คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มูลค่าหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นที่แสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะ ผู้รับโอนหุ้นต้องรับผิดมูลค่าหุ้นค้างชำระ
การขายหุ้นพิพาทเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันในระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอน สัญญาซื้อขายหุ้นจึงเป็นโมฆะ และการที่ผู้ร้องรับโอนหุ้นพิพาทจากผู้ถือหุ้นเดิมผู้โอน โดยบริษัทจำเลยไม่รู้เห็นด้วยกับการแสดงเจตนาลวง ถือว่าบริษัทจำเลยรับจดแจ้งการโอนหุ้นโดยสุจริต ทำให้บริษัทจำเลยไม่อาจฟ้องเรียกมูลค่าหุ้นในส่วนที่ขาดจากผู้โอนได้ เป็นความเสียหายของบริษัทจำเลยอันเกิดแต่การแสดงเจตนาลวงนั้น การแสดงเจตนาลวงที่ทำให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะนี้จึงไม่อาจยกขึ้นต่อสู้บริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก ผู้ร้องต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นที่ค้างชำระ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับรองขึ้นอันถือได้ว่าเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของผู้ร้องต้องนำสืบว่ามีการชำระมูลค่าของหุ้นพิพาทเต็มแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นและการรับผิดชอบมูลค่าหุ้นค้างชำระ: การโอนหุ้นที่มีการลงนามพยานและประทับตราบริษัท ใช้ยันบริษัทได้
สัญญาโอนหุ้นระหว่างผู้ร้องกับ ก. มีกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยลงชื่อเป็นพยานพร้อมทั้งประทับตราสำคัญของบริษัทแม้จะไม่มีการจดแจ้งการโอนทั้งชื่อ และสำนักงานผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นก็อาจนำการโอนหุ้นนั้นมาใช้ยันบริษัทจำเลยได้ไม่เป็นกรณีที่ต้องตก อยู่ ในบังคับของมาตรา 1129 วรรคสาม ความรับผิดของผู้โอนสำหรับจำนวนเงินในมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1133 หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบต่อบริษัททั้งที่ได้โอนหุ้นนั้นไปและนำการโอนหุ้นนั้นมาใช้อ้างแก่บริษัทได้ตามมาตรา 1129วรรคสามไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ ผู้จำนำต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ตามมูลค่าหุ้น หากขายได้เงินน้อยกว่าก็ต้องชดใช้ส่วนต่าง
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ จำเลยที่ 1, ที่ 4, ที่ 5, ที่ 6 และที่ 7 ได้จำนำหุ้นซึ่งจำเลยแต่ละคนเป็นผู้ถือเพื่อเป็นการประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 สัญญาจำนำระบุว่าผู้จำนำยอมรับผิดต่อผู้รับจำนำในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และถ้าขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมชดใช้เงินที่ยังขาดอีกจนครบนั้น ต้องแปลว่าจำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เต็มมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนนำมาจำนำ หากภายหลังขายได้เงินสุทธิน้อยกว่ามูลค่าหุ้นแล้ว ผู้จำนำยอมรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้น
ปัญหาว่าการขายทอดตลาดหุ้นที่จำนำและโอนหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการขายทอดตลาดเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าพ.ศ.2474 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 พ.ศ.2515 และพระราชบัญญัติโรงรับจำนำนั้น จำเลยมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหุ้นเพิ่มทุนราคาสูงกว่ามูลค่า ต้องได้รับอนุญาตตามหนังสือบริคณห์สนธิและกฎหมาย
ป.พ.พ.มาตรา 1105 นั้นใช้บังคับตลอดถึงการออกหุ้นโดยเพิ่มทุนของบริษัทด้วย ไม่ใช่ใช้สำหรับในการตั้งบริษัทใหม่เท่านั้น ฉะนั้นการที่บริษัทจะออกหุ้นในการเพิ่มทุน ให้มีราคาสูกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้จะต้องอาศัยหนังสือบริคนห์สนธิของบริษัทได้ให้อำนาจไว้ จึงจะเป็นการถูกต้องตามข้อบัญญัติของมาตรา 1105 วรรค 2
ที่ประชุมใหญ่ของบริษัทลงมติพิเศษให้ออกหุ้นที่เพิ่มขึ้นโดยเรียกเงินให้เปล่าหรือพรีเมียมอีกส่วนหนึ่ง หุ้นละ 50 บาท รวมกับมูลค่าของหุ้น 100 บาท เป็น 150 บาทนั้น เรียกว่าเป็นารออกหุ้นราคาสูงกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้ เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 1105 วรรค 2 และเป็นมติอันผิดระเบียบซึ่งจะถูกศาลเพิกถอนได้ตามมาตรา 1195.
มติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันจะถือได้ว่าเป็นการแก้ไข หนังสือบริคนห์สนธิของบริษัทได้นั้น จะต้องปฏิบัติตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1194 ให้ครบถ้วน.
ที่ประชุมใหญ่ของบริษัทลงมติให้เพิ่มทุนและอนุญาตให้ออกหุ้นราคาสูงกว่ามูลค่าได้ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1105 วรรค 2 ผู้ถือหุ้นได้คัดค้านว่าไม่ควรขายหุ้นราคาสูงกว่ามูลค่าในใบหุ้น แต่ต่อมาผู้ถือหุ้นคนนั้น ได้ตอบรับซึ้อหุ้นที่ออกใหม่ตามมติประชุมในคราวนั้น ไม่เป็นเหตุ+ถือหุ้นในการที่จะนำคดีมาฟ้อง+ ให้เพิกถอนมติอันผิดระเบียบนั้น มาตรา 1195.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดทุนบริษัทส่งผลต่อมูลค่าหุ้น โจทก์นำส่วนลดมาหักเป็นรายจ่ายภาษีไม่ได้จนกว่าจะขายหุ้นออกไป
ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (17) ที่บัญญัติมิให้นำค่าของทรัพย์สินที่ตีราคาต่ำลง มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธินั้น มีเจตนารมณ์ที่จะห้ามบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำมูลค่าของทรัพย์สินที่มีราคาต่ำลงมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เนื่องจากมูลค่าของทรัพย์สินที่มีการตีราคาต่ำลงนั้น ยังมิใช่รายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น รายจ่ายจะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อมีการขายทรัพย์สินดังกล่าวไปแล้วได้มูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนซื้อทรัพย์สินนั้นมา
โจทก์ซื้อหุ้นของบริษัท ล. โดยถือไว้ในลักษณะทรัพย์สินเพื่อรับผลประโยชน์จากเงินปันผล การที่ต่อมาบริษัท ล. ลดทุนลงโดยลดจำนวนหุ้นที่มีอยู่เพื่อลดผลขาดทุนสุทธิมีผลเพียงทำให้มูลค่าหุ้นรวมของโจทก์ลดลงตามสัดส่วนที่มีการลดจำนวนหุ้น ซึ่งเป็นผลให้มูลค่าทั้งสิ้นของเงินลงทุนในหุ้นอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์มีมูลค่าลดลง แต่กรณีนี้จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ต่อเมื่อมีการขายหุ้นส่วนที่เหลือจากการลดจำนวนหุ้นดังกล่าวไปทั้งหมดแล้วและมีผลขาดทุน เมื่อโจทก์ยังมิได้ขายหุ้นในส่วนที่เหลือจากการลดจำนวนหุ้นไป จึงถือว่ายังไม่มีรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงของทรัพย์สินดังกล่าวที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ กรณีเข้าลักษณะเป็น "ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่มีราคาต่ำลง" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (17) ซึ่งต้องห้ามมิให้นำไปคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ (1)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/50)