พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าอาวุธปืนเพื่อจำหน่ายข้าราชการ ไม่ถือเป็นยุทธภัณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นอากร
การที่กองทัพอากาศจำเลยได้ทำการจัดซื้ออาวุธปืนพกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามความต้องการของข้าราชการในสังกัด โดยใช้เงินที่ได้มาจากข้าราชการที่ต้องการจะมีอาวุธปืนดังกล่าวไว้ใช้ ซึ่งจำเลยจะหักเงินเดือนของข้าราชการผู้นั้นใช้หนี้จนครบ และมีข้อกำหนดว่าเมื่อครบกำหนด 5 ปี ข้าราชการผู้ซื้ออาวุธปืนดังกล่าวจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายให้แก่ข้าราชการของจำเลยเป็นการส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับส่วนราชการ ถือไม่ได้ว่าเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการอันอยู่ในข่ายที่จะได้รับการยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภท 13 จำเลยจึงต้องรับผิดเสียภาษีอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการยกเว้นอากร, วิชาชีพ, เจตนาฉ้อค่าภาษี และความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องในคดีศุลกากร
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร มิได้นิยามความหมายของคำว่า "วิชาชีพ"เอาไว้ จึงต้องถือตามความหมายที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า "อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ" ตามความหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การประกอบอาชีพใดจะถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพก็ต่อเมื่อจะต้องอาศัยหลักวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่ง เช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม ฯลฯ หรือวิชาชีพอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกันนี้ การประกอบอาชีพค้าเพชร ผู้ประกอบอาชีพนี้เพียงแต่อาศัยความรู้ความชำนาญในเรื่องเพชรเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพอื่นธรรมดาทั่วไปเท่านั้น หาจำต้องอาศัยหลักวิชาการเฉพาะทางแขนงใดแขนงหนึ่งดังเช่นวิชาชีพต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น การประกอบอาชีพค้าเพชรจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบวิชาชีพ เครื่องชั่งเพชรที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรจึงมิใช่เป็นของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้ในวิชาชีพ อันจะได้รับยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ภาค 4 ประเภทที่ 5
การยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลอากร พ.ศ.2503 ภาค 4 ประเภทที่ 5 กฎหมายยกเว้นให้แก่ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้าพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้น จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด จำกัดเฉพาะของส่วนตัวสำหรับผู้นำเข้าใช้เอง ไม่อาจตีความขยายออกไปให้ครอบคลุมถึงของที่ผู้นำเข้าได้นำเข้ามาฝากเป็นของขวัญแก่ผู้อื่นว่ามีผลเท่ากับผู้นำเข้าใช้เองได้ ดังนั้น ไข่มุกที่จำเลยนำเข้ามาเพื่อฝากคนรักของจำเลยจึงมิใช่ของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง อันจะได้รับยกเว้นอากรตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลอันเป็นองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเจตนาพิเศษของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 นั้น เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับความผิดบางฐานเท่านั้น เฉพาะความผิดฐานนำของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรแม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาพิเศษที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลก็เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักลอบนำเพชรและพลอยที่ตกแต่งแล้วอันเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการยกเว้นอากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่นำเอาเพชรและพลอยเข้ามาในราชอาณาจักรและบรรยายด้วยว่า แม้เพชรและพลอยจะได้รับยกเว้นอากร แต่ต้องผ่านศุลกากรตามวิธีการศุลกากรเพื่อการควบคุมเงินตราและวิธีการนำเข้าของประเภทนี้กับบรรยายว่าจำเลยไม่ได้นำผ่านศุลกากรเสียให้ถูกต้อง จำเลยจึงมีความผิดในเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงข้อห้ามเกี่ยวกับเพชรและพลอยที่นำเข้านั้น ฟ้องของโจทก์จึงบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควร เท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยก็ฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้
การยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลอากร พ.ศ.2503 ภาค 4 ประเภทที่ 5 กฎหมายยกเว้นให้แก่ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้าพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้น จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด จำกัดเฉพาะของส่วนตัวสำหรับผู้นำเข้าใช้เอง ไม่อาจตีความขยายออกไปให้ครอบคลุมถึงของที่ผู้นำเข้าได้นำเข้ามาฝากเป็นของขวัญแก่ผู้อื่นว่ามีผลเท่ากับผู้นำเข้าใช้เองได้ ดังนั้น ไข่มุกที่จำเลยนำเข้ามาเพื่อฝากคนรักของจำเลยจึงมิใช่ของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง อันจะได้รับยกเว้นอากรตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลอันเป็นองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเจตนาพิเศษของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 นั้น เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับความผิดบางฐานเท่านั้น เฉพาะความผิดฐานนำของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรแม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาพิเศษที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลก็เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักลอบนำเพชรและพลอยที่ตกแต่งแล้วอันเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการยกเว้นอากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่นำเอาเพชรและพลอยเข้ามาในราชอาณาจักรและบรรยายด้วยว่า แม้เพชรและพลอยจะได้รับยกเว้นอากร แต่ต้องผ่านศุลกากรตามวิธีการศุลกากรเพื่อการควบคุมเงินตราและวิธีการนำเข้าของประเภทนี้กับบรรยายว่าจำเลยไม่ได้นำผ่านศุลกากรเสียให้ถูกต้อง จำเลยจึงมีความผิดในเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงข้อห้ามเกี่ยวกับเพชรและพลอยที่นำเข้านั้น ฟ้องของโจทก์จึงบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควร เท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยก็ฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของนำเข้าที่ได้รับการยกเว้นอากร แต่ไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์เดิม และตกอยู่กับบุคคลภายนอก ถือเป็นการหลีกเลี่ยงอากร
ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรในนามของทางการทหารสหรัฐอเมริกา แม้จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียอากรตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาแต่ถ้าปรากฏว่าเมื่อนำเข้ามาแล้ว มิได้นำไปใช้ในทางการทหารของสหรัฐอเมริกา หากแต่ไปตกอยู่แก่บุคคลภายนอกของนั้นย่อม ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรเมื่อของมาตกอยู่ในครอบครองของจำเลย โดยยังมิได้มีการเสียอากร ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของนำเข้าที่ได้รับการยกเว้นอากรแต่ไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ หากตกแก่บุคคลภายนอก ถือหลีกเลี่ยงอากร
ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรในนามของทางการทหารสหรัฐอเมริกา แม้จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียอากรตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แต่ถ้าปรากฏว่าเมื่อนำเข้ามาแล้ว มิได้นำไปใช้ในทางการทหารของสหรัฐอเมริกา หากแต่ไปตกอยู่แก่บุคคลภายนอก ของนั้นย่อม ไม่ได้รับยกเว้น ไม่ ต้องเสียอากร เมื่อของมาตกอยู่ในครอบครองของจำเลย โดยยังมิได้มีการเสียอากร ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้รับการยกเว้นอากร ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อวางหลักประกัน
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78/2 ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในกรณีนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเป็นกรณีพิเศษ ความรับผิดของโจทก์สำหรับสินค้าเครื่องจักรที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้นำเข้าที่วางหลักประกันอากรขาเข้าอื่น กล่าวคือ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้เกิดขึ้นเมื่อโจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า แม้ขณะโจทก์นำเข้าสินค้า เครื่องจักรบางรายการยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยโจทก์วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันการชำระภาษีอากรเพื่อโจทก์จะได้นำสินค้าพิพาทออกจากอารักขาของกรมศุลกากรและต่อมาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้อนุมัติยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าบางส่วนและบางส่วนให้ชำระอากร หลังจากนั้นโจทก์นำเงินไปชำระค่าภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งการประเมินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มในเวลาที่โจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรครบถ้วนในกำหนดเวลาตามมาตรา 78/2 อันจะเป็นเหตุทำให้ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: เครื่องฝากเงินอัตโนมัติไม่ใช่เครื่อง ATM จึงไม่ได้รับการยกเว้นอากร
การตีความในพิกัดอัตราศุลกากร มาตรา 15 แห่ง พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ให้ถือตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้าย พ.ร.ก.ดังกล่าวประกอบกับคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2493 และประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2515
คำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ได้ให้ความหมายของเครื่องบริการเงินด่วนอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) ไว้ว่า "เครื่องจักรซึ่งลูกค้าสามารถฝาก ถอน และโอนเงิน และดูยอดเงินคงเหลือในบัญชี โดยไม่ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารโดยตรง" เมื่อเครื่องบริการฝากเงินอัตโนมัติ (Automatic Deposit Machine : ADM" (ที่โจทก์นำเข้ามีคุณสมบัติเฉพาะการรับฝากเงินเท่านั้น มิได้มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ เครื่องบริการฝากเงินอัตโนมัติ (Automatic Deposit Machine : ADM" จึงไม่อาจถือเป็นเครื่องบริการเงินด่วนอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) ที่จะได้รับการยกเว้นอากร
คำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ได้ให้ความหมายของเครื่องบริการเงินด่วนอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) ไว้ว่า "เครื่องจักรซึ่งลูกค้าสามารถฝาก ถอน และโอนเงิน และดูยอดเงินคงเหลือในบัญชี โดยไม่ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารโดยตรง" เมื่อเครื่องบริการฝากเงินอัตโนมัติ (Automatic Deposit Machine : ADM" (ที่โจทก์นำเข้ามีคุณสมบัติเฉพาะการรับฝากเงินเท่านั้น มิได้มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ เครื่องบริการฝากเงินอัตโนมัติ (Automatic Deposit Machine : ADM" จึงไม่อาจถือเป็นเครื่องบริการเงินด่วนอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) ที่จะได้รับการยกเว้นอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ การเลิกสัญญาส่งผลให้สิทธิการยกเว้นอากรไม่เกิดขึ้น
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติว่าการขอคืนเงินอากรที่ได้รับยกเว้นจะต้องยื่นคำร้องขอคืนตามแบบที่กำหนดไว้ การขอคืนเงินอากรที่ได้รับยกเว้นอากรจึงไม่ต้องยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดไว้ ดังนั้น แม้ใบขอคืนเงินจะระบุแต่ชื่อโจทก์และจำนวนเงินอากรที่ขอคืนเท่านั้น มิได้ระบุรายละเอียดอื่นจำเลยก็ต้องพิจารณาว่าจะต้องคืนเงินอากรให้แก่โจทก์หรือไม่ เมื่อจำเลยพิจารณาแล้วไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์ โจกท์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์กับกรมอู่ทหารเรือทำสัญญาซื้อขายสินค้าพิพาท และกระทรวงกลาโหมมีหนังสือถึงอธิบดีจำเลยขอยกเว้นค่าอากรสำหรับสินค้าพิพาทที่นำเข้า เนื่องจากเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการทหารแต่ต่อมากรมอู่ทหารเรือบอกเลิกสัญญาเนื่องจากสินค้าที่โจทก์ส่งมอบเป็นสินค้าจากประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร มิใช่จากประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 สินค้าพิพาทจึงมิใช่ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการในขณะที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 แม้ภายหลังกรมอู่ทหารเรือจะประกาศสอบราคาและทำสัญญาซื้อขายใหม่กับโจทก์โดยถือคุณสมบัติของสินค้าเหมือนเดิมทุกประการ ก็เป็นกรณีที่จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าที่นำเข้าตามสัญญาซื้อขายใหม่ การที่โจทก์นำสินค้าพิพาทที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและผ่านพิธีการทางศุลกากรเสร็จสิ้นแล้ว โดยชำระค่าอากรขาเข้าเพราะไม่ได้เป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการไปแล้วไปส่งมอบให้กรมอู่ทหารเรือตามสัญญาซื้อขายฉบับใหม่ ไม่ทำให้สินค้าพิพาทตามสัญญาเดิมที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้ากลายเป็นได้รับยกเว้นอากรขาเข้าไปด้วย
โจทก์กับกรมอู่ทหารเรือทำสัญญาซื้อขายสินค้าพิพาท และกระทรวงกลาโหมมีหนังสือถึงอธิบดีจำเลยขอยกเว้นค่าอากรสำหรับสินค้าพิพาทที่นำเข้า เนื่องจากเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการทหารแต่ต่อมากรมอู่ทหารเรือบอกเลิกสัญญาเนื่องจากสินค้าที่โจทก์ส่งมอบเป็นสินค้าจากประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร มิใช่จากประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 สินค้าพิพาทจึงมิใช่ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการในขณะที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 แม้ภายหลังกรมอู่ทหารเรือจะประกาศสอบราคาและทำสัญญาซื้อขายใหม่กับโจทก์โดยถือคุณสมบัติของสินค้าเหมือนเดิมทุกประการ ก็เป็นกรณีที่จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าที่นำเข้าตามสัญญาซื้อขายใหม่ การที่โจทก์นำสินค้าพิพาทที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและผ่านพิธีการทางศุลกากรเสร็จสิ้นแล้ว โดยชำระค่าอากรขาเข้าเพราะไม่ได้เป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการไปแล้วไปส่งมอบให้กรมอู่ทหารเรือตามสัญญาซื้อขายฉบับใหม่ ไม่ทำให้สินค้าพิพาทตามสัญญาเดิมที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้ากลายเป็นได้รับยกเว้นอากรขาเข้าไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องบริการเงินด่วนอัตโนมัติ (ATM) เพื่อการยกเว้นอากร
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดให้ของได้รับการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากร (ทส.3) ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2544 กำหนดให้ของในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทพิกัด 84.72 ประเภทย่อย 8472.90 รายการเฉพาะเครื่องบริการเงินด่วนอัตโนมัติ (Automatic Teller Machines) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ซึ่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 และประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว มิได้ให้คำนิยามของ "เครื่องบริการเงินด่วนอัตโนมัติไว้" จึงต้องถือตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ประกอบคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ประเภทพิกัด 84.72 เครื่องสำนักงานอื่น ๆ (Other office Machines) ประเภทย่อย 8472.90 อื่น ๆ (6) ระบุว่า เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machines) ซึ่งลูกค้าสามารถใช้ฝาก ถอน และโอนเงินและดูยอดคงเหลือของบัญชีโดยไม่ต้องติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ดังนั้น แม้สินค้าที่โจทก์นำเข้าตามโบรชัวร์สินค้า จะใช้ชื่อว่า "Cash Dispenser" คล้ายกับเครื่องจ่ายธนบัตรอัตโนมัติ (Automatic banknote dispensers) ตามพิกัดประเภทที่ 8472.90 (5) ที่สามารถทำงานได้เพียงอย่างเดียวคือการจ่ายธนบัตร และตามพิกัดนี้ไม่ได้รับยกเว้นอาการขาเข้า ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว แต่ตามโบรชัวร์สินค้าพิพาทได้แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเครื่องจ่ายเงินสดอัตโนมัติ (Cash Dispenser) พิพาทไว้ว่า เป็นเครื่องสำหรับให้บริการ ทำรายการธุรกรรมทางการเงิน ดังนี้ ถามยอดบัญชี โอนเงิน เบิกเงินสด ชำระค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ดังนั้น สินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าจึงจัดเป็นเครื่องบริการเงินด่วนอัตโนมัติตามคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ประเภทย่อย 8472.90 (6) และได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว