คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 50

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลเท็จในทะเบียนราษฎร: ความผิดตามมาตรา 50 และการพิจารณาโทษที่เหมาะสม
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 50 วรรคสองที่ระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 50 วรรคหนึ่ง มุ่งหมายเฉพาะผู้ซึ่งกระทำผิดตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีสัญชาติไทยเท่านั้นเมื่อจำเลยผู้ซึ่งกระทำความผิดเป็นผู้มีสัญชาติไทยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามมาตรา 50 วรรคสองจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขบทความผิดให้ถูกต้อง แต่ศาลล่างวางโทษมาเหมาะสมแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่แก้โทษให้เบาลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7184/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลในการกำหนดโทษปรับตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 50 โทษปรับเป็นโทษตายตัว
ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 50 ผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับสิบห้าเท่าของ ค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาทเป็นการกำหนดโทษปรับไว้ตายตัว ศาลจึงกำหนดโทษปรับให้น้อยกว่าสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการร้องต่อศาลแรงงานตามมาตรา 50 วรรคสอง ต้องเป็นกรณีเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการลูกจ้างเท่านั้น
กรณีที่สหภาพแรงงานจะมีสิทธิร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายจ้างจะทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือเดือดร้อนเกินสมควรหรือไม่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 วรรคสองนั้น จะต้องเป็นกรณีเกี่ยวกับการประชุมหารือระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างตามมาตรา 50 วรรคแรก เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องของสหภาพแรงงานเป็นกรณีที่กล่าวหาว่านายจ้างแกล้งกล่าวหาลูกจ้างในข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริงโดยไม่เกี่ยวกับการประชุมแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีที่จะร้องต่อศาลแรงงานตามมาตรา 50 วรรคสอง และจะอาศัยมาตรา 50 วรรคสองในฐานะบทบัญญัติใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะนำมาปรับแก่คดีก็ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลจดบันทึก แม้โจทก์ไม่ลงชื่อ ก็มีผลผูกพันตามกฎหมาย หากศาลจดเหตุผลที่โจทก์ไม่ลงชื่อไว้
ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาไว้ โจทก์ไม่ยอมลงชื่อรับรู้ศาลจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ลงไว้ว่าโจทก์ไม่ยอมเซ็นชื่อเป็นการชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 50 แล้ว