คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 76

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นลดโทษมาตรา 76 ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และการโต้เถียงดุลพินิจศาล
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่าขณะจำเลยกระทำความผิดจำเลยมีอายุยังไม่เกินยี่สิบปีแต่ศาลชั้นต้นมิได้ระบุไว้ในคำพิพากษาให้ลดหรือไม่ลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา76แก่จำเลยเป็นการชอบหรือไม่นั้นมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและมิได้เป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค2จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา225 ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีเหตุสมควรได้รับการลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา76เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค2อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8506/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกระทรวงกลาโหมต่อการกระทำละเมิดของข้าราชการในสังกัดตามมาตรา 76
จำเลยที่ 1 รับราชการในกองทัพบกจำเลยที่ 3 และกระทำการในหน้าที่ของจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3เป็นส่วนราชการของกองบัญชาการทหารสูงสุดและกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมจำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการของจำเลยที่ 3 และเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำในหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกระทรวงเจ้าสังกัดต่อความเสียหายจากพนักงานขับรถในราชการ ตามมาตรา 76
แม้กรมปศุสัตว์จำเลยที่ 2 จะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 2 ก็เป็นส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ข้อ 13 และข้อ 14 ที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยที่ 1 พนักงานขับรถของจำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติราชการไปตามหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 กระทรวงเจ้าสังกัดก็ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุจำเลยกับการลดโทษตามมาตรา 76 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณา แม้ไม่ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำเลยที่มีอายุกว่า 17 ปีแต่ยังไม่เกิน 20 ปี โดยลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่จำเลยกระทำลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้ว หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าขณะกระทำผิดจำเลยมีอายุเพียง 17 ปีเศษ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ได้ แม้ปัญหานี้จะมิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อาญา มาตรา 76 ต้องลดจากอัตราโทษขั้นสูง-ต่ำ ไม่ใช่ลดจากโทษที่ศาลกำหนด
การลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76คือการลดอัตราโทษขั้นสูงและขั้นต่ำลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งแล้วจึงลงโทษระหว่างนั้น หาใช่ศาลกำหนดโทษลงไว้ก่อนแล้วลดจากโทษที่กำหนดไว้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษตามมาตรา 76 ต้องลดจากอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่ลดจากโทษที่ศาลวางไว้
การลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76พึงวางโทษภายในอัตราที่ได้ลดมาตราส่วนจากโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ แล้ว ไม่ใช่วางโทษตามบทความผิดเสียก่อนเป็นเบื้องต้น แล้วจึงลดจากโทษที่ศาลวางไว้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการลดโทษ: ลดมาตราส่วนก่อนกำหนดโทษตามกฎหมายอาญา มาตรา 76 และความแตกต่างจากมาตรา 54
การลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 นั้นหมายความว่าลดมาตราส่วนโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่จำเลยกระทำ (ก่อนกำหนดโทษจำเลย) มิใช่กำหนดโทษจำเลยเสียก่อนแล้วจึงลดมาตราส่วนโทษลง ส่วนมาตรา 54 นั้น เป็นเรื่องการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษ (จากโทษที่ได้กำหนดแล้ว)