คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มูลค่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การคำนวณมูลค่าทรัพย์มรดกและข้อจำกัดการฎีกาในชั้นฎีกา
การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสี่ เป็นการฟ้องเรียกให้ได้ทรัพย์มรดกกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท และโจทก์ทั้งสี่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์จำนวน 60,000 บาท จึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินทรัพย์มรดกที่โจทก์ทั้งสี่ตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันราคา 201,000 บาท ที่ดินของโจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5762/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คดีมีทุนทรัพย์จำกัดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง: การคำนวณมูลค่าที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาสร้างโรงเรือนในที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่าตนเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละส่วนแยกต่างหากจากกัน เนื้อที่เท่ากันคนละ 77ตารางวา เนื้อที่ดินทั้งแปลงมีราคา 52,000 บาท ที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยแต่ละคนจึงมีราคาครึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาททั้งแปลงคือมีราคาแปลงละ 26,000 บาท ซึ่งต้องถือราคานี้เป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยแต่ละคนจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 26,000 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาทรัพย์สินที่ใช้ในการพิจารณาคดี ต้องเป็นราคา ณ วันที่ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้น
ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ต้องถือตามราคาทรัพย์สินที่พิพาทในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นจะนำราคาทรัพย์สินที่พิพาทซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นมาคำนวณเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7347/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากราคาทรัพย์สินในชั้นฎีกาลดลงต่ำกว่า 200,000 บาท
โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูป หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามใช้ราคาเป็นเงิน 248,700 บาท แก่โจทก์ ซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 200,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษา กลับให้จำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูปตามฟ้องแก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาเป็นเงิน 128,340 บาท แก่โจทก์แทน เมื่อจำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7158/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดมูลค่าทุนทรัพย์ในคดีแบ่งที่ดินพิพาท โดยอ้างอิงสัดส่วนการถือครอง
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสี่คนละ5 ไร่ 85 ตารางวา เท่า ๆ กัน จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวที่พิพาททั้งแปลงราคา 196,375 บาท โดยโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยจะได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ส่วน ดังนั้นที่พิพาทที่โจทก์ทั้งสี่จะได้รับตามฟ้องมีราคารวม 157,100 บาทซึ่งจำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสี่ขอมาได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ 157,100 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทต้องรับผิดในฐานะผู้แทนของบริษัท ไม่ใช่ฐานะส่วนตัว แม้ทุนจดทะเบียนน้อยกว่ามูลค่างาน
จำเลยที่1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้วจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆต้องตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมายภายในของวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่1ดั่งมีกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา69เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้และตามมาตรา75เดิมบัญญัติว่าอันความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฎจากผู้แทนทั้งหลายของนิติบุคคลนั้นเมื่อจำเลยที่2และที่4เป็นกรรมการของจำเลยที่1จึงเป็นผู้แทนที่ดำเนินการหรือแสดงความประสงค์ของจำเลยที่1การที่จำเลยที่2ในฐานะกรรมการของจำเลยที่1ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างหรือจำเลยที่4ในฐานะกรรมการของจำเลยที่1มอบหมายให้จำเลยที่3ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่4ในสัญญาว่าจ้างโจทก์ก็ดีก็เป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลจำเลยที่1ได้รับผลงานจากการจ้างที่จำเลยที่2และที่4ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ว่าจ้างก็ดีลงลายมือชื่อในเอกสารยอมรับชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก็ดีหรือจำเลยที่4ลงลายมือชื่อรับรองยอดหนี้ของจำเลยที่1ก็ดีตลอดจนที่จำเลยที่4ลงลายมือชื่อรับมอบงวดงานตามเอกสารต่างๆก็ดีแม้มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่1ก็พึงเห็นได้ว่าจำเลยที่2และที่4กระทำการในฐานะเป็นกรรมการหรือผู้แทนของจำเลยที่1นั่นเองและแม้ทุนจดทะเบียนของจำเลยที่1จะมีน้อยกว่าการงานที่จำเลยที่1ว่าจ้างโจทก์แต่ก็ได้ความว่าหากขาดเงินทุนหมุนเวียนจำเลยที่1ก็จะไปขอสินเชื่อจากธนาคารนอกจากนี้ตามสัญญาว่าจ้างจำเลยที่1เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่2และที่4ว่าจ้างโจทก์ในฐานะส่วนตัวแต่อย่างใดจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2และที่4ว่าจ้างโจทก์ในฐานะส่วนตัวด้วยจำเลยที่2และที่4ซี่งเป็นกรรมการของจำเลยที่1จึงหาจำต้องรับผิดในฐานะส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องเทียบเคียงกับทรัพย์สินที่มีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกัน มิได้พิจารณาจากมูลค่าหรือกำไร
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา8บัญญัติว่าค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นๆสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆแต่อาคารของโจทก์โจทก์ใช้ประโยชน์เองโดยมิได้ให้ผู้อื่นเช่าการที่จะทราบถึงจำนวนเงินซึ่งอาคารของโจทก์สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งอันถือเป็นค่ารายปีนั้นจะต้องพิจารณาเทียบเคียงกับทรัพย์สินอื่นที่มีผู้เช่าอยู่และอยู่ใกล้เคียงกันและทรัพย์สินนั้นจะต้องมีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย โรงเรือนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1นำมาเทียบเพื่อประเมินกำหนดค่ารายปีโรงเรือนพิพาทประกอบกิจการค้าคนละประเภทกับกิจการค้าของโจทก์และเป็นโรงเรือนคนละประเภทกับโรงเรือนพิพาทอีกด้วยค่าเช่าของโรงเรือนทั้งสองแห่งจึงนำมาเทียบกับโรงเรือนพิพาทไม่ได้การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่1นำมาใช้เปรียบเทียบแล้วประเมินเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทจึงเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นๆสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆมิได้กำหนดจากมูลค่าของโรงเรือนหรืองบกำไรขาดทุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่ที่ดินราคาต่ำกว่าเกณฑ์ฎีกา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าจำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทด้วยเรื่องสิทธิครอบครองเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทราคาเพียง 8,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยสินค้า บทสันนิษฐานความเสียหาย และการพิสูจน์มูลค่าความเสียหายที่แท้จริง
โจทก์เอาประกันภัยสต๊อกสินค้า รองเท้าทุกชนิดในร้านค้าของโจทก์ไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 200,000 บาท จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 เบิกความรับว่า จำเลยที่ 1รับประกันภัยเฉพาะรองเท้าและสินค้าที่อยู่ในร้านโจทก์ ดังนั้นสต๊อกสินค้า รองเท้าทุกชนิด ซึ่งเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยไว้จึงมีความหมายรวมถึงรองเท้าและเครื่องหนังทุกชนิด ที่โจทก์มีไว้ในร้านเพื่อขาย มิใช่กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองแต่รองเท้าอย่างเดียว เมื่อสินค้าในร้านของโจทก์ได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายโดยสิ้นเชิง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 877ได้สันนิษฐานเป็นคุณแก่โจทก์ไว้ก่อนว่า โจทก์มีสิทธิจะเรียกให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าสินไหมทดแทนได้เต็มจำนวนที่เอาประกันภัยไว้เว้นแต่จำเลยที่ 1 จะพิสูจน์หักล้างได้ว่า ความเสียหายของสินค้านั้นต่ำกว่าจำนวนเงินที่ได้เอาประกันไว้ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงจำนวนสินค้าที่ถูกเพลิงไหม้อันแท้จริงได้ และน่าเชื่อว่าขณะเกิดเพลิงไหม้สินค้ารองเท้าและเครื่องหนังที่วางจำหน่ายอยู่ในร้านโจทก์ มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 200,000 บาทจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีทรัพย์สินมูลค่าน้อยกว่า 5 หมื่นบาท และผลของการฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว
เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และจำเลยยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงภายหลังพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 มาตรา 14 ใช้บังคับแล้ว จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อคดีได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาจะรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 3