พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินในโอกาสสมรสและการถอนคืนสิทธิเนื่องจากเนรคุณ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการให้มีมูลเหตุจูงใจจากการสมรส จึงไม่สามารถถอนคืนได้
แม้ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาล ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 535 (4) ไม่ได้
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 535 (4) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาประสงค์ต่อทรัพย์สำคัญกว่ามูลเหตุจูงใจในการชิงทรัพย์ แม้จะอ้างเหตุแสดงความกล้า
จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในทันใดภายหลังเกิดเหตุและให้การวันเดียวกันนั้นว่า จำเลยกับ ต. ตกลงกันว่าหากพบเห็นนักศึกษาต่างโรงเรียนก็ให้แย่งเสื้อตัวที่นักศึกษาของสถาบันนั้นมาให้ได้ โดยไม่ปรากฏข้อความใดว่าจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์ต่อทรัพย์ ทั้งพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาเช่นนั้น จำเลยก็มิได้กล่าวอ้างไว้ ตรงกันข้ามจำเลยกลับนำชี้ที่เกิดเหตุและแสดงท่าให้เจ้าพนักงานตำรวจถ่ายรูปไว้ประกอบคำรับสารภาพหลังจากรับทราบข้อกล่าวหาว่ากระทำผิดฐานชิงทรัพย์ ชั้นพิจารณาจำเลยก็มิเคยยกประเด็นขาดเจตนาลักทรัพย์ขึ้นแถลงต่อศาล คำรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยนั้นเชื่อว่าจำเลยกระทำด้วยความสมัครใจและตามความเป็นจริงเพราะจำเลยถูกจับกุมแทบจะทันใดภายหลังเกิดเหตุ จึงไม่อาจคิดหาข้อแก้ตัวเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดได้ทัน ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยจับเสื้อช๊อปของผู้เสียหายไว้ขณะที่พูดขอเสื้อ ครั้นถูกปฏิเสธจำเลยจึงล้วงมีดคัทเตอร์ออกมาจากกระเป๋ากางเกง เมื่อผู้เสียหายถูกพวกของจำเลยต่อย จำเลยก็เข้าชกต่อยผู้เสียหายจนกระทั่งได้เสื้อช๊อปของผู้เสียหายมา เข้าลักษณะเป็นการคุกคามขู่เข็ญให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่กายหากผู้เสียหายไม่ยอมตามที่จำเลยต้องการ ผู้เสียหายถอดเสื้อช๊อปให้จำเลยเพราะกลัวว่าจะถูกทำร้ายอีก จึงมิใช่การให้ทรัพย์ด้วยความสมัครใจแต่เป็นไปเพราะอยู่ใต้อำนาจบังคับของจำเลย จำเลยได้ไปซึ่งเสื้อช๊อปของผู้เสียหายแล้วจึงหยุดขู่เข็ญพร้อมกลับลงจากรถโดยสารคันเกิดเหตุ อันเป็นเครื่องแสดงเจตนาว่าจำเลยประสงค์ต่อเสื้อช๊อปเป็นสำคัญ จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนที่จำเลยอ้างว่ากระทำไปเพราะต้องการแสดงความกล้าและความสามารถให้รุ่นพี่ของจำเลยเห็นนั้นเป็นเพียงมูลเหตุจูงใจที่ชักนำให้จำเลยตัดสินใจกระทำความผิด ไม่มีผลให้จำเลยพ้นจากความรับผิดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาแฟรนไชส์ จำเลยต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการผิดสัญญา
เหตุที่โจทก์ที่ 1 เข้าทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแฟรนไชส์กับจำเลยเป็นเพราะโจทก์ที่ 1 เชื่อในคำโฆษณาของจำเลยว่า โจทก์ที่ 1 จะได้ซื้อสินค้าในราคาถูกกว่าทั่วไปและได้รับการส่งสินค้าตรงเวลา เป็นสินค้าที่เป็นที่นิยม 4 ยี่ห้อ เป็นอะไหล่แท้จากโรงงาน รายได้ของแต่ละสาขาต่อเดือนอยู่ที่จำนวน 500,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท อัตราส่วนกำไรโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว และมีการบริหารจัดการแฟรนไชส์ที่ดี แม้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิจะมิได้ระบุข้อตกลงเกี่ยวกับราคาสินค้า ความหลากหลายของสินค้าและการส่งสินค้าให้ถูกต้องก็ตาม แต่การโฆษณาของจำเลยดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 เข้าใจได้ในขณะเข้าทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกับจำเลยว่าจำเลยผู้ให้สิทธิตกลงจะดำเนินการตามคำโฆษณานั้นเพื่อเป็นการตอบแทนที่โจทก์ที่ 1 เข้าทำสัญญาเป็นผู้รับสิทธิจนเป็นมูลเหตุจูงใจให้โจทก์ที่ 1 เข้าทำสัญญากับจำเลย ดังนี้ จึงต้องถือว่าคำโฆษณาดังกล่าวเป็นข้อตกลงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิผูกพันจำเลยให้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำโฆษณานั้นด้วย เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินการตามคำโฆษณาก็ย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เมื่อโจทก์ที่ 1 บอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว จำเลยก็จำต้องให้โจทก์ที่ 1 คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม และโจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในฐานะผิดสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่