พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5136/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับขนทางอากาศ: ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่ระบุในใบรับขน หากผู้ส่งไม่ได้ระบุมูลค่าสินค้า
สัญญารับขนของทางอากาศซึ่งมีข้อตกลงและเงื่อนไขของสัญญารับขนของทางอากาศปรากฏเป็นข้อความภาษาอังกฤษทั้งด้านหน้าและด้านหลังใบรับขนทางอากาศโดยด้านหน้ามีข้อความพิมพ์ไว้ชัดแจ้งว่า คู่สัญญาให้ถือเอาข้อตกลงและเงื่อนไขในการขนส่งตามที่ระบุไว้ในแผ่นหน้าและแผ่นหลังของใบรับขนทางอากาศนี้เป็นข้อสัญญารับขนของทางอากาศ ทั้งมีข้อความให้ผู้ส่งสินค้ารับทราบข้อสังเกตเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้วย ผู้ส่งสินค้าอาจเพิ่มส่วนจำกัดความรับผิดได้ โดยแจ้งมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้นและชำระเงินเพิ่มเติมหากจำเป็น และแผ่นหลังของใบรับขนทางอากาศดังกล่าวได้ระบุข้อตกลงในกรณีที่ผู้ส่งสินค้าไม่ได้ระบุมูลค่าของสินค้าไว้ว่า ให้จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อสินค้าหนัก 1 กิโลกรัม ซึ่งบริษัท อ. ได้ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะตัวแทนของผู้ขายสินค้าหรือผู้ส่งสินค้าด้วย ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบหักล้างข้อเท็จจริงดังกล่าว ย่อมรับฟังได้ว่า ตามสัญญารับขนสินค้าน้ำหอมทางอากาศในคดีนี้ ผู้ส่งสินค้าได้ตกลงโดยชัดแจ้งในเงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งแล้ว ข้อตกลงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจึงใช้บังคับแก่คู่สัญญาขนส่งของทางอากาศในคดีนี้ได้ เมื่อปรากฏตามใบรับขนส่งทางอากาศว่าผู้ส่งสินค้าไม่ได้แจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งไว้ ความรับผิดของผู้ขนส่งในความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าที่ขนส่งที่ตนเองรับขนส่งจึงถูกจำกัดไว้จำนวนเพียง 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้าที่ได้รับความเสียหายหรือสูญหาย 1 กิโลกรัม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากมูลค่าสินค้าที่นำเข้าและโอนขาย การกำหนดราคาตลาด และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
โจทก์โอนขายสินค้าที่โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีการค้า ขณะที่นำเข้าตามมาตรา 79 ตรี (11) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามมูลค่าของสินค้าดังกล่าวในวันโอนขาย ตามมาตรา 79 ทวิ (4) และมาตรา 84 แต่กฎหมายมิได้บัญญัติกฎเกณฑ์ในการคำนวณมูลค่าของสินค้าไว้ คงมีบัญญัติไว้ในมาตรา 78 ทวิ (6) เพียงว่าให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดในวันโอน เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 7)เรื่องให้ใช้เกณฑ์คำนวณเพื่อกำหนดมูลค่าของสินค้าที่นำเข้าในราชอาณาจักรเป็นรายรับ (ราคาซี.ไอ.เอฟ.บวกด้วยค่าอากรขาเข้าและกำไรมาตรฐาน) มาใช้เทียบเคียงในการคำนวณมูลค่าสินค้าของโจทก์โดยเอาราคาซี.ไอ.เอฟ.บวกด้วยค่าอากรขาเข้า แล้วหักค่าเสื่อมราคาให้ได้ผลลัพธ์เท่าใดถือเป็นมูลค่าของสินค้าหรือราคาตลาดของสินค้าในวันโอนแต่ไม่ได้เอากำไรมาตรฐานบวกเข้าไปด้วยการที่ไม่ได้เอากำไรมาตรฐานบวกเข้าด้วยนั้น ทำให้มูลค่าของสินค้าของโจทก์ถูกลง การคำนวณภาษีย่อมลดลงไปด้วยซึ่งเป็นผลดีแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่ได้ รับความเสียหายเพราะเหตุนี้ ดังนั้น โจทก์จะอ้างว่าการประเมินไม่ชอบเพราะเหตุดังกล่าวไม่ได้
ปัญหาว่าศาลควรงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์หรือไม่ เป็นคนละกรณีกับปัญหาตามที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่อ้างว่าประเมินโดยไม่ชอบดังนั้น ถ้าโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มด้วยโจทก์ก็ชอบที่จะมีคำขอมาท้ายฟ้องเมื่อโจทก์ไม่ได้มีคำขอในข้อนี้มาด้วยศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้อง เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ปัญหาว่าศาลควรงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์หรือไม่ เป็นคนละกรณีกับปัญหาตามที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่อ้างว่าประเมินโดยไม่ชอบดังนั้น ถ้าโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มด้วยโจทก์ก็ชอบที่จะมีคำขอมาท้ายฟ้องเมื่อโจทก์ไม่ได้มีคำขอในข้อนี้มาด้วยศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้อง เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9937/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสินค้าทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ หากมูลค่าสูงเกินเกณฑ์ต้องผ่านพิธีการศุลกากร
ป.พ.พ. มาตรา 609 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การขนส่งไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้น ๆ การฝากส่งสิ่งของพัสดุไปรษณีย์กับจำเลย จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2549 โดยอนุวัติตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ประกอบ พ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย พ.ศ.2546 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการฝากส่งสิ่งของนั้น
เมื่อสิ่งของที่ฝากส่งเป็นสินค้าประเภทอัญมณีเครื่องประดับมีมูลค่าสูง แต่ผู้ฝากส่งสิ่งของใช้วิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ โดยระบุที่หีบห่อพัสดุว่า "STONE" และมิได้ระบุราคาสินค้าหรือแจ้งราคาสินค้าหรือได้ทำไปรษณีย์รับประกันระหว่างประเทศไว้กับจำเลย ซึ่งตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ พ.ศ.2525 หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์และหลักการข้อ 8 และระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 พ.ศ.2530 ข้อ 8 กำหนดชนิดของสิ่งของที่จะส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศไว้ อันแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการออกระเบียบดังกล่าวว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการควบคุมการส่งสิ่งของทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นสากล ไม่เปิดโอกาสให้มีการใช้วิธีการทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศฝากส่งสิ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดการส่งออกไปยังปลายทางโดยปราศจากการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนที่สิ่งของนั้นได้ถูกส่งถึงผู้รับยังปลายทางในต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อผู้ฝากส่งส่งอัญมณีที่มิได้ระบุไว้ว่าเป็นสิ่งของต้องห้ามฝากส่ง แต่มีมูลค่าสูงเกินกว่าที่จะส่งได้ด้วยวิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศโดยไม่ต้องปฏิบัติตามพิธีการทางศุลกากรก่อน ทั้งไม่ได้แจ้งราคาสิ่งของที่ฝากส่งด้วย จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวโดยชัดแจ้ง ถือเป็นความเสี่ยงภัยของผู้ฝากส่งเอง
เมื่อสิ่งของที่ฝากส่งเป็นสินค้าประเภทอัญมณีเครื่องประดับมีมูลค่าสูง แต่ผู้ฝากส่งสิ่งของใช้วิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ โดยระบุที่หีบห่อพัสดุว่า "STONE" และมิได้ระบุราคาสินค้าหรือแจ้งราคาสินค้าหรือได้ทำไปรษณีย์รับประกันระหว่างประเทศไว้กับจำเลย ซึ่งตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ พ.ศ.2525 หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์และหลักการข้อ 8 และระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 พ.ศ.2530 ข้อ 8 กำหนดชนิดของสิ่งของที่จะส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศไว้ อันแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการออกระเบียบดังกล่าวว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการควบคุมการส่งสิ่งของทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นสากล ไม่เปิดโอกาสให้มีการใช้วิธีการทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศฝากส่งสิ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดการส่งออกไปยังปลายทางโดยปราศจากการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนที่สิ่งของนั้นได้ถูกส่งถึงผู้รับยังปลายทางในต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อผู้ฝากส่งส่งอัญมณีที่มิได้ระบุไว้ว่าเป็นสิ่งของต้องห้ามฝากส่ง แต่มีมูลค่าสูงเกินกว่าที่จะส่งได้ด้วยวิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศโดยไม่ต้องปฏิบัติตามพิธีการทางศุลกากรก่อน ทั้งไม่ได้แจ้งราคาสิ่งของที่ฝากส่งด้วย จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวโดยชัดแจ้ง ถือเป็นความเสี่ยงภัยของผู้ฝากส่งเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5338/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดสัญญาขนส่ง: การสำแดงมูลค่าสินค้า, ความสัมพันธ์ค่าระวาง, และความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ. ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพหรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น และวรรคสาม (1) กำหนดให้ข้อตกลงยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญาที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น การจะพิจารณาว่าข้อจำกัดความผิดของจำเลยทั้งสองตามใบรับขนของทางอากาศเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าข้อจำกัดความรับผิดนั้นเป็นผลให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดความรับผิดได้เปรียบผู้ส่งซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรหรือไม่ เห็นว่า สัญญารับขนของทางอากาศระหว่างผู้ส่งกับจำเลยทั้งสองมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญาต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระตอบแทนกัน โดยหนี้ที่ผูกพันฝ่ายหนึ่งเป็นมูลฐานของการชำระหนี้ของอีกฝ่ายหนึ่ง จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งมีหน้าที่ที่จะต้องขนส่งสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง หากสินค้าสูญหายหรือเสียหายอันเกิดขึ้นจากการผิดสัญญาก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนผู้ส่งก็มีหน้าที่ที่ต้องชำระค่าระวางขนส่งตามอัตราที่ตกลงกัน ซึ่งจากเงื่อนไขการขนส่งที่กล่าวมาเห็นได้ชัดเจนว่า อัตราค่าระวางที่ผู้ส่งต้องรับภาระจะสัมพันธ์โดยตรงกับมูลค่าสินค้าที่สำแดงเพื่อการขนส่งเช่นเดียวกับจำนวนความรับผิดกรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายโดยเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามกันหากสำแดงราคาสินค้าไว้สูง ผู้ส่งก็จะต้องเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้นแต่หากสินค้าสูญหายหรือเสียหายก็จะได้รับการชดใช้ตามมูลค่าที่สำแดงไว้ แต่ไม่เกินจำนวนที่กำหนดเท่านั้น ดังนั้น มูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งที่ระบุจึงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคาค่าระวางขนส่งและจำนวนความรับผิด การที่ผู้ขนส่งคิดค่าระวางเพิ่มขึ้นก็เนื่องมาจากมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มภาระในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หนี้ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องชำระตอบแทนกันในส่วนนี้ จึงถือเป็นหนี้ที่มีความสำคัญขนาดเดียวกัน หากผู้ส่งต้องการค่าสินไหมทดแทนที่มากขึ้นก็ต้องยอมจ่ายค่าระวางขนส่งสูงขึ้นจึงจะเป็นธรรมแก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย พิเคราะห์จากข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าที่ผู้ส่งจ้างให้จำเลยทั้งสองขนส่งมีมูลค่าเกินกว่าจำนวนสูงสุดที่จำเลยที่ 2 อนุญาตให้สำแดงได้ไปมาก ประกอบพฤติการณ์ที่ผู้ส่งซึ่งเป็นลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งสินค้าของจำเลยที่ 2 ไปต่างประเทศอยู่เป็นประจำย่อมทราบดีถึงเงื่อนไขการขนส่งและข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 แต่สมัครใจเข้าทำสัญญารับขนของทางอากาศกับจำเลยที่ 2 และไม่ได้แจ้งหรือระบุมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งไว้ ทั้งยังได้ทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยจากการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่งกับโจทก์เต็มมูลค่าของสินค้าโดยยอมเสียเบี้ยประกันภัยอันเป็นทางเลือกอย่างอื่น แสดงให้เห็นชัดถึงเจตนาที่จะเข้าเอาประโยชน์จากการที่จะไม่ต้องเสียค่าระวางเพิ่มและหากสินค้าสูญหายหรือเสียหายผู้ส่งยังได้รับชดใช้ตามกรมธรรม์ประกันภัย ดังนั้น เมื่อพิจารณาตามพฤติการณ์ ทางเลือกและทางได้เสียทุกอย่างของผู้ส่งกับจำเลยทั้งสอง เห็นว่า เงื่อนไขการขนส่งและข้อจำกัดความผิดตามใบรับขนของทางอากาศดังกล่าวมิได้มีผลให้ผู้ส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ หรือทำให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้เปรียบผู้เอาประกันภัยเกินสมควรแต่อย่างใด ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดมูลค่าสรรพสามิตจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม: ความชอบด้วยกฎหมายและหลักเกณฑ์
พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่า ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมของโจทก์ตามแบบแจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (แบบ ภษ.01-44) สอดคล้องกับราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีและเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี จำเลยจึงชอบที่จะอาศัยอำนาจตามมาตรา 8 (1) วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ประกาศกำหนดมูลค่าของสินค้าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีได้ มูลค่าของสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลมเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีต้องกำหนดจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมของสินค้าในตลาดปกติ กล่าวคือ พิจารณาจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมของเครื่องดื่มน้ำอัดลมในตลาดปกติโดยส่วนใหญ่ตามสภาพความเป็นจริง ซึ่งพยานจำเลยเบิกความถึงหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติในการพิจารณาเพื่อหาราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติว่าพิจารณาจากสัดส่วนเปรียบเทียบกับราคาขายปลีกของสินค้า คือ ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติของเครื่องดื่มไม่ควรน้อยกว่าร้อยละ 75 ของราคาขายปลีก หากน้อยกว่า จำเลยอาจประกาศกำหนดมูลค่าสินค้าได้ เป็นไปตามหนังสือกรมสรรพสามิต ลับมาก ด่วนมาก ที่ กค 0622/190 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 ที่มาจากการศึกษาวิเคราะห์ภาพรวมของราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ราคาขายที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมขายไปจริง ราคาขายปลีกในท้องตลาด และข้อมูลจากงบการเงินของผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าประเภทเครื่องดื่มน้ำอัดลมและถัวเฉลี่ยตามหลักวิชาแล้วสรุปว่า สัดส่วนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมต่อราคาขายปลีกไม่ควรน้อยกว่าร้อยละ 75 และจำเลยได้ใช้เกณฑ์ดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติในการหาราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติและประกาศกำหนดมูลค่าสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลมตั้งแต่ปี 2549 รวมทั้งในการออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าเครื่องดื่มที่ผลิตในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี (ฉบับที่ 1/2556) ลงวันที่ 8 มกราคม 2556 แสดงว่าจำเลยได้ประกาศกำหนดมูลค่าของสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลมของโจทก์ โดยพิจารณาจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติตามสภาพความเป็นจริงของลักษณะการประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องดื่มน้ำอัดลม และอาศัยการเปรียบเทียบต้นทุน ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ราคาขายปลีกแนะนำ และราคาขายปลีกของผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายอื่นกับโจทก์ การออกประกาศกรมสรรพสามิตดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยพิจารณาราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมของโจทก์เปรียบเทียบกับราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมของผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าประเภทเดียวกันรายอื่นก่อนมีหนังสือทบทวนราคาขายไปยังโจทก์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้แสวงหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องและเปิดโอกาสให้โจทก์ได้ทราบข้อเท็จจริงเพื่อโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานแล้ว เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับข้อเท็จจริงที่ว่าสัดส่วนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมต่อราคาขายปลีกของโจทก์ต่ำกว่าเครื่องดื่มน้ำอัดลมรายอื่นและจำเลยจะพิจารณาออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่ม โจทก์ก็สามารถส่งเอกสารเพื่อโต้แย้งหรือพิสูจน์ที่มาของรายละเอียดโครงสร้างราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมได้ นอกจากนี้หนังสือขอให้ทบทวนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ออกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 ส่วนประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าเครื่องดื่มที่ผลิตในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี (ฉบับที่ 1/2556) ออกเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 โจทก์จึงมีเวลาในการโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานต่อจำเลยนานถึง 2 เดือนเศษก่อนที่จำเลยจะออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นระยะเวลาพอสมควร ประกาศดังกล่าวจึงชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 29 และมาตรา 30
ประกาศของจำเลยมีการระบุข้อกฎหมายที่อ้างอิง คือ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 8 (1) วรรคสาม จึงชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง (2) แม้ประกาศของจำเลยจะมิได้แสดงให้ชัดเจนว่าการกำหนดมูลค่าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี โดยคำนวณจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติของสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นการกำหนดจากต้นทุนประเภทใด ที่ราคาเท่าใด บวกกำไรในอัตราเท่าใด หรือราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติคือราคาใดและมีที่มาอย่างไรตามที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่โจทก์ทราบข้อเท็จจริงตามหนังสือขอให้ทบทวนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมแล้วว่า จำเลยได้เปรียบเทียบราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ราคาขายปลีกที่แนะนำตามแบบแจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (แบบ ภษ.01-44) กับราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ราคาขายปลีกที่แนะนำของผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายอื่นในสินค้าประเภทเดียวกัน และพบว่าสัดส่วนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมต่อราคาขายปลีกของโจทก์ต่ำกว่ารายอื่น ซึ่งหากไม่มีเหตุผลอันสมควร จำเลยอาจออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่มต่อไป โจทก์จึงทำหนังสือชี้แจงและส่งหลักฐานเพื่อประกอบการชี้แจงทั้งสามครั้งได้ ประกอบกับหลังจากจำเลยประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่มแล้ว โจทก์ก็อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว เมื่อพิจารณาเนื้อหาในอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองของโจทก์ ก็พบว่าโจทก์สามารถทำคำอุทธรณ์โดยแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลต่าง ๆ เพื่อโต้แย้งการกำหนดมูลค่าสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลมตามประกาศได้อย่างละเอียดพร้อมเหตุผล ถือว่าโจทก์ได้รู้ข้อเท็จจริงและข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนซึ่งเป็นเหตุผลในการออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่มดังกล่าวแล้ว จึงเป็นกรณีที่เหตุผลในการออกคำสั่งทางปกครองเป็นที่รู้กันอยู่แล้วไม่จำต้องระบุอีกตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2)
จำเลยพิจารณาราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมของโจทก์เปรียบเทียบกับราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมของผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าประเภทเดียวกันรายอื่นก่อนมีหนังสือทบทวนราคาขายไปยังโจทก์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้แสวงหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องและเปิดโอกาสให้โจทก์ได้ทราบข้อเท็จจริงเพื่อโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานแล้ว เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับข้อเท็จจริงที่ว่าสัดส่วนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมต่อราคาขายปลีกของโจทก์ต่ำกว่าเครื่องดื่มน้ำอัดลมรายอื่นและจำเลยจะพิจารณาออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่ม โจทก์ก็สามารถส่งเอกสารเพื่อโต้แย้งหรือพิสูจน์ที่มาของรายละเอียดโครงสร้างราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมได้ นอกจากนี้หนังสือขอให้ทบทวนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ออกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 ส่วนประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าเครื่องดื่มที่ผลิตในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี (ฉบับที่ 1/2556) ออกเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 โจทก์จึงมีเวลาในการโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานต่อจำเลยนานถึง 2 เดือนเศษก่อนที่จำเลยจะออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นระยะเวลาพอสมควร ประกาศดังกล่าวจึงชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 29 และมาตรา 30
ประกาศของจำเลยมีการระบุข้อกฎหมายที่อ้างอิง คือ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 8 (1) วรรคสาม จึงชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง (2) แม้ประกาศของจำเลยจะมิได้แสดงให้ชัดเจนว่าการกำหนดมูลค่าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี โดยคำนวณจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติของสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นการกำหนดจากต้นทุนประเภทใด ที่ราคาเท่าใด บวกกำไรในอัตราเท่าใด หรือราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติคือราคาใดและมีที่มาอย่างไรตามที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่โจทก์ทราบข้อเท็จจริงตามหนังสือขอให้ทบทวนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมแล้วว่า จำเลยได้เปรียบเทียบราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ราคาขายปลีกที่แนะนำตามแบบแจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม (แบบ ภษ.01-44) กับราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ราคาขายปลีกที่แนะนำของผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายอื่นในสินค้าประเภทเดียวกัน และพบว่าสัดส่วนราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมต่อราคาขายปลีกของโจทก์ต่ำกว่ารายอื่น ซึ่งหากไม่มีเหตุผลอันสมควร จำเลยอาจออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่มต่อไป โจทก์จึงทำหนังสือชี้แจงและส่งหลักฐานเพื่อประกอบการชี้แจงทั้งสามครั้งได้ ประกอบกับหลังจากจำเลยประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่มแล้ว โจทก์ก็อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว เมื่อพิจารณาเนื้อหาในอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองของโจทก์ ก็พบว่าโจทก์สามารถทำคำอุทธรณ์โดยแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลต่าง ๆ เพื่อโต้แย้งการกำหนดมูลค่าสินค้าเครื่องดื่มน้ำอัดลมตามประกาศได้อย่างละเอียดพร้อมเหตุผล ถือว่าโจทก์ได้รู้ข้อเท็จจริงและข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนซึ่งเป็นเหตุผลในการออกประกาศกำหนดมูลค่าเครื่องดื่มดังกล่าวแล้ว จึงเป็นกรณีที่เหตุผลในการออกคำสั่งทางปกครองเป็นที่รู้กันอยู่แล้วไม่จำต้องระบุอีกตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2)