พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 65 ทั้งสองวรรค
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 มุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดสำเร็จตามบทมาตราที่ระบุไว้ทั้งสองวรรคไปในคราวเดียวกัน คือ นอกจากผู้กระทำความผิดสำเร็จจะต้องรับโทษทั้งจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แล้ว ยังจะต้องรับโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองพร้อมกันไปในคราวเดียวกันด้วย การพิจารณานับอายุความสำหรับความผิดตามมาตรา 65 นี้ จึงต้องใช้ระวางโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาใช่นับอายุความในแต่ละวรรคแยกต่างหากจากกัน ส่วนโทษปรับตามมาตรา 65 วรรคสอง คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจะมีอำนาจเปรียบเทียบตามมาตรา 74 หรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวกับการนับอายุความ เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษขั้นสูงให้จำคุกไม่เกิน3 เดือน จึงมีอายุความฟ้องร้อง 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2540ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามเริ่มกระทำความผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรมคลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32 วรรคสาม จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69 แล้ว
จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การที่ศาลล่างพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
จำเลยเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรมคลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32 วรรคสาม จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69 แล้ว
จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การที่ศาลล่างพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและสอง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 มุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดสำเร็จตามบทมาตราที่ระบุไว้ทั้งสองวรรคไปในคราวเดียวกันกล่าวคือนอกจากผู้กระทำความผิดสำเร็จจะต้องรับโทษทั้งจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งแล้ว ยังจะต้องรับโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองพร้อมกันไปในคราวเดียวกันด้วย การนับอายุความสำหรับความผิดตามมาตรา 65 จึงต้องใช้ระวางโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ หาใช่นับอายุความในแต่ละวรรคแยกต่างหากจากกันไม่ ส่วนโทษปรับตามมาตรา 65 วรรคสอง คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจะมีอำนาจเปรียบเทียบตามมาตรา 74 หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับการนับอายุความ เมื่อมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษขั้นสูงให้จำคุกไม่เกิน3 เดือน จึงมีอายุความฟ้องร้อง 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2540ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามเริ่มกระทำความผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสามเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารดังกล่าวซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม บัญญัติไว้ จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคารดังกล่าว ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69
จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยทั้งสามเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารดังกล่าวซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม บัญญัติไว้ จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคารดังกล่าว ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69
จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากอาการป่วยทางจิต: ลดโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง
จำเลยป่วยด้วยโรคซึมเศร้าเกิดความเครียดในการประกอบอาชีพและรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าจนมีความกร้าวร้าวสะสมมากขึ้น เมื่อพบโจทก์ร่วมกำลังขับเรือเร่ขายสินค้าเช่นเดียวกับจำเลยจึงกระตุ้นจิตใจให้มีความกร้าวร้าวยิ่งขึ้นจนทำร้ายโจทก์ร่วมอย่างรุนแรง แต่จำเลยยังขับเรือหลบหนีกลับบ้านได้ แสดงว่าสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือสามารถบังคับตนเองได้บ้างต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญา: การลักทรัพย์ในสภาวะที่สามารถรู้ผิดชอบได้ และการลดโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง
ก่อนกระทำผิดจำเลยให้แพทย์ตรวจร่างกาย 2 ครั้ง เนื่องจากจำเลยปวดศีรษะ สับสน และนอนไม่หลับ ถ้ามีการดื่มสุรามากหรือเกิดความเครียดมากอาจไม่รู้สึกตัวประมาณ 12-13 ชั่วโมง ในคืนเกิดเหตุจำเลยได้ดื่มสุราแล้วจำเลยได้ใช้มีดงัดสายยูประตูห้องที่เกิดเหตุเข้าไปลักทรัพย์แล้วนำทรัพย์ที่ลักไปเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้าที่บ้านพักจำเลย วันรุ่งขึ้นผู้บังคับบัญชาจำเลยสอบถามเรื่องคนร้ายลักทรัพย์ จำเลยรับสารภาพและคืนของกลางทั้งหมดชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพและนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ถ้าจำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบ คงไม่อาจให้รายละเอียดในการกระทำของตนได้ พฤติการณ์ในคดีรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดในขณะที่สามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดในขณะจิตบกพร่องหรือเป็นโรคจิต และขอบเขตความรับผิดทางอาญาตามมาตรา 65 วรรคสอง
จำเลยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทเรื้อรัง วันเกิดเหตุโจทก์ร่วมนอนเล่นอยู่บนบ้าน จำเลยไปที่ใต้ถุนบ้านโจทก์ร่วมและพูดคนเดียวโดยไม่มีใครรู้สาเหตุว่า คนแก่อะไรพูดไม่เป็นคำพูด โจทก์ร่วมได้ยินเสียงจำเลย จึงลุกไปที่ประตูถามจำเลยว่าพูดอะไร จำเลยตอบว่าไม่ให้โจทก์ร่วมสนใจและอย่าใช้เสียงดังมิฉะนั้นจะฆ่าให้ตายแล้วจำเลยเดินไปใช้ไม้ขีดไฟจุดเผาหลังคายุ้งข้าวของโจทก์ร่วมพฤติการณ์เช่นนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าสาเหตุคดีนี้ เกิดขึ้นเพราะโจทก์ร่วมได้ว่ากล่าวจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยโกรธแค้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องผิดปกติวิสัย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า บุคคลผู้มีจิตเป็นปกติจะกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยมีอาการทางประสาทมาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ คือชอบนั่งคอตกไม่พูดกับใคร ทำงานไม่ได้ ไล่ชกต่อยมารดาและเคยจะฟันพี่ชายพูดด้วยไม่รู้เรื่อง บางครั้งต้องใช้โซ่ล่ามไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดในขณะที่จิตบกพร่องหรือเป็นโรคจิตแต่ยังสามารถรู้ผิดชอบหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ป่วยโรคจิตจากพิษสุรากระทำความผิดในสภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ จึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65
ก่อนเกิดเหตุจำเลยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลประสาทขณะเกิดเหตุอาการป่วยเป็นโรคจิตจากพิษสุรากำเริบขึ้นอีกมีอาการประสาทหลอนหวาดระแวงกลัวคนจะทำร้าย ผู้ตายซึ่งเป็นภริยาอยู่กินกันมาด้วยความเรียบร้อยไม่เคยมีเหตุทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน จึงพาจำเลยไปรักษาที่บ้านบิดาจำเลย ขณะนั่งคุยกันอยู่ที่แคร่ไม้ข้างล่าง จำเลยใช้มีดเชือดคอและฟันทำร้ายผู้ตายมีคนพบจำเลยนั่งงุนงงอยู่ใกล้ ๆ ดังนี้ จำเลยได้กระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ ไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะโรคจิตจากพิษสุราจำเลยไม่ต้องรับโทษในความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ตามมาตรา 65 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยมีโทสะจริต ไม่ถือเป็นเหตุให้ไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคแรก
หญิงยิงชายเพราะมีอารมณ์รุนแรง ถูกชายด่าเกิดโทสะจนขาดความยั้งคิด ใช้ปืนซึ่งศึกษาวิธีใช้ทดลองยิงในวันนั้น ยิงชาย ไม่เป็นเหตุตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้มีจิตบกพร่อง: การลดโทษตามมาตรา 65 วรรค 2
จำเลยคลอดบุตรแล้วเป็นโรคบ้าเลือดมีอาการผิดปกติไปจากคนธรรมดาคุ้มดีคุ้มร้าย ซึ่งถือว่าเป็นโรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือนบางขณะไม่มีความรู้สึกผิดชอบเยี่ยงบุคคลธรรมดา แต่ยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง จำเลยจึงต้องรับผิดดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในทางอาญาของผู้มีจิตบกพร่อง: การพิจารณาตามมาตรา 65 วรรคสอง
จำเลยคลอดบุตรแล้วเป็นโรคบ้าเลือดมีอาการผิดปกติไปจากคนธรรมดาคุ้มดีคุ้มร้าย ซึ่งถือว่าเป็นโรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือนบางขณะไม่มีความรู้สึกผิดชอบเยี่ยงบุคคลธรรมดา แต่ยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง จำเลยจึงต้องรับผิดดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญาของผู้มีจิตบกพร่อง: การพิจารณาโทษตามมาตรา 65 วรรคท้าย ป.อาญา
หากจำเลยกระทำความผิดลงในขณะที่จำเลยเป็นคนมีจิตบกพร่องโรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือนแต่จำเลยก็ยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างแล้ว ศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้