พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยโจทก์ร่วม: สิทธิในการรวมฟ้องคดีเมื่อมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลเหตุ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 109 ฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ ของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงกับฝ่ายจำเลยว่า จำเลยทั้งหกจะจ่ายเงินสงเคราะห์ศพให้แก่สมาชิกที่เสียชีวิต แต่ปรากฏว่าเมื่อมีสมาชิกเสียชีวิตและมีการไปขอรับเงินสงเคราะห์ศพเพื่อจัดการศพได้รับแจ้งจากจำเลยทั้งหกว่าไม่มีเงินจ่ายสงเคราะห์ศพ และอ้างว่าสมาชิกทุกคนลาออกหมดแล้วซึ่งความจริงสมาชิกยังมิได้ลาออก และไม่ได้กระทำผิดระเบียบจนกระทั่งมีการแจ้งความร้องทุกข์และพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกงประชาชนกับจำเลยทั้งหก โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าจึงทราบว่าจำเลยทั้งหกกระทำผิดข้อตกลงและสัญญาและเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาโดยปริยาย จำเลยทั้งหกจึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าตามทุนทรัพย์ที่ได้ชำระหรือชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าได้ชำระแก่จำเลยทั้งหก ถือได้ว่าโจทก์แต่ละคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 วรรคหนึ่ง จึงร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกมาในคดีเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม เหตุจากมูลเหตุแห่งสิทธิแตกต่างกัน ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพร้อมทั้งรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่เช่า พร้อมกับให้ชำระค่าใช้ประโยชน์และค่าเช่าค้างชำระโดยโจทก์อ้างว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว การที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าอาคารโดยมูลเหตุที่จำเลยยอมมอบอาคารของจำเลยในพื้นที่เช่าให้โจทก์ใช้ประโยชน์ แม้อาคารดังกล่าวจะเป็นทรัพย์ที่เกี่ยวพันอยู่ในฟ้องเดิมและจำเลยฟ้องแย้งโดยไม่ได้อาศัยเหตุจากการถูกบอกเลิกสัญญาสัมปทานก็ตาม แต่มูลเหตุให้ใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้รับผิดตามฟ้องและฟ้องแย้งนั้น โจทก์และจำเลยต่างอาศัยมูลเหตุแห่งสิทธิแตกต่างกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7140/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา แม้ศาลยกคำขอในเหตุฉุกเฉินแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิยื่นคำขอใหม่ได้ หากมีมูลเหตุแห่งการคุ้มครอง
เดิมโจทก์ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินพร้อมกับคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นยกคำขอในเหตุฉุกเฉินนั้น ทำให้คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวฉบับที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสาม การที่ศาลยกคำขอในเหตุฉุกเฉินย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำขอตามมาตรา 254 นั้นใหม่ โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาฉบับใหม่ลงวันที่ 9 เมษายน 2544 เข้ามาได้อีก แม้ต่อมาก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งตามคำร้องฉบับดังกล่าว โจทก์จะได้ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินพร้อมกับคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาฉบับลงวันที่ 11 เมษายน 2544 เข้ามาอีก และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในวันเดียวกันนั้นเอง ก็มีผลเป็นการยกคำขอในเหตุฉุกเฉินและทำให้คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วยเท่านั้น จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเช่นเดียวกันนั้นอีก ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจไต่สวนและมีคำสั่งตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2544 ที่โจทก์ยื่นไว้ก่อนได้ กรณีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
อนึ่ง จำเลยผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้กระทำการยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อ ซึ่งโจทก์ผู้เช่าซื้ออ้างว่าเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาเช่าซื้อและทำให้โจทก์เสียหาย เมื่อคดีของโจทก์มีมูลและมีเหตุผลเพียงพอ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) หาจำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่
อนึ่ง จำเลยผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้กระทำการยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อ ซึ่งโจทก์ผู้เช่าซื้ออ้างว่าเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาเช่าซื้อและทำให้โจทก์เสียหาย เมื่อคดีของโจทก์มีมูลและมีเหตุผลเพียงพอ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) หาจำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4492/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงานไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นเสียหายต่างจากคดีอาญา แม้มีมูลเหตุจากเหตุการณ์เดียวกัน
ในคดีอาญา อัยการโจทก์กล่าวหาว่าโจทก์ในคดีนี้ซึ่งครอบครองดูแลรักษาสินค้าของผู้เสียหาย (จำเลยในคดีนี้) แล้วโจทก์ได้เบียดบังเอาไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต และมีคำขอให้โจทก์คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไปเป็นเงิน 310,145 บาทพร้อมดอกเบี้ย แต่คดีนี้นอกจากจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมกับบุคคลอื่นยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปแล้ว จำเลยยังอ้างในฟ้องแย้งด้วยว่าโจทก์ครอบครองทรัพย์สินของจำเลย โจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งคืนทรัพย์สินดังกล่าวแก่จำเลย แต่โจทก์มิได้ส่งคืนให้กลับนำไปมอบให้แก่บุคคลอื่น จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำผิดต่อสัญญาจ้างแรงงาน ดังนี้ เห็นได้ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลละเมิด แต่คดีนี้จำเลยอ้างว่าโจทก์ทำผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายรวมอยู่ด้วย แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีอาญา แต่ก็วินิจฉัยเพียงว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอที่จะฟังว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) มีส่วนร่วมรู้เห็นกับผู้ที่มารับสินค้า ซึ่งเท่ากับฟังว่ายังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกเท่านั้น โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้จำเลยได้รับความเสียหายดังที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในคดีนี้หรือไม่ ที่จำเลยฟ้องแย้งจึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวทางภารจำยอม/จำเป็น: ศาลมีอำนาจสั่งคุ้มครองหากมีมูลและเหตุเพียงพอ แม้ยังต้องพิสูจน์ในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาว่า ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็น ขอให้ห้ามจำเลยปิดกั้นหรือทำลายทางพิพาทเพื่อให้โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยขอให้มีคำสั่งห้ามจำเลยปิดกั้นและทำลายทางพิพาทและให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นส่วนหนึ่งเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2)เมื่อศาลชั้นต้นพอใจว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้แล้ว จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ยกคำร้องของโจทก์ จำเลยจะต้องโต้เถียงว่า วิธีการที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวมาใช้หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่ศาลจะมีคำสั่งต่อไปตามมาตรา 261 วรรคสาม การที่จำเลยอุทธรณ์ยกเหตุโต้เถียงเพียงว่า ทางพิพาทไม่เคยมีมาก่อน หรือทางพิพาทกว้างประมาณ 3 วา และยาวประมาณ 15 วา นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นพิจารณา ไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6883/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: การเลื่อนคดีซ้ำๆ แสดงถึงการประวิงคดี ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตให้เลื่อน
ตามพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 9 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ศาลที่ได้รับคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามมาตรา 8 ทำการไต่สวนคำร้องนั้นว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่ โดยมาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน และกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีตาม พระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม ดังนั้นการพิจารณาว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของผู้ร้องมีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตหรือไม่จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องสองนัดแรก ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ และระบุในคำร้องนัดที่ 2 ว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้องเสียศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปอีก รวมระยะเวลาที่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ นับได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีโดยให้โอกาสแก่ผู้ร้องอย่างมากแล้วแต่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในการไต่สวนคำร้องนัดที่ 4 โดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีกพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล การที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าผู้ร้องจงใจประวิงคดีให้เนิ่นช้าและไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจึงชอบแล้ว มาตรา 13(2) แห่งพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ หาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่โดยทำความเห็นและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณา จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 9 วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและการใช้สิทธิเรียกร้อง – กรณีถอนฟ้องก่อนมีคำพิพากษา
ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การอันเป็นกรณีที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในคดีที่ฟ้อง เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีนี้อีกย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 แม้ทุนทรัพย์และระยะเวลาในการคิดค่าปรับและการคิดค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้จะต่างกับคดีก่อน ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อระยะเวลาที่โจทก์นำมาเป็นฐานการคำนวณค่าปรับและค่าขาดประโยชน์นั้นขึ้นอยู่กับความเสียหายอันเป็นมูลแห่งการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์แม้ระยะเวลาของการคิดคำนวณในฟ้องเดิมจะต่างกับคดีนี้ ก็หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่ ฟ้องโจทก์ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซื้อขายไม่อาจถือเป็นฟ้องซ้อนคดีอาญาฉ้อโกง แม้คำขอท้ายฟ้องคล้ายกัน หากมูลเหตุต่างกัน
โจทก์ได้ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายแล้วแต่จำเลยยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกร้อยละ75โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระราคาทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งจำเลยซื้อไปและยังไม่ได้ชำระราคาได้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงก็เป็นการบรรยายฟ้องในลักษณะเล่าเรื่องตามความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงให้ทำกระเป๋าโดยจ่ายเงินเพียงร้อยละ25ของราคาทั้งหมดการจะปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดเป็นข้อหารือบทเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับกฎหมายเองแม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืนหรือใช้ราคาก็หาเป็นเรื่องละเมิดเสมอไปไม่ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ว่าเป็นเรื่องซื้อขายไม่เป็นการนอกฟ้อง ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานร่วมกันฉ้อโกงและขอให้คืนหรือใช้ราคาเงินค่ากระเป๋าที่ฉ้อโกงซึ่งเป็นผู้เสียหายไปศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องแต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาแม้จะถือว่าเป็นการขอแทนโจทก์ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43ก็ตามแต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้นส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายที่เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องในมูลแห่งสัญญาซื้อขายที่มีต่อกันอยู่ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันก็ตามแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็มิได้เป็นอย่างเดียวกันซึ่งในคดีอาญาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกงแต่คดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขายโดยโจทก์เรียกร้องเอามูลค่าทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยยังค้างชำระอยู่มิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การพิจารณาจากวันที่รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำละเมิด, การนับอายุความจากมูลเหตุละเมิดไม่ใช่ความผิดทางอาญา
แม้โจทก์อุทธรณ์ คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้ยกปัญหาอายุความขึ้นเป็นประเด็นแห่งอุทธรณ์เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยถึงปัญหาอายุความไว้แต่ คำแก้อุทธรณ์มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองได้กล่าวแก้ว่าฟ้องโจทก์ ขาดอายุความด้วยเมื่อชั้น ชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้ กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าคดีโจทก์ ขาดอายุความหรือไม่ไว้การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหา อายุความขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว โจทก์ฟ้อง เรียกค่าเสียหายฐานละเมิดโดยมิได้กล่าวในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดในทางอาญาต่อโจทก์คดีจึง นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: ใช้ระยะเวลาตามกฎหมายอาญาเมื่อมูลเหตุเกิดจากความผิดอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. จำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส. เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์ฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายอาญาและศาลพิพากษาแล้วว่า ส. มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีจึงมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมาภายใน 10 ปี นับแต่วันกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้อง ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ส. กระทำความผิดเบียดบังยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำผิดจึงไม่ขาดอายุความ