พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ: ความผิดต่อองค์รวมไม่ใช่รายบุคคล
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดให้ลงโทษปรับแก่ผู้กระทำความผิดเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยนั้นชอบแล้ว แต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 18,200 บาท นั้นไม่ชอบ เพราะแม้มาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติข้อความเจาะจงลงไปว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับมาตรา 27ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27ดังนั้น ในเรื่องโทษนี้ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ นั่นเองไม่ใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีศุลกากร: ศาลฎีกาพิจารณาความผิดตามมาตรา 27 ทวิ และอำนาจริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33
คำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 นั้นเมื่อมาตรา 4 บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 27 ทวิ ก็เท่ากับโจทก์อ้างและขอให้ลงโทษตามความในมาตรา 4 คือ มาตรา 27 ทวิแล้ว
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิโทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อพ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิโทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อพ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)