พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถบรรทุกที่ใช้บรรทุกน้ำหนักเกินตาม พ.ร.บ.ทางหลวง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกทรายซึ่งมีน้ำหนักยานพาหนะรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ทางหลวงฯ และขอให้ศาลสั่งริบรถยนต์บรรทุกสิบล้อของกลาง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและคดีไม่จำต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพจึงฟังได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์บรรทุกสิบล้อของกลางบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย รถยนต์บรรทุกสิบล้อของกลางจึงเป็นทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) แม้ พ.ร.บ.ทางหลวงฯ มาตรา 61, 73 มิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้ แต่ก็มิได้บัญญัติถึงเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำมาตรา 33 มาใช้บังคับได้ตามมาตรา 17 แห่ง ป.อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด: เงินจากการขายยาเสพติดเข้าข่ายริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ดให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ กับจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการขายอีกจำนวน 150 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย น้ำหนักรวมกันทั้งหมด 15.25 กรัม เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลย และยึดได้ธนบัตรจำนวน 44,000 บาท ซึ่งเป็นธนบัตรที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นไป เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) บัญญัติให้ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดด้วย ดังนี้ เมื่อธนบัตรจำนวน 44,000 บาทเป็นเงินที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนอื่นไปก่อนหน้าที่จำเลยถูกจับในคดีนี้ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบเงินของกลางจำนวนดังกล่าวนี้ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5741/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลริบทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แม้มีบทบัญญัติเฉพาะในกฎหมายอื่น
แม้พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 จะมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษ แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติใดแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้บังคับ ทั้งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ก็ได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจริบทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดได้นอกเหนือจากอำนาจริบทรัพย์ตามบทกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยใช้รถยนต์ของกลางบรรทุกถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้าม ซึ่งจำเลยมีไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย จำนวน100 กระสอบ ปริมาตร 16.66 ลูกบาศก์เมตร รถยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีศุลกากร: ศาลใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ แม้โจทก์มิได้อ้าง
คำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 นั้น เมื่อมาตรา 4 บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 27 ทวิ ก็เท่ากับโจทก์อ้างและขอให้ลงโทษตามความในมาตรา 4 คือ มาตรา 27 ทวิแล้ว
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ โทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27 ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้ แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ โทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27 ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้ แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)