พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท การพิพากษานอกฟ้อง และการพิสูจน์การยกทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ ป. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว เนื่องจาก ป. ได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นเรือนหอก่อนแล้ว จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ป. ซึ่งได้ยกให้จำเลยโดยได้จดทะเบียนถูกต้องและ ป. ยังทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้จำเลยเพียงผู้เดียวคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ป. และไม่ได้ยกให้แก่โจทก์หรือจำเลยแล้วพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกลับคืนเป็นชื่อของ ป. ตามเดิม จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้อยู่กินร่วมกันในบ้านพิพาทมาตลอดหากเพียงแต่พักอาศัยอยู่ลักษณะเป็นการชั่วคราว ดังจะเห็นได้จากที่โจทก์แยกครอบครัวไปอยู่ที่อื่นหลังจากนั้นไม่นาน ประกอบกับไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งได้ความจากปลัดอำเภอผู้จัดทำหนังสือมอบอำนาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ ป. ว่า ป.ต้องการแบ่งที่ดินพิพาทส่วนที่ไม่มีบ้านให้จำเลย ส่วนที่ดินพิพาทบริเวณที่มีบ้านจะเก็บไว้ก่อน เช่นนี้พอชี้ชัดได้ว่า ป. มิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสิทธิเด็ดขาด พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลย
ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้อยู่กินร่วมกันในบ้านพิพาทมาตลอดหากเพียงแต่พักอาศัยอยู่ลักษณะเป็นการชั่วคราว ดังจะเห็นได้จากที่โจทก์แยกครอบครัวไปอยู่ที่อื่นหลังจากนั้นไม่นาน ประกอบกับไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งได้ความจากปลัดอำเภอผู้จัดทำหนังสือมอบอำนาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ ป. ว่า ป.ต้องการแบ่งที่ดินพิพาทส่วนที่ไม่มีบ้านให้จำเลย ส่วนที่ดินพิพาทบริเวณที่มีบ้านจะเก็บไว้ก่อน เช่นนี้พอชี้ชัดได้ว่า ป. มิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสิทธิเด็ดขาด พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระภิกษุมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้ แม้ได้รับการยกทรัพย์สินให้ขณะเจ้าของยังมีชีวิต ไม่ใช่การเรียกร้องมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินที่โจทก์ได้รับการยกให้ จาก ล. จำเลยต่อสู้คดีว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยและบิดาจำเลยคดีมีประเด็นเฉพาะบ้านพิพาท ซึ่งคู่ความตีราคาไว้ 200,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล. มีชีวิตอยู่โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล. มีชีวิตอยู่โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ไม่ใช่การมรดก ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลพ.ศ. 2489 นั้น หมายความว่าคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาล ของสี่จังหวัดดังกล่าว ให้ศาลใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน ดังนั้น กรณีที่จะเป็นคดีต้องด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เสียก่อน คดีนี้เป็นเรื่องเจ้ามรดกยกที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นสิทธิแก่จำเลยและจำเลยร่วมตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ถึงแก่ความตาย การยกที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแม้จะทำตามหลักกฎหมายอิสลาม ที่เรียกว่าพิธีแฮร์เบอะ โดยทำพิธีอย่างถูกต้องที่บ้านโต๊ะอิหม่ามก็ตาม กรณีก็ไม่ใช่เรื่องมรดกเพราะเป็นเรื่องให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ บทกฎหมายในเรื่องนี้จึงต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาและการตกเป็นของผู้อื่น มิใช่ส่วนหนึ่งของมรดก
พระครูน.ผู้มรณภาพมีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารรวม 2 บัญชีบัญชีแรกเป็นมูลนิธิวัดต.ของวัดโจทก์ ผู้มีสิทธิถอนเงินได้แก่ผู้มรณภาพร่วมกับกรรมการวัดอีก 2 คน ส่วนอีกบัญชีฝากในนามส่วนตัวผู้มรณภาพเป็นผู้ลงนามถอนเงินได้เอง เงินที่ยกให้นี้ถอนจากบัญชีเงินฝากส่วนตัว เมื่อเป็นเงินส่วนตัวของผู้มรณภาพผู้มรณภาพย่อมจะยกให้แก่ผู้ใดก็ได้ เมื่อพระครูน.ผู้มรณภาพได้ยกเงินจำนวนตามฟ้องให้แก่จำเลยโดยเสน่หา กรรมสิทธิ์ในเงินย่อมตกเป็นของจำเลยนับแต่วันรับการยกให้ เงินจำนวนนี้ไม่ใช่ของผู้มรณภาพอีกต่อไปจึงไม่เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาแม้จำเลยจะมิได้ออกเงินช่วยค่าพยาบาลรักษาผู้มรณภาพ โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินคืนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม, มรดก, การยกทรัพย์สิน, อายุความ, สิทธิทายาท
ที่ดินพิพาทสองแปลงแรกเป็นทรัพย์มรดกของ ด.ผู้ตาย ดังนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนี้จึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมายส่วนที่ดินพิพาทอีก 2 แปลงหลังนั้น แม้ผู้ตายจะมีความประสงค์ยกให้แก่จำเลยในปี 2520 โดยการไปยื่นคำร้องต่อสำนักงานที่ดินขอยกที่ดินสองแปลงหลังที่ขณะนั้นยังเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ซึ่งการยกที่ดินให้แก่กันต้องมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ในนามผู้ยกให้ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมก่อน หลังจากนั้นจึงจะดำเนินการจดทะเบียนการยกให้แก่ผู้รับในภายหลัง เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนยกให้ ถือว่าการยกให้ยังไม่สมบูรณ์ ตามพฤติการณ์ของผู้ตายดังกล่าวแสดงว่าผู้ตายประสงค์จะยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงหลังนี้ให้แก่จำเลย โดยวิธีขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ตายจึงได้ไปดำเนินการเช่นนั้น หาใช่ผู้ตายเจตนายกให้แก่จำเลยทันทีโดยวิธีส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทแก่จำเลยไม่ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงหลังนี้ยังไม่ได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายในปี 2522ความประสงค์ของผู้ตายที่จะยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจึงไม่มีผลตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทสองแปลงหลังนี้จึงยังเป็นของผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินสองแปลงหลังนี้จึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้เช่นเดียวกันมิได้เป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดรวมทั้งที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง ให้แก่ ด. แต่ผู้เดียว เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ ด. ผู้รับพินัยกรรมทันที ส่วนจำเลยแม้จะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายแต่ได้ถูกตัดมิให้ได้รับทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้ายจำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายที่มีสิทธิรับทรัพย์มรดก ส่วนจำเลยร่วมเป็นบุตรของ ผ. มิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ดังนั้น จำเลยและจำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1755 ขึ้นต่อสู้ ด. ผู้รับพินัยกรรมรวมทั้งไม่มีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้รับมรดกจาก ด. เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้มรดก: ทายาทผู้รับมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้ของกองมรดก แม้จะมีการยกทรัพย์สินให้ก่อนเสียชีวิต
พ.บิดาจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมโจทก์ เมื่อ พ.ตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทจะต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ แต่ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของ พ. ที่ตกทอดได้แก่จำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้หนี้ดังกล่าว ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่นาของ พ.ที่นำมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้กู้ยืมแก่โจทก์ตามฟ้องจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้จำเลยจะอ้างว่ายึดทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับมรดกของ พ.เท่านั้น ดังนั้น แม้ พ.จะยกที่พิพาทอีก 2 แปลง ให้จำเลยก่อนตาย ซึ่งทำให้ไม่เป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ พ.ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ จำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภรรยาและเป็นเจ้าของร่วมกันในที่พิพาทไม่อาจขอให้ปล่อยที่พิพาทได้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้หนี้ดังกล่าว ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่นาของ พ.ที่นำมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้กู้ยืมแก่โจทก์ตามฟ้องจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้จำเลยจะอ้างว่ายึดทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับมรดกของ พ.เท่านั้น ดังนั้น แม้ พ.จะยกที่พิพาทอีก 2 แปลง ให้จำเลยก่อนตาย ซึ่งทำให้ไม่เป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ พ.ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ จำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภรรยาและเป็นเจ้าของร่วมกันในที่พิพาทไม่อาจขอให้ปล่อยที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอน/ตั้งผู้จัดการมรดกจากพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้กุศล และสิทธิในการนำสืบพยาน
ผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีพยานระบุว่าพินัยกรรมของผู้ตายอยู่ที่ผู้ร้อง และได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกคำสั่งเรียกพินัยกรรมดังกล่าวจากผู้ร้อง 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกให้ตามขอวันนัดไต่สวนพยานผู้คัดค้าน ผู้ร้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องไม่เคยมีพินัยกรรมของผู้ตายไว้ในครอบครอง ดังนี้จึงเป็นเรื่องหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกต้นฉบับพินัยกรรมของผู้ตายจากผู้ร้อง อันเป็นการแสดงเหตุจำเป็นที่ส่งต้นฉบับเอกสารเป็นพยานไม่ได้ไว้ก่อนแล้ว การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นแทนนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงประกอบคำร้องขอ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 มิได้ห้ามการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานเอกสาร ผู้คัดค้านมีสิทธินำสืบเกี่ยวกับพินัยกรรมได้แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าไม่มีพินัยกรรม การนำสืบของผู้คัดค้านไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม มิได้โต้เถียงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะพยานในพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อในขณะทำพินัยกรรม ปัญหาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทและมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่รับวินิจฉัย
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์โดยตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์อันถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเสียแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน
คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นแทนนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงประกอบคำร้องขอ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 มิได้ห้ามการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานเอกสาร ผู้คัดค้านมีสิทธินำสืบเกี่ยวกับพินัยกรรมได้แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าไม่มีพินัยกรรม การนำสืบของผู้คัดค้านไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม มิได้โต้เถียงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะพยานในพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อในขณะทำพินัยกรรม ปัญหาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทและมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่รับวินิจฉัย
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์โดยตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์อันถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเสียแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์สินโดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสโดยความยินยอมของคู่สมรส แม้ภายหลังจะมาฟ้องเพิกถอนมิได้ ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อ. ได้ที่ดินพิพาทมาโดยการรับมรดกระหว่างเป็นสามีโจทก์เมื่อปรากฏว่า อ. ได้รับมรดกที่ดินพิพาทมาก่อนวันที่ 16 ตุลาคม2519 อันเป็นวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มีผลใช้บังคับ ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่าง อ. กับโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1466
แม้ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นสินสมรสระหว่าง อ. กับโจทก์ก็ตามเมื่อปรากฏว่าการที่ อ. ยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยด้วยนั้น โจทก์ซึ่งรู้เห็นอยู่แล้วไม่ได้คัดค้านหรือทักท้วงประการใดกลับปล่อยให้จำเลยดำเนินการไถ่ถอนการขายฝาก และจดทะเบียนโอนที่ดินยกให้เป็นของจำเลยแล้ว โจทก์จะมาใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการยกให้ซึ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
แม้ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นสินสมรสระหว่าง อ. กับโจทก์ก็ตามเมื่อปรากฏว่าการที่ อ. ยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยด้วยนั้น โจทก์ซึ่งรู้เห็นอยู่แล้วไม่ได้คัดค้านหรือทักท้วงประการใดกลับปล่อยให้จำเลยดำเนินการไถ่ถอนการขายฝาก และจดทะเบียนโอนที่ดินยกให้เป็นของจำเลยแล้ว โจทก์จะมาใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการยกให้ซึ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การยกทรัพย์สินให้บุตร, การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต, ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเอง
อ. ได้ที่ดินพิพาทมาโดยการรับมรดกระหว่างเป็นสามีโจทก์เมื่อปรากฏว่า อ. ได้รับมรดกที่ดินพิพาทมาก่อนวันที่ 16 ตุลาคม2519 อันเป็นวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มีผลใช้บังคับ ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่าง อ. กับโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 แม้ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นสินสมรสระหว่าง อ. กับโจทก์ก็ตามเมื่อปรากฏว่าการที่ อ. ยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยด้วยนั้น โจทก์ซึ่งรู้เห็นอยู่แล้วไม่ได้คัดค้านหรือทักท้วงประการใดกลับปล่อยให้จำเลยดำเนินการไถ่ถอนการขายฝาก และจดทะเบียนโอนที่ดินยกให้เป็นของจำเลยแล้ว โจทก์จะมาใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการยกให้ซึ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้