คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยกฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,640 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8604/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขาย/จ้างทำของ กรณีสินค้ามีตำหนิ แม้รับมอบไปแล้ว ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแนบสำเนาใบสั่งซื้อและใบส่งของเพื่อประกอบข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ซึ่งจำเลยก็ให้การยอมรับเพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยไม่ถูกต้อง ฉะนั้นแม้โจทก์อ้างในคำฟ้องว่าเป็นเรื่องซื้อขายศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นเรื่องทั้งซื้อขายและจ้างทำของ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าเป็นเรื่องจ้างทำของ เช่นนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาเนื้อหาแห่งคำฟ้องประกอบทางนำสืบของคู่ความแล้วปรับบทกฎหมายเองตามที่ได้ความได้ ไม่จำต้องยึดถือหัวข้อที่โจทก์ระบุในคำฟ้องเป็นสำคัญ จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นอันเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
สิ่งของบางส่วนในจำนวนทั้งหมดที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยตามสัญญามีความชำรุดบกพร่องและไม่ถูกต้องตามสัญญา แม้จำเลยจะรับมอบสิ่งของจากโจทก์ซึ่งมีจำนวนมากถึง 8,988 ใบแต่ก็เป็นการรับมอบในลักษณะเป็นแผ่นกระดาษซึ่งจำเลยจะต้องนำมาพับเป็นกล่องเอง เมื่อสิ่งของมีจำนวนมากถึง 1 คันรถบรรทุก ความชำรุดบกพร่องนั้นจึงไม่อาจพึงพบได้ในขณะเมื่อจำเลยรับมอบอันจะถือว่าจำเลยยอมรับมอบการที่ทำจากโจทก์แล้วโดยมิได้อิดเอื้อนหาได้ไม่ หากจำเลยนำกล่องกระดาษที่มีคุณลักษณะและสภาพไม่สมบูรณ์เช่นนั้นไปใช้แม้เพียงบางส่วนก็ย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือในสินค้าของจำเลยต่อไปได้ จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญาที่ได้ตกลงไว้กับจำเลย และจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องทั้งสิ้น โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าจำเลยยังสามารถนำกล่องกระดาษที่สั่งซื้อหรือว่าจ้างให้โจทก์นำไปใช้บรรจุสินค้าของจำเลยได้โดยทำให้มีความแน่นหน้าเพิ่มด้วยการติดเทปกาวอันจะถือได้ว่าสิ่งของหรือการงานบางส่วนตามที่จำเลยว่าจ้างยังคงใช้งานได้เป็นประโยชน์แก่จำเลย กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 606 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7888/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญา ฆ่าผู้อื่น - หลักฐานไม่เพียงพอ ศาลยกฟ้อง - ความผิดมีอาวุธปืน - มีอำนาจฟ้อง
ในกรณีการกระทำความผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกัน พนักงานสอบสวนหาจำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตราหรือทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ แต่เมื่อใดแจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วยอีก พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ว่า ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่ามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต อันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างออกไป และอยู่ในกฎหมายต่างฉบับกัน ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
เจ้าพนักงานตำรวจยึดอาวุธปืนของกลางได้จากที่บ้านของจำเลยที่ 2 อาวุธปืนดังกล่าวไม่มีเลขทะเบียนโดยถูกต้อง ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพในข้อหานี้มาโดยตลอด เพียงพอให้รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนของกลางไปในทางสาธารณะนั้น จากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่มีพยานคนใดยืนยันว่าจำเลยที่ 2 พาอาวุธของกลางดังกล่าวติดตัวไปในทางสาธารณะด้วยแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับสารภาพข้อหานี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ข้อเท็จจริงก็ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดในข้อหานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากผู้เยาว์และการกระทำชำเรา: ศาลฎีกายกฟ้องฐานพรากผู้เยาว์ แม้เดิมศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ
ฎีกาจำเลยกล่าวถึงข้อเท็จจริงมีใจความว่า ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ซึ่งแม้ความผิดฐานดังกล่าวจะยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่เนื่องจากโจทก์จำเลยนำสืบมีสาระตรงกันข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายรู้จักกับจำเลยจากการแนะนำของนางสาว ศ. ซึ่งเป็นเพื่อนของผู้เสียหาย เพราะจำเลยต้องการร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย และในวันเกิดเหตุผู้เสียหายกับนางสาว ศ. พากันไปบ้านจำเลย โดยผู้เสียหายทราบแต่แรกแล้วว่าการไปบ้านจำเลยเพราะจำเลยประสงค์จะขอร่วมประเวณี เมื่อมีโอกาสอยู่ด้วยกันสองคนขณะนางสาว ศ. ขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านจำเลยไป จำเลยบอกให้ผู้เสียหายถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายก็ถอดเอง หลังจากร่วมประเวณีแล้วผู้เสียหายก็ยอมรับเงินจากจำเลยโดยไม่ได้แสดงอาการปฏิเสธ และเมื่อนางสาว ศ. กลับมารับผู้เสียหาย จำเลยก็ไม่ได้ขัดขวาง กอปรกับขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอายุ 14 ปี มีการศึกษาถึงระดับมัธยมและไม่ถึงกับไร้เดียงสา เพราะผู้เสียหายได้ยอมรับในการเบิกความตอบคำถามค้านว่า ผู้เสียหายเคยร่วมประเวณีกับชายอื่นมาก่อน แสดงว่าขณะผู้เสียหายอยู่ที่บ้านจำเลย ผู้เสียหายมีความอิสระในการเคลื่อนไหวไม่ได้อยู่ในความควบคุมของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการตัดอำนาจการปกครองของบิดามารดาผู้เสียหาย จึงไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ดังนั้น ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้แม้ว่าความผิดฐานนี้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7711/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดในความผิดที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง และการฎีกาขัดกับคำรับสารภาพ
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ด้วย แต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ จึงเท่ากับยกฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ความผิดฐานนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดฐานนี้อีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิด จึงเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย แม้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7375-7376/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุมทำให้จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องชอบแล้ว
โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่า จำเลยชำระค่าจ้างก่อสร้างอาคารหลังจากลดและเพิ่มงานตามสัญญาทั้งหมดแล้วเป็นเงิน 109,276,111.73 บาท ต่อมาจำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์อีก 96,258,403.99 บาท คงค้างชำระค่าจ้างอยู่ 7,951,475.95 บาท และโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า ในการชำระเงินค่าจ้างแต่ละงวดจำเลยหักค่าจ้างไว้ร้อยละ 5 เพื่อเป็นประกันผลงานรวมทั้งสิ้น 5,066,231.79 บาท เมื่อคำนวณแล้วจะเห็นได้ว่ายอดเงินไม่ตรงกับที่โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้อง ทั้งไม่ตรงกับยอดเงินตามเอกสารท้ายฟ้อง คำฟ้องในส่วนนี้ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ทำให้จำเลยไม่อาจเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง จึงเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5918/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย (ไม่มีลายมือชื่อโจทก์) ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องชอบแล้ว
ตามฟ้องโจทก์ปรากฏแต่เพียงลายมือชื่อผู้พิมพ์และผู้เรียงเท่านั้น ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์ จึงถือเป็นฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) หากศาลชั้นต้นตรวจพบข้อผิดพลาดดังกล่าวก็จะใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 สั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้องได้ แต่ถ้าศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แล้ว การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งกรณีดังกล่าวไม่เข้าเหตุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ย่อมไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของตัวการร่วมและการยกฟ้องตามประเด็นนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันก่อสร้างอาคารชุดและนำห้องชุดออกขาย โจทก์ซื้อห้องชุดจากจำเลยทั้งสองแต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญามิได้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การทำนองเดียวกันว่า มิได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารชุดและนำห้องชุดออกขาย จำเลยที่ 1 ขายโครงการให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 มิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวการร่วมหรือไม่ ไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เพราะเหตุเป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 หรือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามมาตรา 350 เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5071/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: ศาลชอบที่จะยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้ แม้ไม่เป็นไปตามรูปแบบ ป.วิ.พ. มาตรา 141
แม้ศาลจะยกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องโดยมิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 ที่บัญญัติไว้ว่าให้ทำเป็นหนังสือและต้องกล่าวหรือแสดงชื่อศาลที่พิพากษา ชื่อคู่ความทุกฝ่าย รายการแห่งคดี เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีตลอดทั้งค่าฤชาธรรมเนียมก็ตาม แต่ในชั้นตรวจคำฟ้อง เมื่อปรากฏจากคำฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจจะพิพากษาให้ได้เช่นนี้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 (จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้) เป็นฟ้องซ้ำ ส่วนจำเลยที่ 2 (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) ไม่ใช่คู่สัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) แล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลชั้นต้นย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้ และการที่โจทก์ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งในคำฟ้องย่อมถือว่าทราบคำพิพากษาแล้วด้วย หาจำต้องสั่งรับฟ้องก่อนแล้วกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาและอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังก่อนดังที่โจทก์ฎีกาไม่
เมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก แม้จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบไม่สมฟ้องนอกประเด็นตามมาตรา 87(1) พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลไม่รับฟังและยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ เมื่อครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้จำเลยไม่ชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉยแต่โจทก์กลับนำสืบว่า จำเลยทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างตลาดสดและตึกแถวและชักชวนให้โจทก์ร่วมลงทุน โจทก์จึงนำเงินจำนวน 310,000 บาท ไปร่วมลงทุนกับจำเลย หลังจากนั้นจำเลยไม่คืนเงินลงทุนและไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องไปให้จำเลยลงลายมือชื่อเพื่อเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไป แต่เมื่อครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้แล้วจำเลยไม่ชำระเงินคืน เห็นได้แจ้งชัดว่าโจทก์นำสืบไม่สมฟ้องและเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น ซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (1) ศาลจึงไม่อาจวินิจประเด็นดังกล่าวและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ตามมาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4952/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้ผู้อื่น: ฟ้องบังคับจำนองไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ศาลยกฟ้องได้
การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกัน แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้อง แต่จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
of 164