พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนทางประกันสังคมไม่ระงับ แม้ยื่นคำขอหลังหนึ่งปี มาตรา 56 วรรคหนึ่งเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัด
แม้ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนและประสงค์จะขอรับประโยชน์ทดแทนให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน แต่ก็มิได้บัญญัติว่าหากไม่ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในเวลาดังกล่าวจะมีผลทำให้สิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนระงับสิ้นไป ดังนั้นระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในหนึ่งปีจึงเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนใช้สิทธิโดยเร็วเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิ ซึ่งต่างจากมาตรา 56 วรรคสอง อันเป็นกรณีที่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน และสำนักงานประกันสังคมได้แจ้งให้บุคคลดังกล่าวมารับประโยชน์ทดแทนที่เป็นตัวเงินแล้ว แต่บุคคลดังกล่าวไม่มารับภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ประโยชน์ทดแทนที่เป็นตัวเงินนั้นจึงจะตกเป็นของกองทุนประกันสังคม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8656/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษจำคุกสำหรับผู้เคยต้องโทษศาลทหาร ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ได้ยกเว้น
ป.อ. มาตรา 56 มิได้ยกเว้นในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลทหาร เมื่อจำเลยเคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลทหารมาก่อน จึงไม่อาจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7349/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษจำคุกตาม ป.อ.มาตรา 56 พิจารณาจากโทษจำคุกในคดีก่อน ไม่ใช่ประเภทความผิด
บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 56 มีความหมายว่า ผู้ที่กระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกและศาลลงโทษจำคุกไม่เกินสามปี ศาลจะรอการลงโทษได้ก็ต่อเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อนคดีที่ศาลจะมีคำพิพากษา เว้นแต่เป็นโทษจำคุกสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ แสดงว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่คำนึงถึงการลงโทษจำคุกในคดีก่อนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้กระทำความผิดที่เคยได้รับโทษจำคุกมาแล้วและหวนกลับมากระทำความผิดอีกเข็ดหลาบไม่กล้ากระทำความผิดอีกอันเป็นการป้องปรามผู้กระทำความผิด และบทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่าความผิดที่ศาลจะลงโทษในคดีหลังต้องเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยเจตนา จึงไม่อาจตีความได้ว่าการกระทำความผิดในคดีหลังต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนจำเลยได้รับโทษจำคุกในความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยโดยให้เหตุผลว่ากรณีของจำเลยไม่อาจรอการลงโทษได้ตาม ป.อ. มาตรา 56 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7349/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56: การพิจารณารอการลงโทษจำคุกสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำ โดยไม่จำกัดประเภทความผิด
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มีเจตนารมณ์ที่คำนึงถึงการลงโทษจำคุกในคดีก่อนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้กระทำความผิดที่เคยได้รับโทษจำคุกมาแล้วและหวนกลับมากระทำความผิดอีกเข็ดหลาบไม่กล้ากระทำความผิดอีกอันเป็นการป้องปรามผู้กระทำความผิด และบทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่าความผิดที่ศาลจะลงโทษในคดีหลังต้องเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยเจตนา จึงไม่อาจตีความได้ว่าการกระทำความผิดในคดีหลังต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาเท่านั้น แม้การกระทำความผิดในคดีหลังจะเป็นการกระทำความผิดโดยประมาท ศาลจะไม่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7111/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 กรณีโทษจำคุกเกินสองปี
ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษที่ลงหลังจากลดโทษแล้ว จำคุก 2 ปี 3 เดือนกรณีจึงไม่อาจรอการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 56 ต้องไม่เคยมีประวัติโทษจำคุก
ตาม ป.อ.มาตรา 56 ศาลจะรอการลงโทษได้ต่อเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งหมายความว่าไม่ได้รับโทษจำคุกมาก่อนคดีที่ศาลกำลังจะพิพากษาโดยไม่จำต้องเป็นการกระทำความผิดมาก่อนคดีเรื่องหลัง
ก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาในคดีนี้ จำเลยได้กระทำความผิดและมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย กรณีจึงไม่อาจรอการลงโทษให้แก่จำเลยในคดีนี้ได้
ก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาในคดีนี้ จำเลยได้กระทำความผิดและมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย กรณีจึงไม่อาจรอการลงโทษให้แก่จำเลยในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดกิจกรรมบริการสังคมตาม ป.อ.มาตรา 56(1) ต้องคำนึงความเห็นผู้กระทำความผิด และกำหนดเวลาที่ชัดเจน
ตาม ป.อ.มาตรา 56 (1) การจัดให้ผู้กระทำความผิดกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์นั้น กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานและผู้กระทำความผิดเห็นสมควร หาใช่ตามที่เจ้าพนักงานเห็นสมควรฝ่ายเดียวไม่ และสมควรกำหนดเวลากระทำกิจกรรมให้ชัดเจนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยเคยต้องโทษคดีลักษณะเดียวกัน ขัดต่อการรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนในความผิดลักษณะเดียวกันซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา56ที่ศาลจะใช้ดุลพินิจให้รอการลงโทษแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบกพร่องความสามารถในการฟ้องคดี ไม่ใช่การแก้ไขคำฟ้อง อยู่ภายใต้มาตรา 56 ป.วิ.พ.
การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถไม่ใช่แก้ไขคำฟ้องจึงไม่อยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179,180 แต่อยู่ภายใต้บังคับของ มาตรา 56 คือศาล อาจสั่งให้แก้ไขเสียให้บริบูรณ์ก่อนมีคำพิพากษา สามีโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ความยินยอม และให้สัตยาบันการที่โจทก์ ได้ดำเนินคดีมาแต่ต้น โดยยื่นก่อนเริ่มลงมือสืบพยาน ถือว่า เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษตามมาตรา 56 ต้องมีกำหนดเวลา ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดระยะเวลาได้
การรอการลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ศาลจะต้องกำหนดระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ แต่ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา
เมื่อโจทก์ฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกากำหนดเวลารอการลงโทษไปด้วย ศาลฎีกาย่อมพิพากษาในข้อนี้ได้
เมื่อโจทก์ฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกากำหนดเวลารอการลงโทษไปด้วย ศาลฎีกาย่อมพิพากษาในข้อนี้ได้