พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีขับไล่ที่จำเลยปฏิเสธการเช่าและอ้างที่ดินสาธารณะ ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์ แม้จะให้การมาด้วยว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่บนที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธนิติสัมพันธ์และนิติเหตุตามฟ้องซึ่งเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อยู่ในประเด็นแห่งคดีตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปพร้อมทั้งรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาทกับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าเดือนละ 1,000 บาท ข้อต่อสู้ดังกล่าวไม่ทำให้คดีมีประเด็นใหม่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีตามฟ้อง จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท ซึ่งห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างถือเป็นการฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะไม่ได้ขอบังคับเอากับตัวบุคคล
การฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เป็นการขับไล่บุคคลไม่ว่าจะเป็นผู้บุกรุก ผู้เช่าหรือผู้อาศัยที่ไม่มีสิทธิจะอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น คำว่าบุคคลใดดังกล่าวจึงหมายถึงบุคคลที่อยู่ในอสังหาริมทรัพย์รวมสิ่งก่อสร้างหรือทรัพย์สินที่บุคคลนั้นเข้าไปก่อสร้างหรือนำเข้าไปไว้ในอสังหาริมทรัพย์หรือการเพาะปลูกใด ๆ ด้วย มิได้หมายถึงเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปก่อสร้างกระถางต้นไม้ในที่ดินพิพาทของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป กับยังขอให้ห้ามมิให้จำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทอีกต่อไปด้วย จึงเป็นฟ้องที่อยู่ในความหมายคำว่า "ฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปก่อสร้างกระถางต้นไม้ในที่ดินพิพาทของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป กับยังขอให้ห้ามมิให้จำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทอีกต่อไปด้วย จึงเป็นฟ้องที่อยู่ในความหมายคำว่า "ฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224 และการห้ามฎีกาตามมาตรา 220
โจทก์มีความประสงค์อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ แม้คำขอท้ายคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์จะระบุขอให้ส่งไปยังศาลอุทธรณ์ด้วยเหตุผิดหลงใด ๆ ก็ตาม ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะส่งคำร้องฉบับนี้ไปให้ศาลฎีกาพิจารณาจึงจะเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์อุทธรณ์คำนวณจากกรรมสิทธิ์แต่ละส่วน และการรับรองอุทธรณ์ต้องชัดเจนจึงขัดข้อยกเว้นมาตรา 224 วรรคหนึ่งได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เนื้อที่ 32 ไร่ 3 งาน 58 ตารางวา เป็นทรัพย์มรดกของนายค. และนางล.ผู้ตาย โจทก์ทั้งสามและจำเลยต่างเป็นบุตรของผู้ตาย ขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสามคนละ 5 ไร่ คิดเป็นที่ดินรวมกัน 15 ไร่ซึ่งโจทก์ทั้งสามตีราคามาในคำฟ้องเป็นเงิน 100,000 บาทจำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทตามฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย แต่เป็นทรัพย์ของจำเลย แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องและตีราคาทรัพย์สินที่พิพาทรวมกันมา แต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ เมื่อที่ดินพิพาทจำนวน15 ไร่ มีราคา 100,000 บาท ดังนั้น ราคาที่ดินพิพาทเนื้อที่5 ไร่ ที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคาไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การรับรองอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ว่ามีเหตุอันสมควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ต้องเป็นการรับรองโดยชัดแจ้ง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ผู้อุทธรณ์มีข้อความว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์หากไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภูมิลำเนาแห่งอื่นแล้วให้ปิดหมายได้"คำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าเป็นการรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224อันจะทำให้ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้มาสู่การพิจารณาของ ศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่ต้องห้ามตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง จำเป็นต้องมีคำร้องรับรองจากผู้พิพากษา
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสามกำหนดวิธีการที่ผู้อุทธรณ์ในคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จะขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีใน ศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ โดยให้ผู้อุทธรณ์ ต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้น พร้อมฟ้องอุทธรณ์เพื่อให้ศาล ส่งคำร้องพร้อมสำนวนความไปให้ผู้พิพากษาดังกล่าวพิจารณาต่อไปจำเลยเพียงแต่ยื่นอุทธรณ์ โดยหาได้ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเพื่อให้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์หรือไม่ ทั้งผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยเพียงว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของจำเลย สำเนาให้โจทก์" หาได้มีข้อความใดแสดงว่าได้รับรองว่าอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงของจำเลยมีเหตุอันควรอุทธรณ์ไม่ กรณีถือไม่ได้ว่า ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองอุทธรณ์ของ จำเลยว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6495/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ซึ่งเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่เมื่อเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กล่าวแก้ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ซึ่งหากศาลพิพากษาให้เพิกถอน น.ส.3 ก. พิพาท ตามคำขอของโจทก์ ก็ย่อมเป็นผล ต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อันเป็นการ ให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั่นเอง จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินจาก บ. เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน59 ตารางวา ในราคา 10,000 บาท และจำเลยที่ 1 ขอออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินของโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เนื้อที่ 3 ไร่ 55 ตารางวา ในราคา 60,000 บาท จำเลยที่ 3ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เนื้อที่ 3 งาน 88 ตารางวาในราคา 20,000 บาท โจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจาก ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซื้อที่ดินมาจากจำเลยที่ 1เพียงประมาณ 1 ปี ราคาของที่ดินจึงไม่น่าจะต่างกันมากนัก ที่ดินเฉพาะในส่วนที่พิพาทกันมีเนื้อที่เป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทั้งแปลง ราคาของที่ดินพิพาทซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ของคดีนี้ย่อมไม่เกิน50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ชั้นบังคับคดีต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง หากคดีเดิมต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
คดีเดิมต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองอุทธรณ์ชั้นบังคับคดีอันเป็นสาขาก็ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาในคดีขับไล่ที่มีค่าเช่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ประเด็นการต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 224
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนย้ายสิ่งปลูกสร้างพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาทของโจทก์ซึ่งมีค่าเช่าปีละ1,000บาทจำเลยให้การเพียงว่า ช. สามีโจทก์เอาเงินจากจำเลยไปซื้อที่ดินพิพาทมิได้กล่าวอ้างโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของและในการอุทธรณ์และฎีกาจำเลยก็อุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทมิได้อุทธรณ์และฎีกาในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแต่อย่างใดจึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทและต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงไม่เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาจำเลยไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นต่อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9342/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คืนของหมั้นสินสอดต้องห้ามตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามที่ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้คืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์ไม่ถูกต้อง เพราะว่าไม่มีการหมั้น อีกทั้งไม่มีเหตุที่ต้องคืนสินสอดให้แก่โจทก์ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้ผิดสัญญาและไม่ต้องคืนของหมั้นและสินสอดเป็นเงินรวม 41,250 บาท แก่โจทก์เป็นการ โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาว่ามีการหมั้น และ จำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นต้องคืนของหมั้นและสินสอด แก่โจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท อีกทั้งมิได้เป็นคดีที่ เกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องห้ามในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แก้ไขใหม่ และผลของการกำหนดราคาทรัพย์สิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 2 ว่า ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2534 ดังนั้นจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่27 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป การยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไปจึงต้องอยู่ภายใช้บังคับของมาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ด้วย แม้การยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นจะได้ยื่นก่อนที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับก็หาใช่สาระสำคัญไม่ทั้งการนำกฎหมายวิธีพิจารณาความมาใช้บังคับไม่ใช่กรณีลงโทษทางอาญา จึงไม่ต้องนำหลักกฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลังมาใช้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยที่ 1 หรือโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ด้วยนั่นเองซึ่งถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้ที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ทั้งกรณีตามคำฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวแต่อย่างใดคดีโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง