พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16966-17658/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดงานโดยนายจ้าง: การแจ้งปิดงานตามมาตรา 34 และผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่หมดอายุ
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับแจ้งข้อพิพาทแรงงานเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. และผู้แทนจำเลยเข้าร่วมไกล่เกลี่ยในวันที่ 22, 27 มีนาคม 2555 ในวันที่ 27 มีนาคม 2555 ผู้แทนจำเลยแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ทราบว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้มีการเจรจาต่อไปคือไม่ประสงค์ให้มีการไกล่เกลี่ยต่อไป ข้อพิพาทแรงงานจึงเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 22 วรรคสาม
ผู้แทนจำเลยทำหนังสือแจ้งใช้สิทธิปิดงานมอบให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ไม่ยอมรับหนังสือ ผู้แทนจำเลยจึงอ่านข้อความในหนังสือให้ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ฟัง เท่ากับจำเลยได้แจ้งการใช้สิทธิปิดงานเป็นหนังสือให้ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ทราบแล้วตามมาตรา 34 วรรคสอง
สหภาพแรงงาน บ. เป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้องแทนลูกจ้างผู้เป็นสมาชิก มาตรา 15 วรรคหนึ่ง การที่ผู้แทนจำเลยแจ้งการปิดงานให้ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ทราบ จึงเป็นการแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 34 วรรคสอง
มาตรา 34 วรรคสอง บัญญัติวิธีการแจ้งใช้สิทธิปิดงานไว้เป็นการเฉพาะแล้ว นำวิธีการปิดประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ตกลงกันได้แล้วตามมาตรา 18 วรรคสอง มาใช้กับการแจ้งสิทธิปิดงานไม่ได้
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับเดิมยังไม่สิ้นสุดลง แต่เมื่อสหภาพแรงงาน บ. ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับจำเลยลงวันที่ 29 มีนาคม 2554 โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาการใช้บังคับไว้ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังจึงมีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ 29 มีนาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่สหภาพแรงงาน บ. และจำเลยได้ตกลงกันเป็นเวลา 1 ปี ตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง และครบกำหนด 1 ปี ในวันที่ 28 มีนาคม 2555 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 วรรคสอง ดังนั้นตั้งแต่เริ่มต้นของวันที่ 29 มีนาคม 2555 จึงไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับให้ฝ่ายสหภาพแรงงาน บ. และฝ่ายจำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงปิดงานในวันที่ 29 มีนาคม 2555 ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง (2)
ผู้แทนจำเลยทำหนังสือแจ้งใช้สิทธิปิดงานมอบให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ไม่ยอมรับหนังสือ ผู้แทนจำเลยจึงอ่านข้อความในหนังสือให้ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ฟัง เท่ากับจำเลยได้แจ้งการใช้สิทธิปิดงานเป็นหนังสือให้ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ทราบแล้วตามมาตรา 34 วรรคสอง
สหภาพแรงงาน บ. เป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้องแทนลูกจ้างผู้เป็นสมาชิก มาตรา 15 วรรคหนึ่ง การที่ผู้แทนจำเลยแจ้งการปิดงานให้ผู้แทนสหภาพแรงงาน บ. ทราบ จึงเป็นการแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 34 วรรคสอง
มาตรา 34 วรรคสอง บัญญัติวิธีการแจ้งใช้สิทธิปิดงานไว้เป็นการเฉพาะแล้ว นำวิธีการปิดประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ตกลงกันได้แล้วตามมาตรา 18 วรรคสอง มาใช้กับการแจ้งสิทธิปิดงานไม่ได้
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับเดิมยังไม่สิ้นสุดลง แต่เมื่อสหภาพแรงงาน บ. ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับจำเลยลงวันที่ 29 มีนาคม 2554 โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาการใช้บังคับไว้ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังจึงมีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ 29 มีนาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่สหภาพแรงงาน บ. และจำเลยได้ตกลงกันเป็นเวลา 1 ปี ตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง และครบกำหนด 1 ปี ในวันที่ 28 มีนาคม 2555 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 วรรคสอง ดังนั้นตั้งแต่เริ่มต้นของวันที่ 29 มีนาคม 2555 จึงไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับให้ฝ่ายสหภาพแรงงาน บ. และฝ่ายจำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงปิดงานในวันที่ 29 มีนาคม 2555 ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4235/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์ตัดสินคดีคุมประพฤติแล้ว เหตุ พ.ร.บ.คุมประพฤติ 2559 มาตรา 34 วรรคสอง
จำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นเงื่อนไขเพื่อควบคุมความประพฤติของจำเลยไว้ เป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติที่ศาลกำหนดตาม ป.อ. มาตรา 56 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการคุมประพฤติและให้ลงโทษจำคุกที่รอการลงโทษแก่จำเลย และจำเลยอุทธรณ์คำสั่งนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 34 วรรคสอง จำเลยจะฎีกาไม่ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและผู้พิพากษาที่พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกามาจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว