คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 57

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 57(2)
ผู้ที่จะขอเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(2) จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ซึ่งหมายความว่าผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนโดยจะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีโดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัด เป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น มีกรรมการเป็นผู้จัดการแทน หากโจทก์ชนะคดี ต้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลย ผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีก็คือจำเลยโดยกรรมการของจำเลยผู้ถือหุ้นหาได้มีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อผลของคำพิพากษาที่โจทก์ขอบังคับด้วยไม่ สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยยังคงมีอยู่โดยสมบูรณ์เช่นเดิม ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามความหมายของมาตรา 57 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6445/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดตามมาตรา 57(1) ต้องมีคำขอบังคับชัดเจนเสมือนฟ้องคดีใหม่ มิฉะนั้นศาลไม่รับพิจารณา
คำร้องสอดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) มีลักษณะเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) จึงต้องแสดง โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 วรรคสองและเมื่อผู้ร้องสอดได้เข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1)แล้วย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดี เรื่องใหม่ตามมาตรา 58 เมื่อคำร้องสอดของผู้ร้องไม่มี คำขอบังคับ จึงไม่อาจทราบได้ว่าผู้ร้องสอดจะขอเข้ามาเป็นโจทก์ หรือจำเลย คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเพียงแต่แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาเท่านั้น แต่ไม่มีคำขอบังคับโดยชัดแจ้ง หรือมีคำขอบังคับอยู่ในตัวว่าอย่างไร จึงเป็นคำร้องสอด ที่ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของจำเลยร่วมที่ถูกเรียกเข้ามาในคดีตามมาตรา 57(3)(ก) และสิทธิในการต่อสู้คดี
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้หมายเรียกบริษัท อ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(3)(ก)เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตบริษัท อ.จึงเข้ามาในคดีโดยเป็นคู่ความฝ่ายที่สามซึ่งตามมาตรา58วรรคหนึ่งบัญญัติให้ผู้ร้องสอดที่เข้ามาตามมาตราดังกล่าวมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่บริษัท อ.จำเลยร่วมจึงให้การต่อสู้คดีได้ทั้งโจทก์และจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา177วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังนั้นจำเลยร่วมจึงมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้ในเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5383/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1) ต้องกระทำในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา หากศาลยกคำร้องไปแล้ว ไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความได้
ตามคำร้องเป็นเรื่องผู้ร้องร่วมทั้งสองประสงค์จะเข้ามาเป็นคู่ความ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งให้บุคคลภายนอกร้องขอเข้า เป็นคู่ความได้โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาเมื่อปรากฏว่าในวันที่ผู้ร้องร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความนั้น ศาลชั้นต้นได้สั่งยกคำร้องของผู้ร้องไปแล้วจึงไม่มีคดี ของผู้ร้องที่ผู้ร้องร่วมทั้งสองจะเข้ามาเป็นคู่ความได้อยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นในขณะที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอ ดังนั้นศาลจึงชอบที่จะสั่งไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องร่วมทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดคดี – การเข้าเป็นจำเลยเพื่อรักษาสิทธิ – มาตรา 57(1) vs 57(2) และข้อห้ามตามมาตรา 58
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง จึงขอเข้าเป็นจำเลยเพื่อรักษาสงวนสิทธิของผู้ร้องโดยจะยื่นคำให้การภายใน 8 วัน นับแต่ศาลสั่งอนุญาต ดังนี้เป็นเรื่องที่ผู้ร้องตั้งข้อพิพาทเข้ามาเพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์ เพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองสิทธิของตน เป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 58 ที่จะใช้สิทธิในทางขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจำเลยเดิม ดังนั้น แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิร้องสอดได้เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานศาลย่อมรับคำร้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาคดีอาญาหลังจำเลยกระทำผิดเงื่อนไขคุมประพฤติ: อำนาจศาลตาม ป.อ. มาตรา 57 และ 58
การที่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีหลังทราบถึงข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยที่ 4 ทำผิดเงื่อนไขคุมประพฤติในระหว่างที่ศาลรอการกำหนดโทษไว้ในคดีแรก แต่พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีทั้งปวงเห็นควรให้รอการกำหนดโทษในคดีหลังไว้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นในคดีหลังใช้ดุลพินิจไม่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ก่อนที่จะทำคำพิพากษาคดีหลังตาม ป.อ. มาตรา 58 ที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจรอการกำหนดโทษจำเลยที่ 4 ได้อีก ส่วนการที่ศาลชั้นต้นทราบจากรายงานของเจ้าพนักงานคุมประพฤติว่า จำเลยที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมความประพฤติของจำเลยที่ 4 แล้วแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาในคดีแรกจากรอการกำหนดโทษเป็นกำหนดโทษจำคุกจำเลยที่ 4 เป็นการใช้ดุลพินิจหลังจากศาลชั้นต้นในคดีแรกทำคำพิพากษาแล้วโดยอาศัยอำนาจตาม ป.อ. มาตรา 57 ซึ่งเป็นคนละกรณีกับมาตรา 58 จึงมิใช่เป็นการใช้อำนาจซ้ำซ้อนตามที่จำเลยที่ 4 ฎีกา