พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางหลักประกันชั่วคราวหลังคดีถึงที่สุด ศาลพิจารณาพฤติการณ์พิเศษตามมาตรา 23
คำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหายเพิ่มภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลกำหนดระยะเวลาโดยอาศัยอำนาจศาลที่มีอยู่ทั่วไปในการดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร แต่เมื่ออ่านคำพิพากษาฎีกาแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งอีกครั้งหนึ่งให้โจทก์วางประกันเพิ่มภายในกำหนด 45 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวได้แต่การขยายระยะเวลาเช่นว่านี้ให้พึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย โจทก์อ้างเหตุผลตามคำร้องของโจทก์ในการขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23แต่เพียงว่า จำนวนเงินที่ต้องวางศาลมีจำนวนสูงถึง70,000,000 บาท โจทก์พยายามหาเงินเพื่อนำมาวางศาลให้ทันในกำหนดแต่หาไม่ทัน ทั้งโจทก์ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ นอกจาก รายได้พอใช้จ่ายเป็นเดือน ๆ เท่านั้นเหตุผลในคำร้องของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะ เวลาการวางเงินประกันค่าเสียหายให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลใช้อำนาจทั่วไปได้หากมีเหตุสมควร มิใช่การขยายเวลาตามมาตรา 23
จำเลยที่ 1 ขอถอนคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นอนุญาตและกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลภายใน 10 วัน ครั้นครบกำหนด จำเลยที่ 1 นำเงินมาวางศาลไม่ครบโดยขออนุญาตวางเงินส่วนที่เหลือในวันรุ่งขึ้น ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต และสั่งว่าจำเลยที่ 1 ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินไปอีก 1 วัน เป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลให้ใหม่มิใช่เป็นการขยายเวลาอันจะทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล: ต้องมีพฤติการณ์พิเศษตามมาตรา 23 วางหลักเกณฑ์การพิจารณา
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1กับอนุญาตให้จำเลยที่ 3 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมบางส่วน และกำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองเสียค่าธรรมเนียม จำเลยทั้งสองไม่ชำระ แต่ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งยกคำร้องและกำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองเสียค่าธรรมเนียมตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการกำหนดเวลาโดยอาศัยอำนาจศาลที่มีอยู่ทั่วไป ในการที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร แต่การที่จำเลยทั้งสอง ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมตามคำสั่งของ ศาลอุทธรณ์ดังกล่าวอีก ย่อมต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งคำร้องโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวหาใช่อาศัยอำนาจที่มีอยู่ทั่วไปไม่
จำเลยทั้งสองขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนด โดยจำเลยอ้างว่าในช่วงระยะเวลาที่ต้องวางเงินตามคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นเทศกาลตรุษจีนตามประเพณีการค้าจะต้องคิดบัญชีหนี้สิน ประกอบกับจำเลยที่1 ล้มป่วยด้วยโรคหอบประจำตัวไม่ได้ประกอบอาชีพ ทำให้การค้าทรุดโทรมไม่สามารถหาเงินมาได้ทันในกำหนด ส่วนจำเลยที่ 3 อ้างว่า จำเลยที่ 3 เงินเดือนน้อยจะหยิบยืมจากผู้อื่นในระยะตรุษจีนเป็นการยากต้องรอให้พ้นระยะตรุษจีน ข้ออ้างดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่จะให้ศาลสั่งขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมได้
จำเลยทั้งสองขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนด โดยจำเลยอ้างว่าในช่วงระยะเวลาที่ต้องวางเงินตามคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นเทศกาลตรุษจีนตามประเพณีการค้าจะต้องคิดบัญชีหนี้สิน ประกอบกับจำเลยที่1 ล้มป่วยด้วยโรคหอบประจำตัวไม่ได้ประกอบอาชีพ ทำให้การค้าทรุดโทรมไม่สามารถหาเงินมาได้ทันในกำหนด ส่วนจำเลยที่ 3 อ้างว่า จำเลยที่ 3 เงินเดือนน้อยจะหยิบยืมจากผู้อื่นในระยะตรุษจีนเป็นการยากต้องรอให้พ้นระยะตรุษจีน ข้ออ้างดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่จะให้ศาลสั่งขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23: ศาลมีอำนาจขยายเวลาเองได้ แม้ไม่ใช่ภัยธรรมชาติ
"เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ มิได้หมายถึงว่า "พฤติการณ์พิเศษที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่อาจกระทำได้ภายในกำหนดนั้นต้องเป็นเหตุสุดวิสัย เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23 จึงไม่จำต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การสั่งขยายเวลาศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่ต้องร้องขอ
ระยะเวลา 14 วันที่กำหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้น ศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้.
ระยะเวลา 14 วันที่กำหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้น ศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ศาลมีอำนาจขยายเวลาได้ แม้ไม่มีคำร้อง
'เหตุสุดวิสัย' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา23 หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้มิได้หมายถึงว่า'พฤติการณ์พิเศษที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่อาจกระทำได้ภายในกำหนดนั้นต้องเป็นเหตุสุดวิสัยเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23 จึงไม่จำต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยการสั่งขยายเวลาศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่ต้องร้องขอ
ระยะเวลา 14 วันที่กำหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลผู้ล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้นศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้
ระยะเวลา 14 วันที่กำหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลผู้ล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้นศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโอนคดีระหว่างศาล: ดุลพินิจตามมาตรา 23 ว.พ.พ. และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 23 วรรคสองนั้น
การโอนคดีไปชำระยังศาลอื่น กฎหมายให้ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี และเหตุผลเป็นเรื่องๆ ไป
การโอนคดีไปชำระยังศาลอื่น กฎหมายให้ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี และเหตุผลเป็นเรื่องๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5933/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการใช้มาตรา 23 ป.รัษฎากร เมื่อมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะ
ป.รัษฎากร มาตรา 23 ซึ่งอยู่ในหมวด 2 ใช้ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น แต่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะของโจทก์ โดยอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/15 (1), 91/16 (1) และ 91/21 (6) เป็นการใช้อำนาจตามบทบัญญัติโดยเฉพาะที่อยู่ในหมวด 5 ว่าด้วยภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นแตกต่างจากบทบัญญัติของ ป.รัษฎากร มาตรา 23 กรณีจึงไม่ต้องนำ ป.รัษฎากร มาตรา 23 และ 24 อันเป็นบททั่วไปมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5933/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติเฉพาะในหมวดภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ต้องใช้บททั่วไปตามมาตรา 23
ป.รัษฎากร มาตรา 23 ใช้ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น แต่การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะดังกล่าวเป็นการประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 91/15 (1), 91/16 (1), 91/21 (6) เป็นการใช้อำนาจตามบทบัญญัติเฉพาะที่อยู่ในหมวด 5 ว่าด้วยภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นแตกต่างจากบทบัญญัติของมาตรา 23 กรณีจึงไม่ต้องนำมาตรา 23 และ 24 อันเป็นบททั่วไปมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6724/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังตาม ป.อ. มาตรา 23 ต้องกำหนดโทษให้เท่ากัน
ป.อ. มาตรา 23 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อนหรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษกักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้นก็ได้" เห็นได้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวให้อำนาจศาลในการที่จะใช้ดุลพินิจลงโทษกักขังแทนโทษจำคุกก็ได้ หากเข้าเงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าว แต่โทษกักขังดังกล่าว เป็นการใช้โทษกักขังแทนโทษจำคุกในคดีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน และที่กฎหมายบัญญัติให้กักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้น เพื่อให้การกำหนดโทษกักขังเป็นเช่นเดียวกับโทษจำคุกดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุก 1 เดือน เป็นโทษกักขังแทน มีกำหนด 2 เดือน ซึ่งไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225