คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 36

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6911/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจในการยื่นคำร้องขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจช่วง
การขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา ตามหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุไว้ชัดเจนให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแทนทั้งทางแพ่งทางอาญาและล้มละลายจนกว่าคดีถึงที่สุด และยังระบุให้ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงด้วย ดังนั้น ศ. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้องได้ และเมื่อ ศ. มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการยื่นเรื่องลงชื่อในเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืนอันหมายถึงการยื่นคำร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนต่อศาลนั้นเอง จึงถือได้ว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนทรัพย์สินของกลางที่ถูกยึดโดยมิได้ฟ้องคดี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าต้องมีการฟ้องคดีก่อน จึงจะขอคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
การที่เจ้าของแท้จริงจะร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 โดยอ้างว่าตนเองมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดนั้น จะต้องเป็นกรณีที่ได้มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้วเท่านั้นเมื่อมิได้มีการฟ้องคดีต่อศาล ผู้ร้องจึงจะมาร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้คืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้องไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์สินของผู้เสียหายในคดีอาญา ต้องมีการฟ้องคดีต่อศาลก่อน จึงจะอ้างมาตรา 36 เพื่อขอคืนทรัพย์สินได้
การที่เจ้าของแท้จริงจะร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 โดยอ้างว่าตนเองมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดนั้น จะต้องเป็นกรณีที่ได้มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้วเท่านั้นเมื่อมิได้มีการฟ้องคดีต่อศาล ผู้ร้องจึงจะมาร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้คืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้องไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วฟ้องใหม่: มาตรา 36 ว.ส.ก. การถอนฟ้องมีผลทำให้คดีเสร็จสิ้น
โจทก์เคยนำเช็คฉบับพิพาทมาฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา แล้วขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าฟ้องบกพร่องขอถอนเพื่อจะนำไปดำเนินคดีใหม่ เมื่อศาลอนุญาตก็ต้องถือว่าเป็นการถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปทั้งเรื่อง โจทก์จะนำเช็คฉบับพิพาทมาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่อีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาซ้ำหลังถอนฟ้องคดีเดิม: การกระทำต่างกรรมต่างวาระไม่ขัดมาตรา 36
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานยักยอกเงินของโจทก์มาครั้งหนึ่งแต่ถอนฟ้องไป แล้วโจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเงินของโจทก์ ซึ่งเป็นการยักยอกเงินคนละคราวและคนละรายกับที่ฟ้องในคดีก่อน แม้จะเป็นการกระทำในขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานสวัสดิการอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนแต่เป็นการกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกับที่จำเลยถูกฟ้องในคดีก่อนโจทก์จึงฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: แม้คำฟ้องต่างกัน หากมูลเหตุเดิม ศาลสั่งห้ามฟ้องซ้ำตามมาตรา 36
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามมาครั้งหนึ่งแล้วอันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไปร้องทุกข์ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกห้องแถวของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันควบคุมตัวโจทก์ไว้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไป โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยทั้งสามในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตราก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องในคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือข้อหาที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3325/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลางพ้นกรอบเวลา 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 นับจากวันคำพิพากษาถึงที่สุด
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้กับผู้ร้องในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ จำเลยให้การรับสารภาพ ผู้ร้องให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 4 กันยายน 2524 ให้โจทก์แยกฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ และในวันเดียวกัน พิพากษา ลงโทษจำเลย ริบไม้และรถยนต์บรรทุกของกลาง โจทก์ฟ้อง ผู้ร้องเป็นคดีใหม่เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2524ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ยกฟ้องโจทก์เมื่อวันที่28 กุมภาพันธ์ 2526 คำว่าวันคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 หมายความถึงคำพิพากษา ในคดีที่ ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์ เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาและมีคำสั่งให้ริบทรัพย์เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2524โดยไม่มีการอุทธรณ์ คำพิพากษาจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันที่22 กันยายน 2524 ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลางเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2526 จึงเป็นการยื่นภายหลังวันที่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี คำร้องจึงต้องห้ามตาม มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของผู้อื่นที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ศาลมีสิทธิคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
แม้พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 29 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มาตรา 47 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2515 ข้อ 18 จะบัญญัติไว้ทำนองเดียวกันว่าบรรดาอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำผิดฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษฯ หรือไม่ก็ตามก็มิได้บัญญัติมีข้อความระบุถึง กรณีที่เจ้าของทรัพย์สินมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จะตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าว มีความมุ่งหมายให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดไม่ได้กรณีต้องตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 คือผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงมีสิทธิร้องขออาวุธปืนของกลางคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์สินที่ถูกริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 เจ้าของต้องแสดงตนและยืนยันว่าไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติการประมงและให้ริบของกลางที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าเรือแปะกับเครื่องเรือพาดท้ายของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบนั้นเป็นของผู้ร้อง ขอให้สั่งคืนของกลางดังกล่าวแก่ผู้ร้อง โดยผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างในคำร้องว่า ผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด คำร้องเช่นนี้หาชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำ ห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 แม้ยังไม่ได้ไต่สวนมูลฟ้อง
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลในข้อหาเดียวกัน บทมาตราที่ขอให้ลงโทษก็เช่นเดียวกัน โดยอาศัยหนังสือของจำเลยฉบับเดียวกันเป็นมูลฟ้องร้อง และโจทก์ได้ถอนฟ้องคดีนั้นไปจากศาลแล้ว โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยอีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36
หนังสือที่จำเลยกล่าวหาโจทก์ฉบับเดียว แต่บรรยายการกระทำของโจทก์เป็น 3 ข้อ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพียงครั้งเดียวและกรรมเดียว มิใช่ต่างกรรมต่างวาระ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเพียงครั้งเดียว จะแบ่งฟ้องเป็นข้อเป็นตอนไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 908/2496)
แม้จะเป็นการถอนฟ้องที่ยังไม่ได้มีการไต่สวนมูลฟ้องก็ตาม ก็อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะนำมาฟ้องใหม่อีกไม่ได้ เพราะถือว่าได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลแล้ว
of 2