พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4628/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายจากเงินบำเหน็จออกจากงานตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2524 นายจ้างของโจทก์จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานให้โจทก์เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2524 เป็นเงิน 94,140 บาทครั้นวันที่ 5 มกราคม 2525 จ่ายเงินบำเหน็จเพราะโจทก์ออกจากงานให้อีก 545,358.25 บาท ไม่ปรากฏว่านอกจากนี้นายจ้างยังจ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนอันมีลักษณะเป็นเงินบำนาญอีก เงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ทั้งหมดดังกล่าวเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์เพียงครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานชอบที่จะหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากเงินที่ได้รับเมื่อออกจากงาน และการหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม
เงินได้ที่โจทก์ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานนั้นมีวิธีการคำนวณจ่ายตามระเบียบของบริษัทผู้เป็นนายจ้าง แตกต่างจากวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ การคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสามจึงต้องเป็นไปตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) เรื่องกำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานโดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานไม่ว่าจะเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2)
คำว่าเงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้าย และเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ย ของ 12 เดือน สุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมดมิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรเพียงอย่างเดียว
เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานไม่ว่าจะเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2)
คำว่าเงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้าย และเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ย ของ 12 เดือน สุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมดมิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรเพียงอย่างเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากเงินที่ได้รับเมื่อออกจากงาน และการหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม
เงินได้ที่โจทก์ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานนั้นมีวิธีการคำนวณจ่ายตามระเบียบของบริษัทผู้เป็นนายจ้าง แตกต่างจากวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ การคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสามจึงต้องเป็นไปตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) เรื่องกำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานโดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานไม่ว่าจะเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) คำว่าเงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้าย และเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ย ของ 12 เดือน สุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมดมิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรเพียงอย่างเดียว.