คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 237

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5881/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินโดยรู้ถึงหนี้สินเดิมของผู้ขาย เป็นการเสียเปรียบเจ้าหนี้เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ผู้ร้องได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินที่จำเลยกู้ไปจาก ผู้ร้อง โดยก่อนที่ผู้ร้องจะมีการรับจำนองที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างจำเลยแจ้งผู้ร้องให้ทราบเรื่องที่จำเลยถูกโจทก์ ฟ้องเรียกเงินกู้ และศาลมีคำสั่งบังคับคดีแล้ว เมื่อการจำนอง ระหว่างจำเลยกับผู้ร้องได้ร่วมกันกระทำขึ้นทั้งที่รู้อยู่ว่า จะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ผู้ร้อง จึงไม่อาจที่จะขอรับชำระหนี้ก่อนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5371/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยสุจริตของผู้ได้ลาภงอก และการต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับทนายความซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานที่แก้ต่างคดีให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2ในคดีเดิมก็ตาม แต่จำเลยที่ 3 มีอาชีพค้าขายอยู่คนละอำเภอกับสำนักงานทนายความดังกล่าวและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 3ได้เกี่ยวข้องกับสำนักงานทนายความดังกล่าวนั้นแต่อย่างใด ทั้งการซื้อขายที่ดินก็ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 ซื้อจากจำเลยที่ 1 จำนวน 5 แปลงเป็นของภริยาจำเลยที่ 1 จำนวน 4 แปลง และเป็นของจำเลยที่ 1 จำนวน1 แปลง เหตุผลในการที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินก็เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนจำนองและซื้อข้าวเปลือก ยิ่งกว่านั้นในวันซื้อขายที่ดินจำเลยที่ 1ก็ได้นำจำเลยที่ 2 ไปขอกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 3 ด้วย โดยเสนอเอาที่ดินจำนองเป็นประกัน เพื่อจะนำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายส่งญาติพี่น้องของจำเลยที่ 2 ไปทำงานในต่างประเทศ แต่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมรับจำนองคงรับซื้อไว้ จึงได้ทำการซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 และที่ 2พร้อมกันในวันเดียวกัน พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 3ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องเสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 วรรคแรก นอกจากจำเลยที่ 3 จะให้การว่า ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1และที่ 2 ตามคำฟ้องของโจทก์โดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนในราคาอันเป็นธรรมแล้วยังให้การด้วยว่าได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเปิดเผย และจำเลยที่ 3 ไม่เคยทราบว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกโจทก์ฟ้องคดีด้วย ตามคำให้การของจำเลยที่ 3ดังกล่าว พอสรุปได้ว่า จำเลยที่ 3 ให้การต่อสู้เป็นประเด็นว่าขณะทำนิติกรรมซื้อที่ดินพิพาทตามฟ้องกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้น มิได้รู้เท่ากับข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบซึ่งเป็นประเด็นข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237จึงเป็นการให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยชัดแจ้ง รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้วจำเลยที่ 3 จึงมีสิทธิที่จะนำสืบในประเด็นข้อนี้ได้ หาใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำให้การไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันและการเพิกถอนการซื้อขายเมื่อลูกหนี้ผิดนัด คดีนี้ใช้ ม.237 มิใช่ ม.118
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนจึงถือว่าผู้ค้ำประกันตกเป็นลูกหนี้ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้นเป็นต้นไป ถ้าผู้ค้ำประกันโอนทรัพย์ของตนไปภายหลังระยะเวลานี้เป็นทางทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบแล้วเจ้าหนี้อาจขอให้เพิกถอนได้การสมยอมกันโอนขายทรัพย์ไปโดยปราศจากเจตนาลวงระหว่างคู่กรณี แต่เป็นทางทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบต้องบังคับตาม ม. 237 มิใช่ 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นเครื่องหมายการค้าเพื่อความผิดตาม ม.237 จำเป็นต้องมีการสืบหลักฐานยืนยัน
กรณีที่จะเป็นผิดตาม ม.237 นั้นโจทก์จะต้องสืบให้ได้ความว่า รูปเครื่องหมายที่โจทก์ใช้ปิดสินค้านั้นเป็นเครื่องหมายการค้า มิฉะนั้นจะลงโทษจำเลยไม่ได้ วิธีพิจารณาอาญา พะยาน หน้าที่นำสืบ