึงลักษณะของการที่จะถือว่าคู่ความขาดนัดพิจารณาส่วนมาตรา 202 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการปฏิบัติเมื่อจำเลยขาดนัดพิจารณา บทบัญญัติสองมาตรานี้ผิดแผกแตกต่างกัน
ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาลในวันสืบพยานและมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยานซึ่งถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณานั้น ศาลจำต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเสียก่อนแล้วจึงจะทำการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 และมาตราต่อๆ ไปได้ หากไม่มีคำสั่งดังกล่าวเสียก่อน ก็ไม่เป็นการพิจารณาฝ่ายเดียวตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการไม่อนุญาตให้สืบพยานตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202
พฤติการณ์ที่คู่ความขาดนัดชั้นพิจารณา จึงไม่อนุญาตให้สืบพยานตามมาตรา 202