พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตขายทรัพย์สินที่ถูกยึดเพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 307 ป.วิ.พ. ศาลไม่อนุญาตหากไม่เข้าเงื่อนไข
ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 มีรายได้ประจำปีจากการพาณิชยกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของหมู่บ้านจัดสรร ที่ดินพร้อมบ้านที่โจทก์นำยึดทั้งสองแปลงมีลูกค้าตกลงจะซื้อจากจำเลยที่ 1 แล้ว ซึ่งจะทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเป็นรายได้รวม 7,875,000 บาท เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างเพื่อขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ซึ่งหากศาลอนุญาตย่อมมีผลเป็นการงดการบังคับคดีไปในตัว แม้จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างในคำร้องต่อไปว่า โจทก์ไม่แจ้งเรื่องดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้ลูกค้าของจำเลยที่ 1 ทราบ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 และการบังคับคดี ทั้งได้อ้างมาตรา 296 แห่ง ป.วิ.พ. มาในคำร้องด้วยก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 เพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีและอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ซึ่งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ที่จะขอให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งตามมาตรา 307 เป็นประการสำคัญ คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงมิได้ขัดแย้งกันเอง แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 307 แห่ง ป.วิ.พ. ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีรายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์หรือมีการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรม อยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดนั้น ให้มีโอกาสชำระหนี้จากรายได้ประจำปีโดยไม่จำต้องขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่ออนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์นำยึดซึ่งยังคงต้องขายทรัพย์สินดังกล่าว จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 307 ทั้งมีผลเท่ากับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินดังกล่าวเสียเองแทนการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งไม่อาจกระทำโดยชอบ ดังนั้น แม้ศาลจะไต่สวนได้ความตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องนั้นได้ จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียโดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน หาเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 21 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตขายทรัพย์สินยึดโดยลูกหนี้ตามมาตรา 307 ป.วิ.พ. ต้องเป็นไปเพื่อชำระหนี้จากรายได้ประจำปี ไม่ใช่การขายแทนการบังคับคดี
คำร้องของจำเลยอ้างว่า จำเลยมีรายได้ประจำปีจากการพาณิชยกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของหมู่บ้านจัดสรร ที่ดินพร้อมบ้านที่โจทก์นำยึดมีลูกค้าตกลงจะซื้อจากจำเลยแล้ว ซึ่งจะทำให้ได้รับเป็นรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นข้อที่กล่าวอ้างเพื่อขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ซึ่งหากศาลอนุญาตย่อมมีผลเป็นการงดการบังคับคดีไปในตัว แม้จำเลยจะกล่าวอ้างในคำร้องต่อไปว่าโจทก์ไม่แจ้งเรื่องดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้ลูกค้าของจำเลยทราบ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยและการบังคับคดี ทั้งได้อ้างมาตรา 296 มาในคำร้องด้วย แต่จำเลยก็มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา 296 เพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีและอนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ซึ่งเห็นได้ว่าจำเลยประสงค์ที่จะขอให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งตามมาตรา 307 เป็นสำคัญ คำร้องของจำเลยจึงมิได้ขัดแย้งกันเอง
ป.วิ.พ. มาตรา 307 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้มีโอกาสชำระหนี้จากรายได้ประจำปีโดยไม่ต้องขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึด การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่ออนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์นำยึดซึ่งยังคงต้องขายทรัพย์สินดังกล่าว จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 307 ทั้งมีผลเท่ากับให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินดังกล่าวเสียเองแทนการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งไม่อาจกระทำได้โดยชอบ จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียโดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน ไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 21
ป.วิ.พ. มาตรา 307 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้มีโอกาสชำระหนี้จากรายได้ประจำปีโดยไม่ต้องขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึด การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่ออนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์นำยึดซึ่งยังคงต้องขายทรัพย์สินดังกล่าว จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 307 ทั้งมีผลเท่ากับให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินดังกล่าวเสียเองแทนการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งไม่อาจกระทำได้โดยชอบ จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียโดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน ไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 21
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9136/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตามมาตรา 307 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 307 ซึ่งตามวรรคสองกำหนดไว้ว่าคำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ดังนี้ แม้จำเลยจะฎีกาในปัญหาว่า การที่ศาลชั้นต้นงดไต่สวนก่อนมีคำสั่งเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนและยกคำร้องของจำเลยก็เนื่องจากพิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะต้องตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ตามคำร้องจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามมาตรา 307 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4มีคำพิพากษาเป็นประการใดแล้วย่อมเป็นที่สุด จำเลยจะฎีกาต่อมาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 307 วรรคสองหลังศาลชั้นต้นรับฎีกา
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์จำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 ในระหว่างการไต่สวน จำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นเห็นว่าพฤติการณ์ของจำเลยส่อแสดงว่าจะประวิงการบังคับคดี จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนต่อไปอีก และมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเท่ากับศาลชั้นต้นได้พิจารณาในเนื้อหาของคำร้องแล้วว่าไม่มีเหตุที่จะอนุญาตตามคำร้องของจำเลยคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรานี้จำเลยย่อมอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาอย่างใดแล้ว คำสั่งหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 วรรคสองซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542มาตรา 14
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7754/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน: ทรัพย์สินที่ไม่มีรายได้ประจำปี ไม่อาจใช้มาตรา 307
จำเลยประกอบอาชีพพาณิชยกรรมการค้าขายวัสดุก่อสร้างทุกชนิด และรับเหมาก่อสร้างงานโยธาทุกประเภทที่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร ส่วนทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดนั้น ที่ดินแปลงที่ 1 เป็นที่ดินสำหรับทำไร่ ส่วนแปลงที่ 2 เป็นที่ดินสำหรับอยู่อาศัย และทั้งสองแปลงอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวย่อมไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีรายได้ประจำปีหรือมีการประกอบพาณิชยกรรมในขณะนั้นที่จำเลยจะขอตั้งผู้จัดการทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามมาตรา 307: รายได้ประจำปีเพียงพอชำระหนี้ได้ ศาลสั่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ มิใช่ผ่อนชำระรายปี
ความหมายแห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 307 ให้ใช้รายได้ 1 ปี มาชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามคำพิพากษามิใช่ให้ผ่อนชำระเป็นรายปีแล้วแต่ลูกหนี้จะผ่อนชำระได้ จำเลยที่ 2 มิได้มีรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดจึงไม่อาจตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การตั้งผู้จัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้จากรายได้ประจำปีตามมาตรา 307 คพพ.
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 ว่าด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการขายทอดตลาดเป็นบทบัญญัติคุ้มครองผลประโยชน์และส่วนได้เสียของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดี ซึ่งทำให้อาจปลดเปลื้องหนี้สินตามคำพิพากษาได้ โดยไม่ต้องมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้และจะไม่เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการของลูกหนี้เมื่อคำนวณประจำปีแล้วอาจเพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ซึ่งเมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอศาลอาจมีคำสั่งตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการเหล่านั้นและบังคับให้มอบรายได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในเวลาและกำหนดตามที่ศาลเห็นสมควรแทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หาใช่ให้ผ่อนชำระเป็นรายปีแล้วแต่ลูกหนี้จะผ่อนชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5018/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการทรัพย์เพื่อชำระหนี้แทนการขายทอดตลาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อมุ่งที่จะคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้มีโอกาสชำระหนี้ โดยไม่จำต้องขายทรัพย์สินอันสามารถทำรายได้ให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไป เมื่อได้ความว่ารายได้จากการประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของจำเลยอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา ศาลฎีกาให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์ที่ยึดเพื่อดำเนินกิจการแทนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการไต่สวนคำร้องขอจัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 307 ว.แพ่ง พิจารณาจากพฤติการณ์ลูกหนี้
คำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องเสียก่อนแล้ว จึงจะมีคำสั่งได้ การที่จะต้องไต่สวนคำร้องเสียก่อนแล้ว จึงจะมีคำสั่งหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณา เห็นสมควรเป็นเรื่อง ๆ ไป ตามคำร้องของ จำเลยอ้างว่า ทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น จำเลยได้ใช้ประกอบกิจการหารายได้มีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีได้ แต่ตามพฤติการณ์ในสำนวนปรากฏว่าจำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้นับถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลคิดเป็นเวลาได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระหนี้หรือผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใดทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลก็เปิดโอกาสให้จำเลย ผ่อนชำระหนี้ได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยตามคำร้องเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนตามคำร้องเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ต้องมีรายได้จากทรัพย์สินที่ยึด ไม่ใช่แค่มีโรงงาน
การที่จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ ตามป.วิ.พ. มาตรา 307 ต้องเป็นกรณีที่ตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองมีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อที่ดินของจำเลยที่ถูกโจทก์นำยึดมีแต่พืชไร่ซึ่งไม่ปรากฎว่าเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวอันจะมีรายได้ประจำปีมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ ไม่อาจตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตราดังกล่าวได้.