พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกระบวนพิจารณาที่มิชอบจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่มีรอยลบแก้ไข และการเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบตามมาตรา 27
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอุทธรณ์ของจำเลยมีรอยลบด้วยหมึกสีขาวแล้วเขียนทับลงบนรอยลบ อันเป็นการขูดลบโดยมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสอง เป็นการไม่ชอบ ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียม อ้างว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลได้ทันตามกำหนด อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดแย้งกับคำสั่งของศาลชั้นต้นบนรอยลบด้วยหมึกสีขาวที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ไปแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แก้ไขคำสั่งเดิมแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว เมื่อปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเช่นนี้ ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งเสียได้ตามมาตรา 27 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม โดยไม่ต้องให้จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนเสียก่อน ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งแก้ไขกระบวนพิจารณาที่มิชอบของศาลชั้นต้น โดยกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางต่อศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 และการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ชอบด้วยกฎหมาย
การใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) กฎหมายบัญญัติให้เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา 71 วรรคสอง ว่า ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 เจ้าพนักงานประเมินจะใช้ดุลพินิจประเมินให้เสียภาษีตามบทบัญญัติในมาตราอื่นก็ได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้อำนาจตามมาตรา 71 (1) ประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จึงเป็นการปฏิบัติไปตามมาตรา 71 (1) การกระทำของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคหนึ่งระบุว่า บุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมินให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ และในวรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่มให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษีจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 69 บัญญัติว่า บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคิดเงินเพิ่มจากโจทก์นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคหนึ่งระบุว่า บุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมินให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ และในวรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่มให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษีจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 69 บัญญัติว่า บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคิดเงินเพิ่มจากโจทก์นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาลชี้สองสถาน: คำร้องแก้ไขประเด็นข้อพิพาทไม่ใช่คำร้องตามมาตรา 27(2)
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยไม่ชอบวันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่โดยให้จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อน ดังนี้ ถือได้ว่าคำร้องของ โจทก์ดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยไม่ชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ มิใช่คำร้องที่จะต้องยื่นต่อศาลภายใน 8 วันตามมาตรา 27 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์มี 2 กรณี: ละเมิดโดยตรง (มาตรา 24) หรือโดยอ้อม (มาตรา 27) โดยต้องพิสูจน์เจตนาของผู้กระทำ
การละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มีได้ 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นการทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงตามมาตรา 24 ได้แก่ การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา (1) หรือ (2) คือ การกระทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือการนำออกโฆษณา ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 กรณีที่สอง เป็นกรณีที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27 ได้แก่การกระทำบางอย่างที่มิใช่การทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง แต่เป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27(1) ถึง (4)แก่งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอีกต่อหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้จึงต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานนั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดพลาดเนื่องจากวันนัดสืบพยานไม่ตรงกับที่ศาลจดไว้ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้ตามมาตรา 27
โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนในวันที่ 8 มิถุนายน 2527 มิใช่วันที่ 8 พฤษภาคม 2527 ตามที่ศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานจำเลยในวันที่ 8 พฤษภาคม 2527 และมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งจำหน่ายคดีโดยที่โจทก์จำเลยไม่ได้ขาดนัดพิจารณาเป็นคำสั่งที่เกิดจากการผิดหลงไม่มีผลบังคับตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบโดยผิดหลงนั้นได้ ตามมาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งศาลที่เกินกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัด ช. ได้ขอให้ศาลจังหวัด ช. อายัดเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 จะได้รับ ศาลจังหวัด ช. อายัดเงินดังกล่าวและขอให้ศาลแพ่งบังคับคดีแทน ต่อมาจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องล้มละลายคดีนี้ที่ศาลแพ่งและถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ศาลแพ่งได้มีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ให้ส่งเงินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ที่อายัดไว้ตามหมายอายัดของศาลจังหวัด ช. ซึ่งยังอยู่ที่กองบังคับคดีแพ่งไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีนี้ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2516 วันที่ 14 ตุลาคม 2517 ผู้ร้องได้ไปยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัด ช. ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีนี้ที่สั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งเงินที่อายัดมาไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ผลที่สุดศาลฎีกาได้พิพากษายกคำร้องดังกล่าวของผู้ร้องโดยวินิจฉัยว่า ผู้ร้องจะต้องมายื่นคำร้องต่อศาลแพ่งจึงจะชอบ (ฎีกาที่ 532/2520) ผู้ร้องได้ฟังคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวในวันที่ 15 สิงหาคม 2520 ต่อมาวันที่ 6 กันยายน 2520 ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลแพ่งฉบับลงวันที่ 29 ตุลาคม 2516 อ้างว่าสั่งไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ เป็นกรณีที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบเกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง แล้วผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลแพ่งฉบับดังกล่าวนั้นได้ ชอบที่จะยกคำร้องของผู้ร้องเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผู้รับมอบอำนาจที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นทนาย ต้องยกขึ้นคัดค้านก่อนศาลตัดสินตามมาตรา 27
การที่จำเลยโต้แย้งเรื่องที่โจทก์ผู้รับมอบอำนาจ ดำเนินกระบวนพิจารณาซักถามพยานโดยมิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทนายนั้นเป็นกรณีโต้แย้งคัดค้านเรื่องผิดระเบียบที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา 27 ดังนั้นจำเลยจึงชอบที่จะยกขึ้นคัดค้านก่อนที่ศาลมีคำพิพากษา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านประการใด ก็ต้องถือว่ากระบวนพิจารณาที่โจทก์ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไป ไม่มีเรื่องคัดค้าน ในการปฏิบัติผิดระเบียบ และการที่จำเลยเพิ่งจะหยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นมาโต้แย้งคัดค้านในชั้นอุทธรณ์นั้นจึงเป็นการขัดกับบทบัญญัติในมาตรา 27 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินของกลางในความผิด พ.ร.บ.เงินตราฯ: ความแตกต่างระหว่างมาตรา 27(1) และ 28
ไนคดีที่จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เงินตราไนภาวะฉุกเฉิน พ.ส.2485 ม.5 นั้น สาลจะริบเงินเหรียนของกลางตามกดหมายลักสนะอาญา ม.27 (1) ไม่ได้
อ้างดีกาที่ 526/2486
อธิบายความหมายอันต่างกันระหว่างมาตรา 27 (1) กับมาตรา 28.
อ้างดีกาที่ 526/2486
อธิบายความหมายอันต่างกันระหว่างมาตรา 27 (1) กับมาตรา 28.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11439/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยสุจริตก่อนจดทะเบียน และการพิจารณาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 27
ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้ามีความเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากภาพรวมของลักษณะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งหมด ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า และสำเนียงเรียกขานว่าเหมือนกันหรือคล้ายกันเพียงใด ตลอดจนต้องพิจารณาว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันแต่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่
โจทก์ได้ใช้คำว่า "ANNA SUI" ซึ่งเป็นชื่อสกุลนักออกแบบสินค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าโดยไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้ใด จึงเป็นการใช้โดยสุจริตตลอดมาก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนทั้ง 3 คำขอนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์กับ ส. และก. ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสามต่างคนต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าที่ขอจดทะเบียนและได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวมาแล้วด้วยกันโดยสุจริตในประเทศไทย นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงชอบที่จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยอาจกำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้ง 3 คำขอของโจทก์นั้นหรือกำหนดข้อจำกัดอื่นที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรก็ได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27
โจทก์ได้ใช้คำว่า "ANNA SUI" ซึ่งเป็นชื่อสกุลนักออกแบบสินค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าโดยไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้ใด จึงเป็นการใช้โดยสุจริตตลอดมาก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนทั้ง 3 คำขอนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์กับ ส. และก. ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสามต่างคนต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าที่ขอจดทะเบียนและได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวมาแล้วด้วยกันโดยสุจริตในประเทศไทย นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงชอบที่จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยอาจกำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้ง 3 คำขอของโจทก์นั้นหรือกำหนดข้อจำกัดอื่นที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรก็ได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9093/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้า: ต้องอ้างอิงมาตรา 16 ไม่ใช่มาตรา 27 (การใช้โดยสุจริต)
คดีนี้เริ่มต้นมาจากกรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ เนื่องจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 16 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในเวลาต่อมา จึงเป็นไปตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 16 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นเรื่องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 27 แต่อย่างใดไม่ เพราะจะต้องเป็นเรื่องที่ต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรรับจดทะเบียน และจะต้องเป็นกรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาและมีคำสั่งรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันให้แก่เจ้าของหลายคนผู้ขอจะทะเบียนเครื่องหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อไป