พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดมาตรา 35 พ.ร.บ.ความลับทางการค้า การปฏิบัติการตามกฎหมายและการเปิดเผยข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงาน
องค์ประกอบความผิดในส่วนของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 35 วรรคแรก คือ ผู้กระทำที่เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของผู้ควบคุมความลับทางการค้า จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้กระทำได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ซึ่งผู้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการเท่านั้น ส่วนองค์ประกอบในส่วนของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 35 วรรคสอง คือ ผู้กระทำที่ได้มาหรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงใดจากผู้ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 โดยได้มาหรือล่วงรู้เนื่องในการปฏิบัติราชการหรือการสอบสวน หรือการพิจารณาคดีแล้วเปิดเผยข้อเท็จจริงนั้น
ฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงให้ได้ความว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 หรือจำเลยได้มาหรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงจากผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 อันเป็นองค์ประกอบความผิดในมาตรา 35 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องจึงชอบแล้ว
ฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงให้ได้ความว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 หรือจำเลยได้มาหรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงจากผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 อันเป็นองค์ประกอบความผิดในมาตรา 35 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการกำหนดที่ทำการศาล: การใช้ดุลพินิจเพื่อความสะดวกของประชาชน
คำสั่งศาลจังหวัดที่กำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาลจังหวัด ณ ที่ว่าการอำเภอ ในเขตศาลจังหวัดมิใช่เป็นการจัดตั้งศาลขึ้นใหม่ต่างหากจากศาลจังหวัด เขตอำนาจศาลที่กำหนดในคำสั่งนี้ยังคงอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัด บรรดาคดีที่กำหนดในคำสั่งนั่งพิจารณา ณ ที่ว่าการอำเภอก็ยังคงอยู่ในอำนาจศาลจังหวัด คำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นการกำหนดสถานที่เปิดเป็นที่ตั้งศาลถาวรแห่งใหม่ แต่เป็นการกำหนดสถานที่เพื่อให้ประชาชนทราบว่าศาลจังหวัดมีที่ทำการอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอที่กำหนดเท่านั้นซึ่งเป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้นั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นหรือที่ใด ๆ ภายในเขตอำนาจของตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 35 คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งจัดตั้งศาลยุติธรรมขึ้นมาใหม่ มิใช่เรื่องที่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติและไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(9) จะให้คำนิยามคำว่าการนั่งพิจารณาไว้แต่เมื่อถ้อยคำในมาตรา 35 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี การแปลความบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องแปลความหมายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กล่าวคือย่อมรวมถึงการนั่งพิจารณาคดีอันได้แก่ การยื่นคำฟ้อง คำร้องคำขอต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการนั่งพิจารณาด้วยมิใช่แปลจำกัดเคร่งครัดแต่เฉพาะการนั่งพิจารณาคดีเป็นรายเรื่องไปเพราะมิฉะนั้นแล้วย่อมไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์แห่งกฎหมายและหาประโยชน์อันแท้จริงมิได้อีกทั้งการแปลความจำกัดเฉพาะอำนาจที่กำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นไม่รวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว ยิ่งก่อให้เกิดความไม่สะดวกและล่าช้ายิ่งขึ้น คำสั่งศาลจังหวัดดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการจำเป็นตามความหมายแห่งมาตรา 35 หาต้องเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 218 หรือความจำเป็นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 67 ทั้งคำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งให้เปิดทำการศาล จึงไม่ต้องกระทำในรูปพระราชกฤษฎีกาและไม่ใช่อำนาจของรัฐมนตรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและไม่นอกเหนืออำนาจของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 10การที่ศาลแปลความมาตรา 35 ตามวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการกำหนดสถานที่ทำการศาล: การใช้ดุลพินิจตามมาตรา 35 ว.ส. และการจัดตั้งศาลสาขาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งกำหนดให้มีการนั่งพิจารณาณ ที่ทำการศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาย่อมทำให้ทั้งศาลจังหวัดบุรีรัมย์กับศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)ต่างมีอำนาจชำระคดีนี้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลใดศาลหนึ่งดังกล่าวได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งเรื่องกำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาลเพราะเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและประหยัด แก่ประชาชนในพื้นที่ สำหรับคดีนี้เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้อง เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)และไม่ปรากฏว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจ ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ได้ การที่ ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)นั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดช่องทางเดินรถสำหรับรถบรรทุกและรถโดยสาร ตามมาตรา 35 พ.ร.บ.จราจรทางบก
ถนนพระราม 4 ระหว่างสี่แยกศาลาแดงกับสี่แยกวิทยุมีเกาะแบ่งทางเดินรถกลางถนน มีช่องเดินรถข้างละ 4 ช่องทาง และในแต่ละข้างมีเกาะแบ่งช่องเดินรถออกอีกเป็นข้างละ 2 ช่องทาง สำหรับ 2 ช่องทางเดินรถด้านซ้ายสุดได้จัดให้เฉพาะรถยนต์โดยสารประจำทางวิ่งในเวลาบังคับแต่นอกเวลาบังคับแล้วรถยนต์บรรทุกคนโดยสารเกินเจ็ดคน รถจักรยานยนต์ และรถบรรทุกอื่น ๆ ต้องวิ่งในช่องทางเดินรถด้านซ้ายสุดวันเกิดเหตุเป็นวันอาทิตย์ ไม่มีเวลาบังคับ จำเลยขับรถยนต์บรรทุกคนโดยสารเกินเจ็ดคน โดยจำเลยขับรถดังกล่าวในช่องทางเดินรถด้านขวามือ คือในช่องทางที่ 3 จึงเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด