พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษคดียาเสพติด: การติดยาเสพติดเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้มาตรา 49 ประมวลกฎหมายอาญา
แม้จำเลยจะเคยถูกจับกุมในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษมาก่อนแต่ไม่ปรากฏว่าในขณะกระทำผิดคดีนี้ จำเลยเป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษจึงไม่อาจนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 49มาใช้บังคับแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีตามมาตรา 49 แม้มีการไต่สวนตามมาตรา 19 แล้ว ก็ชอบด้วยกฎหมาย หากพบว่าผู้เสียภาษียื่นรายการต่ำกว่าที่ควร
แม้เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนตามป.รัษฎากร มาตรา 19 และโจทก์ได้ให้ถ้อยคำกับแสดงหลักฐาน จนเจ้าพนักงานประเมินทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์แล้วแต่เจ้าพนักงานประเมินกลับดำเนินการตาม มาตรา 49 ในการประเมินภาษีจากโจทก์ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การประเมินที่ชอบแล้วกลายเป็นการประเมินที่ไม่ชอบขึ้นได้ เพราะมาตรา 19 มิได้บัญญัติห้ามไว้ว่าเมื่อออกหมายเรียกไต่สวนตามมาตรา 19 แล้ว ห้ามมิให้ดำเนินการประเมินตามมาตรา 49 เหตุที่เจ้าพนักงานประเมินจะขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อให้ตนมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 49นั้น นอกจากในกรณีที่ผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้แล้วในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเห็นว่า ผู้มีเงินได้ยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ก็ขออนุมัติได้ด้วย ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินพิจารณา เห็นว่า ผู้มีเงินได้ยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่นนั้นเจ้าพนักงานประเมินจะได้ข้อเท็จจริงดังกล่าวมาจากผู้มีเงินได้หรือจากบุคคลภายนอกก็นำมาเป็นเหตุในการขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิของผู้มีเงินได้ขึ้นได้ทั้งสิ้นป.รัษฎากร มาตรา 49 มิได้มีข้อจำกัดไว้ว่าจะต้องได้ข้อเท็จจริงมาจากบุคคลภายนอกเท่านั้น หรือจะนำข้อเท็จจริงที่ได้จากผู้มีเงินได้มาเป็นเหตุในการขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรในการกำหนดเงินได้สุทธิขึ้นมาไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีตามมาตรา 49 ต้องตรวจสอบรายได้-รายจ่ายให้ทราบจริงก่อน มิใช่แค่ผู้มีเงินได้ไม่ยื่นหรือยื่นต่ำ
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์ โดยวิธีการตามมาตรา 49แห่งประมวลรัษฎากรได้ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด หาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ในมาตรา 49 โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ ดังจะเห็นได้จากตัวบทมาตรา 49 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งหมายความว่าเจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีการปกติตามอำนาจในมาตรา 19และ 23 จนไม่อาจทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้รายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้วจึงชอบที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 49 ได้
เจ้าพนักงานประเมินนำข้อมูลที่ได้จากโจทก์และข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบของตนมาคิดคำนวณหาเงินได้สุทธิของโจทก์ ตามสูตรการหาเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ที่จำเลยที่ 1ใช้อยู่ แล้วคำนวณหาจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โดยไม่ปรากฏในรายงานที่จัดทำเสนอขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์เลยว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนมีทางที่จะทราบรายได้รายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่ เพราะเหตุใด แม้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ปรากฏเพียงว่ามีการนำหลักฐานที่โจทก์นำไปแสดงเพิ่มเติมมาพิจารณาปรับปรุงรายการต่าง ๆ เพื่อให้ถูกต้องตามสูตรการหาเงินได้สุทธิของโจทก์เท่านั้น แสดงว่าเจ้าพนักงานประเมินประสงค์ใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์มาแต่แรก เนื่องจากเห็นว่าโจทก์แสดงจำนวนเงินปันผลในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่ำและทำการประเมินภาษีโจทก์โดยวิธีการตามมาตรา 49 โดยมิได้คำนึงว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนยังสามารถทราบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่
การที่โจทก์มิได้แจ้งรายได้จากเงินปันผลที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว และมิได้แจ้งรายได้จากการขายหุ้นที่ไม่ต้องนำมาคิดคำนวณเพื่อเสียภาษี ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยทั้งไม่ปรากฏว่ามีกรณีที่โจทก์ไม่นำหลักฐานที่เจ้าพนักงานประเมินต้องการมาแสดงหรือหลีกเลี่ยงไม่ยอมตอบคำถามหรือข้อสงสัยของเจ้าพนักงานประเมิน กลับปรากฏว่าโจทก์ได้จัดทำบัญชีแหล่งที่มาของเงินได้โดยละเอียดมอบให้เจ้าพนักงานประเมินพร้อมหลักฐานที่แสดงถึงที่มาของเงินได้และไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามนัดถึง 6 ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้มีเจตนาปกปิดแหล่งที่มาของเงินได้และให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบไต่สวนเป็นอย่างดี กรณีของโจทก์เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินยังสามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2534)
เจ้าพนักงานประเมินนำข้อมูลที่ได้จากโจทก์และข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบของตนมาคิดคำนวณหาเงินได้สุทธิของโจทก์ ตามสูตรการหาเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ที่จำเลยที่ 1ใช้อยู่ แล้วคำนวณหาจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โดยไม่ปรากฏในรายงานที่จัดทำเสนอขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์เลยว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนมีทางที่จะทราบรายได้รายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่ เพราะเหตุใด แม้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ปรากฏเพียงว่ามีการนำหลักฐานที่โจทก์นำไปแสดงเพิ่มเติมมาพิจารณาปรับปรุงรายการต่าง ๆ เพื่อให้ถูกต้องตามสูตรการหาเงินได้สุทธิของโจทก์เท่านั้น แสดงว่าเจ้าพนักงานประเมินประสงค์ใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์มาแต่แรก เนื่องจากเห็นว่าโจทก์แสดงจำนวนเงินปันผลในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่ำและทำการประเมินภาษีโจทก์โดยวิธีการตามมาตรา 49 โดยมิได้คำนึงว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนยังสามารถทราบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่
การที่โจทก์มิได้แจ้งรายได้จากเงินปันผลที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว และมิได้แจ้งรายได้จากการขายหุ้นที่ไม่ต้องนำมาคิดคำนวณเพื่อเสียภาษี ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยทั้งไม่ปรากฏว่ามีกรณีที่โจทก์ไม่นำหลักฐานที่เจ้าพนักงานประเมินต้องการมาแสดงหรือหลีกเลี่ยงไม่ยอมตอบคำถามหรือข้อสงสัยของเจ้าพนักงานประเมิน กลับปรากฏว่าโจทก์ได้จัดทำบัญชีแหล่งที่มาของเงินได้โดยละเอียดมอบให้เจ้าพนักงานประเมินพร้อมหลักฐานที่แสดงถึงที่มาของเงินได้และไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามนัดถึง 6 ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้มีเจตนาปกปิดแหล่งที่มาของเงินได้และให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบไต่สวนเป็นอย่างดี กรณีของโจทก์เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินยังสามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2534)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีตามมาตรา 49 ต้องตรวจสอบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงก่อน มิใช่แค่ผู้เสียภาษีไม่ยื่นหรือยื่นต่ำ
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์ผู้มีหน้าที่เสียภาษี โดยวิธีการตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากรได้ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด หาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ใน มาตรา 49 โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ดัง จะเห็นได้จากมาตรา 49 ที่ให้นำมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งหมายความว่าเจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีการปกติตามอำนาจในมาตรา 19 และ 23 จนไม่อาจจะทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้ว จึงชอบที่จะใช้อำนาจตาม มาตรา 49 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีตามมาตรา 49 ต้องมีข้อมูลเพียงพอแสดงว่าไม่สามารถทราบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์ โดยวิธีการตามมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรได้ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดหาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ในมาตรา 49โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ ดังจะเห็นได้จากตัวบทมาตรา 49 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งหมายความว่า เจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีการปกติตามอำนาจในมาตรา 19 และ 23 จนไม่อาจทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้รายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้วจึงชอบที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 49 ได้ เจ้าพนักงานประเมินนำข้อมูลที่ได้จากโจทก์และข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบของตนมาคิดคำนวณหาเงินได้สุทธิของโจทก์ ตามสูตรการหาเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ที่จำเลยที่ 1 ใช้อยู่ แล้วคำนวณหาจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โดยไม่ปรากฏในรายงานที่จัดทำเสนอขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์เลยว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนมีทางที่จะทราบรายได้รายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่ เพราะเหตุใด แม้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ปรากฏเพียงว่ามีการนำหลักฐานที่โจทก์นำไปแสดงเพิ่มเติมมาพิจารณาปรับปรุงรายการต่าง ๆ เพื่อให้ถูกต้องตามสูตรการหาเงินได้สุทธิของโจทก์เท่านั้น แสดงว่าเจ้าพนักงานประเมินประสงค์ใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์มาแต่แรกเนื่องจากเห็นว่าโจทก์แสดงจำนวนเงินปันผลในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่ำและทำการประเมินภาษีโจทก์โดยวิธีการตามมาตรา 49โดยมิได้คำนึงว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนยังสามารถทราบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์มิได้แจ้งรายได้จากเงินปันผลที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว และมิแจ้งรายได้จากการขายหุ้นที่ไม่ต้องนำมาคิดคำนวณเพื่อเสียภาษี ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยทั้งไม่ปรากฏว่ามีกรณีที่โจทก์ไม่นำหลักฐานที่เจ้าพนักงานประเมินต้องการมาแสดงหรือหลีกเลี่ยงไม่ยอมตอบคำถามหรือข้อสงสัยของเจ้าพนักงานประเมิน กลับปรากฏว่าโจทก์ได้จัดทำบัญชีแหล่งที่มาของเงินได้โดยละเอียดมอบให้เจ้าพนักงานประเมินพร้อมหลักฐานที่แสดงถึงที่มาของเงินได้และไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามนัดถึง6 ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้มีเจตนาปกปิดแหล่งที่มาของเงินได้และให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบไต่สวนเป็นอย่างดี กรณีของโจทก์เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินยังสามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจคุ้มครองลูกจ้างตามมาตรา 49 แม้มีการสอบสวนแล้ว
ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะมีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการที่จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง แม้ว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับแล้วก็ตาม มาตรา 49 มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อกฎหมายมีวัตถุที่ประสงค์ในการให้ความคุ้มครอง ก็ย่อมให้สิทธิที่จะฟ้องขอรับความคุ้มครองอยู่ในตัว
การที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์เห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ก็ย่อมถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
ฟ้องโจทก์แปลได้ว่า โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 49 ขณะนี้ ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าอายุความในกรณีเช่นนี้มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
เมื่อจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลักทรัพย์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างนั้น หากจะฟ้องขอให้บังคับในทางแพ่งด้วย ก็ได้แต่ขอให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์ในฐานที่จำเลยถูกโจทก์กระทำละเมิดเท่านั้น ใช่ว่าจะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของจำเลยได้หรือไม่นั้นจึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
การที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์เห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ก็ย่อมถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
ฟ้องโจทก์แปลได้ว่า โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 49 ขณะนี้ ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าอายุความในกรณีเช่นนี้มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
เมื่อจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลักทรัพย์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างนั้น หากจะฟ้องขอให้บังคับในทางแพ่งด้วย ก็ได้แต่ขอให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์ในฐานที่จำเลยถูกโจทก์กระทำละเมิดเท่านั้น ใช่ว่าจะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของจำเลยได้หรือไม่นั้นจึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา