คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 89

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม: เบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) และ (10) ต้องพิจารณาความถูกต้องของการยื่นแบบแสดงรายการ
การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายในเดือนภาษีตุลาคม2536 คลาดเคลื่อนไปจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 89(4) และการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว มิใช่เป็นการมิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนดหรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ อันจะทำให้ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่มิได้ทำรายงานหรือมิได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องตามมาตรา 89(10) ดังที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมิน ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับเพียงหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปตามมาตรา 89(4) เท่านั้น
ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) และมาตรา 246 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนี้จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อน: ห้ามเรียกเก็บทั้งมาตรา 89(4) และ (7) พร้อมกัน
โจทก์แสดงภาษีซื้อในแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ตรงต่อความจริงอันเป็นการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องและเป็นการแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์จะต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) อยู่ด้วยในตัว เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เรียกเบี้ยปรับได้ 2 เท่า แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งหมายจะให้ปรับสูงขึ้นกว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องในกรณีอื่นดังนั้น จึงเรียกเบี้ยปรับสูงสุดเพียง 2 เท่าของจำนวนภาษีในใบกำกับภาษีปลอมตามมาตรา 89(7) เท่านั้น หาอาจเรียกเบี้ยปรับได้ทั้งตามมาตรา 89(4) และ (7) รวม 3 เท่าอันเป็นการเรียกเบี้ยปรับซ้ำซ้อนกันได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5070/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษผู้กระทำผิดตามมาตรา 89 ประมวลรัษฎากร: ลงโทษตามอนุมาตราที่เบี้ยปรับสูงสุดเท่านั้น
บทบัญญัติในประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว เมื่อการกระทำผิดของโจทก์ที่นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ในการคำนวณภาษีเข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 89(4) และ 89(7) ซึ่งมีกำหนดโทษให้เสียเบี้ยปรับหนึ่งเท่าและสองเท่าของจำนวนภาษีที่คลาดเคลื่อนตามลำดับแล้วศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียวได้ ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าใบกำกับภาษีของโจทก์บางส่วนปลอมโจทก์ไม่มีสิทธินำภาษีซื้อในใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางในส่วนนี้แต่โจทก์ไม่มายื่นคำฟ้องอุทธรณ์และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามกฎหมายศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม: การลงโทษตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว และขอบเขตของคำสั่งกรมสรรพากร
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเข้าลักษณะความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89(4) อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89 (7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกัน โจทก์จึงหาต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) อีกด้วยไม่
ป.รัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตรา จึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากใบกำกับภาษีปลอม: เบี้ยปรับตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(4)อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกัน โจทก์จึงหาต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4)อีกด้วยไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตราจึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม: ศาลยืนตามเดิมให้ปรับเฉพาะมาตรา 89(7) แม้จะมีความผิดตามมาตรา 89(4) ด้วย
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(4)อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกัน โจทก์จึงหาต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4)อีกด้วยไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.37/2534 ดังกล่าววางระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประเด็นแห่งคดีนี้เป็นเรื่องอำนาจในการเรียกเก็บเบี้ยปรับของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าเรียกเก็บได้กี่อนุมาตราจึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้กับคดีนี้ได้ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรจะวินิจฉัยให้โจทก์เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย: อำนาจต่อสู้คดี และการพิจารณาตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายแสดงให้เห็นชัดว่าในกรณีที่จะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนนั้น กฎหมายได้บัญญัติกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษเมื่อปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างนั้นตามมาตรา 88 แล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ และตามมาตรา 89 ให้พิจารณาต่อไปเพียงว่า ผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริงหรือไม่ถ้าปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลายตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริง ศาลก็มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ แล้วพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายไปตามห้างนั้นได้เลย เพราะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนห้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจต่อสู้คดี หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้าง หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการถามค้านพยานภายหลังตามมาตรา 89 วรรค 1(ก) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 89 วรรค 1(ก) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่บัญญัติถึงการที่ผู้นำสืบพยานภายหลัง สืบพยานหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานของฝ่ายที่นำสืบก่อนนั้น หมายเฉพาะถึงเมื่อข้อความที่ผู้นำสืบภายหลังเป็นข้อความที่พยานของฝ่ายนำสืบก่อนเป็นผู้รู้เห็นอยู่ด้วยเท่านั้น กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้นำสืบพยานภายหลังถามค้านไว้ก่อนเพื่อให้พยานผู้นั้นอธิบายข้อความที่ตนรู้เห็นในข้อที่ฝ่ายหลังนี้นำสืบไว้เสียก่อน เพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายหลังเอาเปรียบโดยนำสืบหักล้างมิให้ฝ่ายแรกรู้ตัว ไม่มีโอกาสเสนอพยานหลักฐานครบถ้วน เป็นการเสียความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการถามค้านพยานภายหลังตามมาตรา 89 วรรคหนึ่ง (ก) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 89 วรรคหนึ่ง (ก) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่บัญญัติถึงการที่ผู้นำสืบพยานภายหลัง สืบพยานหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานของฝ่ายที่นำสืบก่อนนั้น. หมายเฉพาะถึงเมื่อข้อความที่ผู้นำสืบภายหลังเป็นข้อความที่พยานของฝ่ายนำสืบก่อนเป็นผู้รู้เห็นอยู่ด้วยเท่านั้น กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้นำสืบพยานภายหลังถามค้านไว้ก่อนเพื่อให้พยานผู้นั้นอธิบายข้อความที่ตนรู้เห็นในข้อที่ฝ่ายหลังนี้นำสืบไว้เสียก่อน เพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายหลังเอาเปรียบโดยนำสืบหักล้างมิให้ฝ่ายแรกรู้ตัวไม่มีโอกาสเสนอพยานหลักฐานครบถ้วน เป็นการเสียความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อาจนำสืบพยานหลังไม่ได้ถามค้านพยานฝ่ายตรงข้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89
จำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ในประเด็นข้อใดไว้ แล้วนำพยานของตนในประเด็นข้อนั้นมาสืบในภายหลัง เป็นการต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ศาลจะไม่ยอมรับฟังคำพยานจำเลยในประเด็นข้อนั้นได้