พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายจนถึงแก่ความตาย: ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย มาตรา 290
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตายเนื่องจากโกรธที่ผู้ตายปัสสาวะรดที่นอน จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตายคงมีเจตนาทำร้ายเท่านั้น เมื่อการทำร้ายของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์บังคับคดี: เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 และการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่น
คำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องบรรยายข้อสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคแรก โดยย่อให้ได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในคดีเรื่องอื่น และขอให้ศาลอนุญาตให้เข้าเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่มีการออกหมายบังคับคดีนี้ สำหรับเงื่อนไขตามมาตรา 290 วรรคสี่ เป็นกำหนดเวลาที่ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาในทันทีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องพิจารณาว่าผู้ร้องได้ยื่นเข้ามาในกำหนดเวลาหรือไม่ ถ้ายื่นเกินกำหนดศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องจึงไม่ใช่ข้อที่ผู้ร้องต้องบรรยายมาในคำร้อง ตามคำร้องของผู้ร้องระบุว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแต่จำเลยไม่มีเงินจะชำระหนี้ให้ผู้ร้องได้ผู้ร้องจึงมาร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ พอแปลได้ว่า ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลย ถือได้ว่าผู้ร้องอ้างในคำร้องแล้วว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 290 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์สินจากการบังคับคดี: กำหนดเวลาและข้อยกเว้นตามมาตรา 290 วรรคสี่
จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย และในวันที่ 20 มิถุนายน 2518 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลอายัดเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน 52,600 บาท ซึ่งจะได้รับจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ศาลชั้นต้นออกหมายอายัดในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องและสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินต่อศาลภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งวันที่ 3 กรกฎาคม 2518 ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงิน 52,600 บาทมาให้ตามหมายอายัด หนังสือนำส่งเงินมาถึงศาลชั้นต้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2518 ต่อมาวันที่ 14 กรกฎาคม 2518 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงิน 52,600 บาท ดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินที่พิพาทหลังจากวันที่ศาลชั้นต้นได้รับเงินไว้แล้วถึง 9 หรือ 10 วัน ล่วงพ้นกำหนดเวลาตามความในตอนต้นของมาตรา 290 วรรคสี่ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว
การที่ผู้ร้องเพิ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2518 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ ศาลชั้นต้นได้รับเงินที่อายัดไว้แล้วนั้นย่อมถือไม่ได้ว่าเป็น "กรณีใด" ดังที่บัญญัติไว้ตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่ ตรงกันข้ามกลับจะแสดงว่าในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งให้อายัดเงินที่พิพาทก็ดี หรือวันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินมาให้ศาลก็ดี ผู้ร้องยังหาได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำขอเฉลี่ยเงินจำนวนพิพาทไม่ คำว่า "กรณีใด ๆ " ในตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่นั้นเป็นเพียงข้อยกเว้นของตอนต้นเท่านั้น เมื่อกรณีใดต้องด้วยข้อความในตอนต้นโดยตรงแล้ว ก็ย่อมจะนำข้อยกเว้นมาใช้แก่กรณีนั้นอีกไม่ได้
การที่ผู้ร้องเพิ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2518 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ ศาลชั้นต้นได้รับเงินที่อายัดไว้แล้วนั้นย่อมถือไม่ได้ว่าเป็น "กรณีใด" ดังที่บัญญัติไว้ตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่ ตรงกันข้ามกลับจะแสดงว่าในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งให้อายัดเงินที่พิพาทก็ดี หรือวันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินมาให้ศาลก็ดี ผู้ร้องยังหาได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำขอเฉลี่ยเงินจำนวนพิพาทไม่ คำว่า "กรณีใด ๆ " ในตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่นั้นเป็นเพียงข้อยกเว้นของตอนต้นเท่านั้น เมื่อกรณีใดต้องด้วยข้อความในตอนต้นโดยตรงแล้ว ก็ย่อมจะนำข้อยกเว้นมาใช้แก่กรณีนั้นอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ vs. อายัดทรัพย์: กำหนดเวลาขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การยึดทรัพย์หมายถึงการยึดทรัพย์ของจำเลย แต่การอายัดหมายถึงการอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อลูกหนี้ ให้ลูกหนี้ของจำเลยส่งทรัพย์หรือเงินให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
กรณียึดทรัพย์ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันที่ประกาศขายทอดตลาดถือว่ายื่นขอภายในกำหนดเวลา มาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว
กรณียึดทรัพย์ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันที่ประกาศขายทอดตลาดถือว่ายื่นขอภายในกำหนดเวลา มาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290: ระยะเวลาการยื่นคำขอและการอายัติทรัพย์ก่อนมีคำพิพากษา
ในกรณีร้องขอเฉลี่ยทรัพย์มาตรา 290 วรรค 4 บัญญัติห้ามมิให้ยื่นคำขอช้ากว่า 3 เดือนนับแต่วันอายัต นั้น มีความหมายถึงการอายัตตามคำพิพากษาเท่านั้น หาใช่มุ่งหมายให้นับแต่วันอายัติก่อนมีคำพิพากษาไม่
ภรรยาได้รับความยินยอมจากสามีให้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกหนี้สิน จนศาลพิพากษาให้จำเลยใช้หนี้แล้ว เมื่อจำเลยถูกเจ้าหนี้อื่นยึดและอายัตทรัพย์ไว้ก่อนแล้ว ภรรยาผู้เป็นโจทก์ก็มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ โดยในชั้นขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยผู้นี้ ภรรยาไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีซ้ำอีก
คำว่า " ลูกหนี้ตามคำพิพากษา " ในมาตรา 290 นั้นหมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึดทรัพย์ ไม่หมายความว่ามีทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาคนอื่นๆอยู่อีก
ภรรยาได้รับความยินยอมจากสามีให้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกหนี้สิน จนศาลพิพากษาให้จำเลยใช้หนี้แล้ว เมื่อจำเลยถูกเจ้าหนี้อื่นยึดและอายัตทรัพย์ไว้ก่อนแล้ว ภรรยาผู้เป็นโจทก์ก็มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ โดยในชั้นขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยผู้นี้ ภรรยาไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีซ้ำอีก
คำว่า " ลูกหนี้ตามคำพิพากษา " ในมาตรา 290 นั้นหมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึดทรัพย์ ไม่หมายความว่ามีทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาคนอื่นๆอยู่อีก