คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 277

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ & การลงโทษตามมาตรา 277/285 ไม่ถือเป็นการเพิ่มโทษ
คดีนี้จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาเพียงประการเดียว การกระทำความผิดตามฟ้องของจำเลยเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยที่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
การกระทำความผิดของจำเลยต้องตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ประกอบมาตรา 285 ซึ่งตามมาตรา 285 เป็นเรื่องที่ต้องวางโทษจำเลยหนักกว่าโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา 277 วรรคสอง หนึ่งในสาม จึงหาใช้เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่ กรณีไม่อาจนำ ป.อ. มาตรา 54 มาปรับแก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิง แม้ไม่ใช่ครูผู้ดูแลโดยตรง แต่ยังคงมีความผิดตามมาตรา 277
จำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงอ.ผู้เสียหายซึ่งอายุยังไม่เกิน13ปีแต่จำเลยไม่เคยสอนในชั้นที่ผู้เสียหายเรียนจำเลยสอนเด็กเล็กทั้งจำเลยมิได้เป็นครูใหญ่ซึ่งโดยหน้าที่แล้วมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบนักเรียนทั้งโรงเรียนหรือเป็นครูเวรหรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ดูแลผู้เสียหายในขณะเกิดเหตุจึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยอันจะเป็นผลให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลมาตรา285จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา277วรรคสองเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อค้นหาทรัพย์สินเพิ่มเติมตามมาตรา 277 ว.พ.พ.
จำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้จำนองที่ดินเป็นเงินจำนวน 30ล้านบาท เงินจำนวนนี้อาจมีเหลืออยู่ อันเป็นเหตุผลพิเศษที่โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบ จึงมีเหตุให้ศาลทำการไต่สวนและออกหมายเรียกจำเลยมาให้ถ้อยคำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 277
โจทก์ทราบเกี่ยวกับทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องอยู่แล้วเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องสืบเสาะหาราคาเองว่าทรัพย์ที่จำนองไว้ราคาเท่าใดและจำนองไว้เท่าใด ทั้งคำร้องของโจทก์ก็ไม่ได้เจาะจงระบุชื่อนามสกุลบุคคลที่ขอให้ศาลหมายเรียกมาเพื่อให้ศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุผลว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถให้ถ้อยคำที่เป็นประโยชน์จริงหรือไม่ โจทก์จะขอให้หมายเรียกเจ้าหนี้บุริมสิทธิของจำเลย ผู้รับโอนและเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังมาให้ถ้อยคำไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: เจ้าหนี้ต้องสืบเสาะทรัพย์สินเอง ไม่สามารถอ้างมาตรา 277 เพื่อเรียกบุคคลภายนอกให้ข้อมูลได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 277 เป็นเรื่องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบ อาจขอให้ทำการไต่สวนและออกหมายเรียกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่าอยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอันเป็นประโยชน์มาในการไต่สวน แต่เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยมีรถยนต์ซึ่งโจทก์ประสงค์จะยึดเพื่อบังคับคดี จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะสืบเสาะที่อยู่ของทรัพย์เพื่อนำยึด จะนำบทบัญญัติ มาตรา 277 มาใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: เจ้าหนี้ต้องสืบเสาะทรัพย์สินด้วยตนเอง ไม่อาจขอให้ศาลไต่สวนบุคคลภายนอกโดยอ้างมาตรา 277 ป.วิ.พ.
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 277 เป็นเรื่องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบ อาจขอให้ทำการไต่สวนและออกหมายเรียกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่าอยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอันเป็นประโยชน์มาในการไต่สวน แต่เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยมีรถยนต์ซึ่งโจทก์ประสงค์จะยึดเพื่อบังคับคดี จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะสืบเสาะที่อยู่ของทรัพย์เพื่อนำยึด จะนำบทบัญญัติมาตรา 277 มาใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กชายโดยใช้ปากกับอวัยวะเพศเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277
ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ให้ความหมายของการกระทำชำเราว่า หมายความว่า การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่นหรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น
กรณีที่ผู้กระทำใช้อวัยวะเพศของตนกระทำชำเรา จะเป็นความผิดสำเร็จได้ต่อเมื่อหากเป็นกรณีชายกระทำต่อหญิง ต้องเป็นการใช้อวัยวะเพศของชายล่วงล้ำหรือสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของหญิง
หากเป็นกรณีชายกระทำต่อชายด้วยกัน ต้องเป็นการใช้อวัยวะเพศของชายผู้กระทำล่วงล้ำหรือสอดใส่เข้าไปในทวารหนักหรือช่องปากของชายผู้ถูกกระทำ
หากเป็นกรณีหญิงกระทำต่อชาย ต้องเป็นกรณีให้อวัยวะเพศชายผู้ถูกกระทำล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของหญิงผู้กระทำ
ส่วนกรณีที่ผู้กระทำใช้สิ่งอื่นใดกระทำชำเรา จะเป็นความผิดสำเร็จได้ต่อเมื่อหากเป็นกรณีชายกระทำต่อหญิง ต้องเป็นการใช้สิ่งหนึ่งสิ่งใดล่วงล้ำเข้าไปในช่องคลอด หรือทวารหนักของหญิง
หากเป็นกรณีชายกระทำต่อชายด้วยกัน ต้องเป็นการใช้สิ่งหนึ่งสิ่งใดล่วงล้ำหรือสอดใส่เข้าไปในทวารหนักของผู้ถูกกระทำ หรือให้อวัยวะเพศชายของชายผู้ถูกกระทำล่วงล้ำหรือสอดใส่เข้าไปในช่องปากหรือทวารหนักของผู้กระทำ
หากเป็นกรณีหญิงกระทำต่อชาย ต้องเป็นการใช้สิ่งหนึ่งสิ่งใดล่วงล้ำหรือสอดใส่เข้าไปในทวารหนักของชาย หรือให้อวัยวะเพศของชายล่วงล้ำหรือสอดใส่เข้าไปในช่องปากหรือทวารหนักของหญิง
หากเป็นกรณีหญิงกระทำต่อหญิงด้วยกัน ต้องเป็นการใช้สิ่งหนึ่งสิ่งใดล่วงล้ำหรือสอดใส่เข้าไปในช่องคลอดหรือทวารหนักของหญิงผู้ถูกกระทำ
ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นชายใช้ปากอมอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเด็กชายอายุ 11 ปีเศษ จึงถือได้ว่าช่องปากของจำเลยที่ 1 เป็นสิ่งอื่นใดที่ใช้กระทำกับอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม มาตรา 277 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14254/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความหมาย “กระทำชำเรา” ตามมาตรา 277 วรรคสอง แก้ไขใหม่ และหลักการลงโทษตามคำฟ้อง
ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มิได้บัญญัติวางหลักในเรื่องความผิดสำเร็จของการกระทำชำเราแต่อย่างใด แต่เป็นการให้ความหมายของการกระทำชำเรา จากเดิมที่จำกัดเฉพาะการใช้อวัยวะเพศต่ออวัยวะเพศเท่านั้น ให้ขยายกว้างออกไปโดยให้รวมถึงการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับทวารหนักหรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่นด้วย ที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยว่า จำเลยพยายามกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เนื่องจากจำเลยไม่อาจสอดใส่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5469/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลตามมาตรา 277 ป.วิ.พ. กับการบังคับคดี: ศาลไม่สามารถวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินและมีคำสั่งอายัดได้
โจทก์ยื่นคำร้องโดยมุ่งประสงค์ขอให้ศาลทำการไต่สวนและออกหมายเรียกจำเลยทั้งสองกับบุคคลอื่นมาให้ถ้อยคำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 277 โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายสินค้าแล้วนำเงินเข้าฝากในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 กับบุคคลอื่นอันเป็นกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า ทรัพย์สินใดเป็นของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ ซึ่งมาตรา 277 บัญญัติให้ศาลทำการไต่สวนออกหมายเรียกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่าอยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอันจะเป็นประโยชน์มาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหรือวัตถุพยานซึ่งอยู่ในความยึดถือหรืออำนาจของผู้นั้นเพื่อให้ได้ความเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเท่านั้น เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเรียกบุคคลผู้เคยเป็นกรรมการผู้ถือหุ้นและพนักงานบัญชีของจำเลยที่ 1 มาให้ถ้อยคำและทำการไต่สวนเกี่ยวกับการขายสินค้าและการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากดังกล่าวอันเป็นการอนุญาตตามคำร้องของโจทก์แล้ว ศาลจึงไม่จำต้องมีคำสั่งใด ๆ ตามคำร้องของโจทก์อีก ส่วนการที่ตามทางไต่สวนจะได้ข้อเท็จจริงเป็นประการใดเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องไปดำเนินการขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา 298 ต่อไป โดยมาตรา 277 หาได้บัญญัติให้อำนาจศาลในการมีคำวินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินดังกล่าวไปเสียทีเดียวดังที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษามาไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่า เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของจำเลยที่ 1 และมีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารทั้งสองดังกล่าวโดยให้โจทก์วางเงินประกันความเสียหายมานั้น เป็นการไม่ชอบ