พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระภิกษุมีอำนาจฟ้องขับไล่: การยกทรัพย์ให้ไม่ถือเป็นการเรียกร้องมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินที่โจทก์ได้รับการยกให้จาก ล. จำเลยต่อสู้คดีว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยและบิดาจำเลย คดีมีประเด็นเฉพาะบ้านพิพาท ซึ่งคู่ความตีราคาไว้ 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ป.พ.พ.มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล.มีชีวิตอยู่ โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ป.พ.พ.มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล.มีชีวิตอยู่ โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรมและการยกทรัพย์มรดก โดยพิจารณาจากเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม ณ ขณะทำพินัยกรรม
โจทก์ทั้งหกฟ้องจำเลยทั้งสามโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกและมีอำนาจขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ก.เจ้ามรดก ขอให้จำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งหกคนละเท่า ๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วน ตีราคาประมาณคนละ 59,750 บาท รวม 6 คน ราคาประมาณ358,500 บาท ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนที่เรียกร้องจากจำเลยทั้งสามจึงไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งหกฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
พินัยกรรมฉบับพิพาทของ ก.เจ้ามรดกซึ่งทำขึ้นในวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2510 มีข้อความระบุว่า "(1) ที่นา 1 แปลง เนื้อที่ 36 ไร่ ส.ค.1เลขที่ 181 อยู่ที่ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ให้แก่จำเลยที่ 1"และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 181 เอกสารหมาย ล.3 แผ่นที่ 1ซึ่งมีชื่อ ก.เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าวระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้36 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ ก.ทำพินัยกรรมนั้นยังมิได้มีการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า ก.เจ้ามรดกประสงค์จะยกที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 181 ทั้งแปลงให้จำเลยที่ 1 แม้ต่อมาในการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินแปลงดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2517 จะปรากฏว่ามีเนื้อที่58 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา ก็ตาม เพราะขณะทำพินัยกรรมเจ้ามรดกระบุเนื้อที่ดินทั้งแปลงตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ตีความข้อกำหนดในพินัยกรรมพิพาทว่า ก.มีเจตนายกที่ดินมีโฉนดทั้งแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 จึงตรงตามเจตนาของ ก.ผู้ทำพินัยกรรมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พินัยกรรมฉบับพิพาทของ ก.เจ้ามรดกซึ่งทำขึ้นในวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2510 มีข้อความระบุว่า "(1) ที่นา 1 แปลง เนื้อที่ 36 ไร่ ส.ค.1เลขที่ 181 อยู่ที่ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ให้แก่จำเลยที่ 1"และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 181 เอกสารหมาย ล.3 แผ่นที่ 1ซึ่งมีชื่อ ก.เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าวระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้36 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ ก.ทำพินัยกรรมนั้นยังมิได้มีการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า ก.เจ้ามรดกประสงค์จะยกที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 181 ทั้งแปลงให้จำเลยที่ 1 แม้ต่อมาในการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินแปลงดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2517 จะปรากฏว่ามีเนื้อที่58 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา ก็ตาม เพราะขณะทำพินัยกรรมเจ้ามรดกระบุเนื้อที่ดินทั้งแปลงตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ตีความข้อกำหนดในพินัยกรรมพิพาทว่า ก.มีเจตนายกที่ดินมีโฉนดทั้งแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 จึงตรงตามเจตนาของ ก.ผู้ทำพินัยกรรมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7863/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้ใช้บ้านเป็นหลักประกันและตกลงยกให้หากผิดนัดชำระหนี้เป็นโมฆะ หากไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีใจความว่า ถ้าโจทก์ผู้กู้ไม่นำเงินมาชำระคืนแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ตามกำหนดผู้กู้ยินยอมยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง และสัญญากู้ยืมไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินคืนไว้ ความตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่ได้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินนั้น ในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบซึ่งขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองความตกลงของโจทก์และผู้ร้องตามสัญญาข้อนี้จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม ดังนั้น แม้โจทก์ยื่นคำแถลงรวมทั้งเบิกความยืนยันว่าขอยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์บ้านจึงยังคงเป็นของโจทก์ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก กรณีทรัพย์สินถูกยกให้ก่อนเสียชีวิต
คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านอ้างว่า ทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งได้แก่ที่ดิน 2 แปลง ผู้ตายได้ยกให้ผู้คัดค้านทั้งสอง ก่อนผู้ตายถึงแก่-ความตาย จึงไม่มีทรัพย์มรดกเหลืออีก และผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกรายนี้ซึ่งถ้าได้ความตามคำร้องขอของผู้คัดค้าน กรณีย่อมถือได้ว่าคดีมีเหตุสมควรที่ศาลจะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดกเมื่ออ้างว่าทรัพย์มรดกถูกยกให้ไปก่อนตายแล้ว
คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านอ้างว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งได้แก่ที่ดิน2แปลงผู้ตายได้ยกให้ผู้คัดค้านทั้งสองก่อนผู้ตายถึงแก่ความตายจึงไม่มีทรัพย์มรดกเหลืออีกและผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกรายนี้ซึ่งถ้าได้ความตามคำร้องขอของผู้คัดค้านกรณีย่อมถือได้ว่าคดีมีเหตุสมควรที่ศาลจะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4059/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์: การไม่แจ้งความดำเนินคดีในทันทีอาจสันนิษฐานได้ว่ามีการยกทรัพย์ให้แก่ผู้ต้องหา
ผู้เสียหายแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยลักทรัพย์เพียง 2 รายการ คือตุ้มหูทองคำและแหวนเพชรรัสเซียเมื่อพนักงานสอบสวนไปตรวจค้นบ้านญาติจำเลยก็ไม่พบทรัพย์ดังกล่าวคงพบแต่หมวกพลาสติกสำหรับใส่อาบน้ำในกระเป๋าเสื้อผ้าจำเลย ผู้เสียหายก็ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับหมวกพลาสติกในทันที กรณีอาจเป็นได้ว่าผู้เสียหายให้หมวกดังกล่าวแก่จำเลยแล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583-584/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมต้องพิจารณาว่าทรัพย์สินเป็นของเจ้ามรดกจริงหรือไม่ การยกทรัพย์ก่อนเสียชีวิตมีผลต่อพินัยกรรม
การที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้ใด โดยอ้างว่า เป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกนั้น มิใช่จะถือว่าทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรม เป็นของเจ้ามรดกเสมอไป ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานต่าง ๆ ว่าเป็น ทรัพย์ของเจ้ามรดกหรือไม่ เมื่อคดีฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้ยกทรัพย์ บางส่วนให้จำเลยทั้งสองก่อนตาย ทรัพย์ส่วนที่ยกให้ย่อมไม่เป็น ของเจ้ามรดกที่จะทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ทั้งสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์โดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3637/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์ให้แล้วขอคืนภายหลัง & การแจ้งความเท็จ หมิ่นประมาท - ศาลฎีกาห้ามประเด็นใหม่
โจทก์ยกที่ดิน 30 ไร่ให้แก่จำเลยทั้งสอง และจำเลยทั้งสองได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์มาประมาณ 20 ปี โจทก์ออกจากบ้านจำเลยทั้งสองไปโดยมิใช่ความผิดของจำเลยทั้งสองและขอแบ่งที่ดิน 6 ไร่ เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมแบ่งที่ดินดังกล่าวให้โจทก์จึงมิใช่กรณีที่จำเลยทั้งสองบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้
ข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่า จำเลยทั้งสองแจ้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านให้จับโจทก์โดยกล่าวหาว่าโจทก์ลักผ้าซิ่นไหม ซึ่งตามประเพณีอีสานถือว่าหมิ่นประมาทโจทก์นั้น ฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวถึงความข้อนี้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่า จำเลยทั้งสองแจ้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านให้จับโจทก์โดยกล่าวหาว่าโจทก์ลักผ้าซิ่นไหม ซึ่งตามประเพณีอีสานถือว่าหมิ่นประมาทโจทก์นั้น ฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวถึงความข้อนี้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารยกทรัพย์สินระหว่างชีวิต ไม่ใช่พินัยกรรม หากไม่มีเจตนาให้มีผลบังคับใช้เมื่อเสียชีวิต
ผู้ตายทำเอกสารไว้ มีข้อความว่า "กระผม พระรัตน์ โอภาโสขอมอบถวายท่านเจ้าคุณพระสมุทรเมธาจารย์ เรื่องทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่มีอยู่ในขณะเป็นพระนี้ทั้งหมดห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาด" ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าเป็นการแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินให้เกิดผลบังคับเมื่อได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเลย จึงมิใช่พินัยกรรมคงเป็นเพียงหนังสือยกทรัพย์ให้ในระหว่างมีชีวิตเท่านั้น การที่ระบุห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาดเป็นข้อความเขียนห้ามไว้ตามธรรมดา เพราะได้ยกให้ไปแล้วจะแปลเลยไปถึงว่ามีความหมายเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตายหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้