พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะ การยกเลิกสิทธิทางผ่านต้องทำเป็นหนังสือ
เดิมที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 เป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวบางส่วนเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ด้านหลัง ก่อนแบ่งแยกหรือแบ่งโอน จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเปิดทางเดินกว้าง 2.5 เมตร ให้โจทก์เดินออกสู่ทางสาธารณะ แต่ต่อมาจำเลยล้อมรั้วปิดกั้นในที่ดินของจำเลยทำให้โจทก์ไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของโจทก์ที่แบ่งแยกจากที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 อยู่ในที่ล้อม จึงมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนไปสู่ทางสาธารณะได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1350
การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านกว้าง2.5 เมตร เป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1338 วรรคสอง เพียงแต่ตกลงยกเลิกกันด้วยปากเปล่า ไม่มีผลผูกพัน
ทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายไม่จำต้องไปจดทะเบียน
สิทธิของโจทก์ที่จะเดินผ่านในที่ดินของจำเลยเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย โจทก์ย่อมจะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ
การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านกว้าง2.5 เมตร เป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1338 วรรคสอง เพียงแต่ตกลงยกเลิกกันด้วยปากเปล่า ไม่มีผลผูกพัน
ทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายไม่จำต้องไปจดทะเบียน
สิทธิของโจทก์ที่จะเดินผ่านในที่ดินของจำเลยเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย โจทก์ย่อมจะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าเดิมหลังยกเลิกสิทธิตัวแทน ไม่เป็นความผิดอาญาฐานเลียนเครื่องหมายการค้าหรือใช้ชื่อผู้อื่น
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวก 9 รายการสินค้า คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ใช้กับคอมพิวเตอร์ เครื่องปลายทางคอมพิวเตอร์ จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องเซ็นเซอร์บัตร จำเลยทั้งสองใช้ตราประทับของจำเลยที่ 1 อันมีเครื่องหมายอักษาโรมัน Q และคำว่า Q-MATIC ประกอบอยู่ด้วยเป็นหัวกระดาษจดหมายที่จำเลยทั้งสองมีถึงลูกค้าของจำเลยทั้งสอง กับเป็นหัวกระดาษใบสั่งงาน และใช้ลงโฆษณากิจการของจำเลยทั้งสองทางอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ของจำเลยทั้งสอง แม้จะตรงกับเครื่องหมายการค้าพิพาทอยู่ด้วย แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ใช้เครื่องหมายต่อสินค้าตามรายการสินค้าที่โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ และไม่ใช่ลักษณะที่เป็นการใช้อย่างเครื่องหมายการค้า จึงไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง ให้ใช้มาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแทนบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนภายในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 274 แล้ว ศาลจึงไม่จำตัองวินิจฉัยความผิดตาม ป.อ. มาตรา 274 อีก
เดิมโจทก์อนุญาตให้บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าคำว่า Q-MATIC ของโจทก์การที่จำเลยทั้งสองใช้คำดังกล่าวในการประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้ตามสิทธิที่จำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตจากโจทก์ โดยเฉพาะยิ่งจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลโดยใช้ตราประทับซึ่งมีคำว่า Q-MATIC ประกอบอยู่ด้วยก่อนที่โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในราชอาณาจักรหรืออนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในราชอาณาจักรแล้ว ย่อมแสดงว่า จำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการโดยแสดงออกว่าเป็นสินค้าและการค้าของจำเลยที่ 1 เองมาโดยตลอด มิได้มีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ แม้ต่อมาโจทก์ได้ยกเลิกการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ และไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 ใช้คำว่า Q-MATIC ประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 ต่อไป หากจำเลยทั้งสองยังคงใช้คำดังกล่าวต่อไปอีกก็ย่อมเป็นเพียงความรับผิดทางแพ่งหากมี ทั้งการที่จำเลยที่ 1 ใช้ตราประทับตามที่จดทะเบียนนิติบุคคลโดยใช้ชื่อและตราประทับที่ประกอบด้วยคำว่า Q-MATIC มาก่อนที่โจทก์จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในราชอาณาจักรก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่า โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ในการประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 หรือไม่ จำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนากระทำความผิดทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) จึงไม่มีความผิด
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง ให้ใช้มาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแทนบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนภายในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 274 แล้ว ศาลจึงไม่จำตัองวินิจฉัยความผิดตาม ป.อ. มาตรา 274 อีก
เดิมโจทก์อนุญาตให้บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าคำว่า Q-MATIC ของโจทก์การที่จำเลยทั้งสองใช้คำดังกล่าวในการประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้ตามสิทธิที่จำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตจากโจทก์ โดยเฉพาะยิ่งจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลโดยใช้ตราประทับซึ่งมีคำว่า Q-MATIC ประกอบอยู่ด้วยก่อนที่โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในราชอาณาจักรหรืออนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในราชอาณาจักรแล้ว ย่อมแสดงว่า จำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการโดยแสดงออกว่าเป็นสินค้าและการค้าของจำเลยที่ 1 เองมาโดยตลอด มิได้มีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ แม้ต่อมาโจทก์ได้ยกเลิกการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ และไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 ใช้คำว่า Q-MATIC ประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 ต่อไป หากจำเลยทั้งสองยังคงใช้คำดังกล่าวต่อไปอีกก็ย่อมเป็นเพียงความรับผิดทางแพ่งหากมี ทั้งการที่จำเลยที่ 1 ใช้ตราประทับตามที่จดทะเบียนนิติบุคคลโดยใช้ชื่อและตราประทับที่ประกอบด้วยคำว่า Q-MATIC มาก่อนที่โจทก์จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในราชอาณาจักรก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่า โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ในการประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 หรือไม่ จำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนากระทำความผิดทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) จึงไม่มีความผิด