พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักกระบือเวลากลางวัน ความผิดตามมาตรา 335(7) วรรคสาม และ 336 ทวิ
กระบือ ๑๓ ตัว หายไปจากทุ่งเลี้ยงตั้งแต่เวลาประมาณเที่ยงวัน น. พยานโจทก์ไปตามคืนมาได้ 11 ตัว เมื่อเวลาประมาณ 17 นาฬิกา แสดงว่ากระบือ 2 ตัว สูญหายไปในเวลากลางวัน แม้จะมีการขนถ่ายขึ้นรถยนต์บรรทุกของ ณ ในตอนค่ำ ก็เป็นเวลาหลังจากการลักกระบือสำเร็จลงแล้ว เหตุจึงมิได้เกิดในเวลากลางคืน การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคสาม ประกอบมาตรา 336 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในที่เกิดอุบัติเหตุ: ข้อจำกัดของมาตรา 335 วรรคแรก ป.อาญา และการลดโทษจากคำรับสารภาพ
การลักทรัพย์ในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (2) วรรคแรก อุบัติเหตุนั้นเฉพาะเกิดแก่รถไฟหรือยานพาหนะที่ประชาชนโดยสารเท่านั้น ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (2) วรรคแรกได้ จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในที่เกิดเหตุอุบัติเหตุ ต้องพิจารณาประเภทของอุบัติเหตุตามกฎหมาย หากไม่เข้าข่ายมาตรา 335 ให้ลงโทษตามมาตรา 334
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(2) บัญญัติถึงการลักทรัพย์ในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุซึ่งอุบัติเหตุนั้นเฉพาะเกิดแก่รถไฟหรือยานพาหนะที่ประชาชนโดยสารเท่านั้น ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายในบริเวณที่มีอุบัติเหตุรถยนต์เฉี่ยวชนกันซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้ขับรถยนต์ประสบอุบัติเหตุ ดังนั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(2) วรรคแรก ได้ จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าไปในรถโดยไม่รื้อค้นถือว่าผ่านสิ่งกีดกั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)
แม้รถกระบะของผู้เสียหายไม่ปรากฏร่องรอยการถูกงัดแงะซึ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ก็ตามแต่การที่จำเลยเข้าไปในรถกระบะของผู้เสียหายโดยผ่านทางประตูรถเข้าไปถือว่าเป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์เข้าไปด้วยประการใด ๆ ตามป.อ.มาตรา 335(3) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าขโมยในรถที่ไม่มีร่องรอยงัดแงะ ถือเป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)
แม้รถกระบะของผู้เสียหายไม่ปรากฏร่องรอยการถูกงัดแงะซึ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ก็ตาม แต่การที่จำเลยเข้าไปในรถกระบะของผู้เสียหายโดยผ่านทางประตูรถเข้าไปถือว่าเป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์เข้าไปด้วยประการใด ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(3) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'สถานที่ราชการ' ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8) โรงอาหาร มหาวิทยาลัย ไม่ถือเป็นสถานที่ราชการ
จำเลยลักเอาเงินซึ่งใส่ไว้ในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายขณะที่วางไว้ที่โต๊ะอาหารภายในโรงอาหารของมหาวิทยาลัยที่ซึ่งนักศึกษาหรือประชาชนอื่นใด ผู้ที่เข้ามาติดต่อราชการกับมหาวิทยาลัยอันมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปนั่งรับประทานอาหารได้เป็นที่ซึ่งอยู่ภายในบริเวณรั้วของมหาวิทยาลัย แต่โรงอาหารเป็นบริเวณนอกอาคารเรียนหรือนอกสถานที่ตั้งอันเป็นที่ปฏิบัติงานของราชการหรือข้าราชการตามปกติ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8) จำเลยคงมีความผิดเพียงตามมาตรา 334
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระพุทธรูปของกลางไม่ใช่ทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 335 ทวิ
พระพุทธรูปของกลางทั้ง 7 องค์ ที่ถูกลักไปนั้น เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก เก็บรักษาอยู่ในตู้ของวัดแต่ไม่ปรากฏว่าเอาไว้ทำอะไร พระพุทธรูปของกลางจึงเป็นพระพุทธรูปธรรมดา เช่น พระพุทธรูปบูชาทั่วไป ถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 335 ทวิ วรรคหนึ่ง เมื่อพระพุทธรูปของกลางมิใช่ทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน แม้จำเลยที่ 4กับพวกจะลักพระพุทธรูปของกลางในวัด การกระทำของจำเลยที่ 4 กับพวกก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในกุฏิพระ: กุฏิเป็นเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8)
คำว่า "กุฏิ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525หมายความว่า "เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่" ดังนั้นกุฏิพระจึงเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรเท่านั้น จึงเป็น"เคหสถาน" ตามนัยมาตรา 1(4) แห่งประมวลกฎหมายอาญา และหาใช่สถานที่บูชาสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(9) ด้วยไม่การลักทรัพย์ในบริเวณกุฏิพระ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน แม้ไม่ได้ระบุชัดเจน ศาลลงโทษตามมาตรา 335 ได้
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างเวลากลางคืนก่อนเที่ยงถึงเวลากลางวันวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้เข้าไปลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งอยู่ในเคหสถานไปโดยทุจริตหรือมิฉะนั้นจำเลยได้กระทำผิดฐานรับของโจรทรัพย์ที่ถูกลักไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางวันจริงตามฟ้องเช่นนี้ ก็ต้องฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเคหสถานตามที่ปรากฏในคำฟ้องโจทก์ด้วยศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8) วรรคแรกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ผงดินของขลังจากพระพุทธรูป: ความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ม.335(1)(7) ไม่ใช่ความผิดตาม ม.335ทวิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักเอาผงดินของขลังซึ่งเป็นวัตถุในทางศาสนาที่ทำให้พระพุทธรูปมีความขลังและทรงคุณค่าในความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งอัดบรรจุอยู่ในพระพุทธรูป 'พระครูเหล็ก' จำนวนหนัก 4.50 กรัม ประมาณราคาไม่ได้ของวัดแจ้งสว่างไปดังนี้ เป็นฟ้องที่ชัดเจนแล้วว่าผงดินของขลังและพระพุทธรูป 'พระครูเหล็ก' เป็นของวัดแจ้งสว่างฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย
ผงดินของขลังที่บรรจุในฐานองค์พระพุทธรูปได้มาจากแหล่งสำคัญในทางพุทธศาสนาที่ประชาชนเคารพนับถือ โดยสภาพเป็นผงดินธรรมดา การนำมาบรรจุในฐานองค์พระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระพุทธรูปยิ่งขึ้นนั้นไม่ใช่วัตถุทางศาสนาซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน และคำว่า 'ส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป' ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512 มาตรา 3 นั้นหมายถึงส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างพระพุทธรูป เช่น พระเศียร พระหัตถ์ พระกร และพระบาท ฯลฯ ซึ่งถ้าหากส่วนหนึ่งส่วนใดถูกตัดหรือถูกทำลายย่อมทำให้พระพุทธรูปขาดความสมบูรณ์ผงดินของขลังที่บรรจุอยู่ในฐานองค์พระพุทธรูป แม้จะถูกนำออกไปก็หาทำให้พระพุทธรูปขาดความสมบูรณ์ไปไม่ รูปลักษณะของพระพุทธรูปยังคงอยู่ในสภาพเดิม ผงดินของขลังจึงไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูปการที่จำเลยลักเอาผงดินของขลังไปจึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512 มาตรา 3 ตามที่จำเลยที่ 6 แต่ผู้เดียวได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7) ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ด้วยก็ตาม โดยที่เป็นเหตุในลักษณะคดี จึงต้องมีผลถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ด้วย
ผงดินของขลังที่บรรจุในฐานองค์พระพุทธรูปได้มาจากแหล่งสำคัญในทางพุทธศาสนาที่ประชาชนเคารพนับถือ โดยสภาพเป็นผงดินธรรมดา การนำมาบรรจุในฐานองค์พระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระพุทธรูปยิ่งขึ้นนั้นไม่ใช่วัตถุทางศาสนาซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน และคำว่า 'ส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป' ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512 มาตรา 3 นั้นหมายถึงส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างพระพุทธรูป เช่น พระเศียร พระหัตถ์ พระกร และพระบาท ฯลฯ ซึ่งถ้าหากส่วนหนึ่งส่วนใดถูกตัดหรือถูกทำลายย่อมทำให้พระพุทธรูปขาดความสมบูรณ์ผงดินของขลังที่บรรจุอยู่ในฐานองค์พระพุทธรูป แม้จะถูกนำออกไปก็หาทำให้พระพุทธรูปขาดความสมบูรณ์ไปไม่ รูปลักษณะของพระพุทธรูปยังคงอยู่ในสภาพเดิม ผงดินของขลังจึงไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูปการที่จำเลยลักเอาผงดินของขลังไปจึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512 มาตรา 3 ตามที่จำเลยที่ 6 แต่ผู้เดียวได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7) ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ด้วยก็ตาม โดยที่เป็นเหตุในลักษณะคดี จึงต้องมีผลถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ด้วย