คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 41

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนและการห้ามใช้เครื่องหมายการค้าเมื่อใช้สิทธิมาตรา 41(1)
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NACO ดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์ขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย อันเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทแม้นายทะเบียนจะวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์โดยเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนแล้วและโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่อง-หมายการค้าตามมาตรา 16 วรรคสอง ก็ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีโดยอาศัยสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41 (1) ดังกล่าว ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับที่นายทะเบียนวินิจฉัย โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายประตูหน้าต่าง หน้าต่างบานเกล็ด-เหล็กและอะลูมิเนียมโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า NACO มาก่อนจำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NACO ถึง 20 ปีเศษ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย เมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามไม่ให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่อง-หมายการค้านั้นอันเป็นการฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ทั้งนี้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 29 วรรคแรก แห่งพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า มาตรา 41
ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ (1) ว่า โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้หรือไม่ และในข้อ (4) ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรไทยคำว่า "เบต้าเดอร์มครีม"และอักษรโรมันคำว่า BETADERMCREAM หรือไม่ เมื่อพิจารณาประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวประกอบกับคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วย่อมแปลได้ว่าโจทก์มุ่งประสงค์จะอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย อันเป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41 มิใช่มาตรา 29 ศาลจึงวินิจฉัยได้ว่า โจทก์หรือจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิพาทระหว่างผู้ใช้ก่อนและผู้มีสิทธิดีกว่าตามมาตรา 41 พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์สามารถแสดงได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลย เป็นกรณีพิพาทกันว่า ระหว่างโจทก์จำเลยใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตน กรณีต้องด้วยมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรานี้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 29 วรรคต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดและการพิจารณาโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 14 และ 41
จำเลยต้องโทษฐานลักทรัพย์ศาลจำคุก 6 เดือน ต่อมาจำเลยต้องโทษฐานทำร้ายร่างกาย ต่อสู้เจ้าพนักงานและเมาสุรา ศาลรวมกะทงลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ฐานทำร้ายร่างกายนั้นศาลวางโทษจำคุก 4 เดือน ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จึงนำมากักกันจำเลยไม่ได้คงเหลือโทษฐานลักทรัพย์ครั้งเดียว ที่เป็นโทษฐานที่ระบุไว้ในมาตรา 41 ประมวลกฎหมายอาญา และมีกำหนดโทษจำคุกถึง 6 เดือน ศาลจึงมีอำนาจตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 14 ที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร ศาลจึงอาจสั่งให้ยกเลิกการกักกันให้จำเลยได้