พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: การซื้อขายที่ดินเพื่อปกปิดการยกให้เป็นโมฆะ แต่การยกให้ย่อมไม่เป็นโมฆะตามไปด้วย
ผ. กับจำเลยทำนิติกรรม ตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) มีข้อความว่าจำเลยเสียค่าตอบแทนให้ ผ. เป็นเงิน 1,600,000 บาท และ ผ. จดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมให้จำเลยจำนวน 2,000 ส่วน แต่จำเลยไม่ได้ให้ค่าตอบแทนจำนวนดังกล่าวแก่ ผ. เพราะ ผ. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รวมให้แก่จำเลยโดยไม่มีค่าตอบแทน แต่ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเพื่อลวงไม่ให้บุตรซึ่งเป็นบิดาโจทก์ทราบ ถือได้ว่า ผ. ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งเป็นนิติกรรมซื้อขายที่ดินกับจำเลยเพื่ออำพรางนิติกรรมยกให้
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกคือบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) ย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี นิติกรรมดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมที่ถูกอำพรางคือสัญญาให้ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกอำพราง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง การที่ ผ. จดทะเบียนข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่นเดียวกับนิติกรรมให้ ย่อมถือได้ว่าการจดทะเบียนข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าวเป็นการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนสำหรับนิติกรรมการให้ที่ถูกอำพรางด้วย นิติกรรมการยกที่ดินให้ระหว่าง ผ. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกคือบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) ย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี นิติกรรมดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมที่ถูกอำพรางคือสัญญาให้ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกอำพราง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง การที่ ผ. จดทะเบียนข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่นเดียวกับนิติกรรมให้ ย่อมถือได้ว่าการจดทะเบียนข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าวเป็นการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนสำหรับนิติกรรมการให้ที่ถูกอำพรางด้วย นิติกรรมการยกที่ดินให้ระหว่าง ผ. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8844/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง และการพิสูจน์สิทธิครอบครองโดยการยกให้จากมารดา
จำเลยให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพราะมารดายกให้และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จึงไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินเป็นของผู้อื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและจำเลยครอบครองเองจึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่วันเวลาที่ถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง หรือไม่ ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ซึ่งเป็นการมิชอบ ทั้งปัญหานี้มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยแต่ว่าโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อเอาคืนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โดยอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326-9327/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินมือเปล่า การซื้อขาย และการยกให้ที่ดิน ไม่สมบูรณ์หากไม่จดทะเบียน
น. นำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยทั้งสามไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ในนามของ น. เป็นเพียงการมีชื่อถือสิทธิครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แทนจำเลยทั้งสามเท่านั้น เมื่อ น. ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของ น. การที่เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ส. สามีของโจทก์ลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ในฐานะที่ ส. เป็นทายาทของ น. โดยที่ ส. ไม่มีสิทธิ ก็ไม่ทำให้ ส. ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นของจำเลยทั้งสามตลอดมา แม้ต่อมาจำเลยทั้งสามทำหนังสือสัญญาตกลงแบ่งแยกที่ดิน ด้านทิศตะวันออกของถนนขอนแก่น - มัญจาคีรี ให้เป็นของจำเลยที่ 2 กับ ส. สามีของโจทก์ร่วมกัน สัญญาดังกล่าว ก็มิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะ ส. สามีของโจทก์กับจำเลยทั้งสามมิได้มีข้อพิพาทกัน เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ น. ในขณะทำสัญญาหรือจะมีขึ้นในภายหน้า หากแต่เป็นสัญญาให้อสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ มิได้มีการส่งมอบการครอบครอง แม้จำเลยทั้งสามจะทำเป็นหนังสือสัญญาตกลงแบ่งแยกที่ดินไว้ แต่ก็มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้จึงไม่สมบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครอง การยกให้ และอายุความฟ้องร้อง
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยยืนยันว่า เดิมที่ดินพิพาท เป็นของบิดามารดาของสามีจำเลย บุคคลดังกล่าวได้ยกให้แก่ จำเลยและสามีจำเลยครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมา โดยจำเลย ไม่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีจึงไม่อาจมีประเด็น ข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเพราะการแย่ง การครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินเป็นของผู้อื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่จำเลย ครอบครองเองจึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดิน พิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้อง เอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง หรือไม่ หรือโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งที่ดินพิพาท หรือไม่ เพราะประเด็นนี้ขัดแย้งกับประเด็นที่จำเลยได้ให้การ และฟ้องแย้งไว้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้รับการยกให้ จากบิดามารดาของสามีจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกตามพินัยกรรม ไม่ใช่การยกให้ สิทธิในการฟ้องเรียกคืนการให้จึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์กับ ช. เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือจำเลยและ ล.จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมที่ ช. ทำไว้อันเป็นการได้มาโดยทางมรดกมิใช่รับโอนมาโดยโจทก์ยกให้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิ ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ ปัญหาว่า พินัยกรรมฉบับที่ ช. ทำดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงใดหรือไม่ โจทก์ซึ่ง เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ช. ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่ การที่โจทก์ลงชื่อให้ความยินยอมในพินัยกรรมของ ช. ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำนิติกรรม ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและบ้านที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภริยาและการยกให้โดยมีข้อแลกเปลี่ยน
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในบ้านพิพาทกับโจทก์โดยได้ปลูกบนที่ดิน 2 แปลง ที่ดินแปลงหนึ่งจำเลยได้รับการ ยกให้จากมารดา อีกแปลงหนึ่งคือที่ดินพิพาทโจทก์ได้รับยกให้ จากน้องชายจำเลยโดยมีข้อแลกเปลี่ยนให้โจทก์ยอมรับบุตรน้องชาย บุตรของน้องชายจำเลยเป็นบุตรของโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์ จะมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภริยา กับจำเลย โดยได้รับการยกให้จากน้องชายจำเลยด้วย ความสัมพันธ์และข้อแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลในครอบครัว ทั้งสองฝ่ายได้ครอบครองร่วมกันมาระหว่างอยู่กินด้วยกัน ถือว่าเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส-ทรัพย์สินส่วนตัว: การได้มาซึ่งที่ดินระหว่างสมรสโดยการยกให้ และสิทธิในการอ้างว่าไม่ใช่ทรัพย์มรดก
แม้ผู้ร้องจะได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรส กับผู้ตาย แต่ปรากฏว่าเป็นกรณีได้รับยกให้ที่ดิน ภายหลังจากประกาศใช้ พระราชบัญญัติให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 เมื่อไม่ปรากฏมี หนังสือยกให้โดยระบุให้เป็นสินสมรส ก็ต้องถือว่า เป็นการยกที่ดินให้เป็นสินส่วนตัวแก่ผู้ร้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) การที่ผู้ร้องเป็นภริยาของผู้ตายซึ่งเป็นหนี้ โจทก์ตามคำพิพากษาอันเป็นความรับผิดในฐานะ ทายาทผู้รับมรดกของผู้ตายซึ่งจะต้องรับผิด ในหนี้สินดังกล่าวต่อโจทก์เมื่อผู้ร้องได้รับมรดก ของผู้ตายเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้รับมรดกและ โจทก์ก็มิได้ฟ้องผู้ร้องให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา โจทก์เพิ่งมานำสืบ ในชั้นร้องขัดทรัพย์ว่าผู้ตายกู้ยืมเงินโจทก์ไปใช้จ่าย ในครอบครัวและเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร จะให้ฟังว่าผู้ร้องต้องรับผิดในฐานะที่เป็นหนี้ร่วม ระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายหาได้ไม่ ตามคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้อง ผู้ร้องได้บรรยายให้ปรากฏชัดแล้วว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดคดีนี้ ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องแต่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องและ ต. ร่วมกันแสดงว่าผู้ร้องได้อ้างแล้วว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องมิใช่เป็นผู้รับมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องในฐานะทายาทก็ไม่ต้องรับผิด ต่อโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกคำร้องของ ผู้ร้องโดยอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อย ทรัพย์พิพาทจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4129/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้สร้างโรงเรียนมีเงื่อนไข: สิทธิครอบครองยังคงอยู่กับผู้ให้ หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ขณะโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอนั้น โรงเรียนที่จะสร้างขึ้นยังไม่มีที่ดินและอาคารเรียนเป็นของตนเอง และยังไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดยกที่ดินให้แก่จำเลยเพื่อเป็นที่สร้างโรงเรียนดังกล่าว จึงเป็นการที่โจทก์ยกให้ที่มีวัตถุประสงค์ชี้ชัดอยู่ในตัวว่าเพื่อให้จำเลยนำที่ดินพิพาทไปใช้เป็นสถานที่สำหรับสร้างโรงเรียน ได้แก่อาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นประการสำคัญ กรณีมิใช่เป็นการสละสิทธิครอบครองด้วยการยกให้โดยเด็ดขาด แต่เป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ จำเลยย่อมไม่สามารถนำที่ดินพิพาทไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ตามอำเภอใจ และเมื่อโจทก์ยังครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่โดยจำเลยไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเลย แม้คณะกรรมการศึกษาโดยศึกษาธิการอำเภอเคยจ้างรถเกรดมาไถที่ดินพิพาทให้เตียน ก็ไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินการอื่นใดต่อมาเป็นกิจจะลักษณะที่พอจะแสดงว่าจำเลยได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาท และตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ทางโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอก็ไม่ได้เข้าไปก่อสร้างหรือทำประโยชน์อย่างอื่นในที่ดินพิพาทเลย การที่หลังจากจำเลยได้รับงบประมาณสำหรับสร้างโรงเรียนแล้ว จำเลยไม่ได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นสถานที่สร้างโรงเรียน แต่กลับไปสร้างโรงเรียนในที่ดินแปลงอื่นที่ไกลออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งบุคคลอื่นยกให้และมีความเหมาะสมกว่า โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าปลูกสร้างอาคารหรือปลูกสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเกี่ยวกับการสร้างโรงเรียนลงในที่ดินพิพาทดังนี้จึงเท่ากับจำเลยไม่ได้รับเอาที่ดินพิพาทที่โจทก์ยกให้ไปสร้างโรงเรียนตามเงื่อนไขของโจทก์ จำเลยจะอ้างเอาภายหลังว่าจำเลยจะสงวนที่ดินพิพาทไว้ใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นของโรงเรียนเป็นการฝ่าฝืนต่อความประสงค์ที่แท้จริงของโจทก์หาได้ไม่ที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นของทางราชการและไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
นับตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้จำเลยสร้างโรงเรียน จำเลยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวที่ดินพิพาทเลย มีแต่ในระยะแรก นักเรียนโรงเรียนมัธยมที่จำเลยสร้างขึ้นในที่ดินแปลงอื่นได้มาขออนุญาตโจทก์ทำแปลงสาธิตการเกษตรในที่ดินพิพาทบางส่วน แต่ปลูกพืชไม่ได้ผลเพราะขาดแคลนน้ำ จึงเลิกไปไม่ได้กลับมาปลูกอีก โจทก์ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ต่อมาเมื่อทางราชการประกาศให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานออกมารังวัดตรวจสอบที่ดิน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน หลังจากนั้น โจทก์และบุตรปลูกบ้านและห้องแถวลงในที่ดินพิพาทจำเลยก็ไม่ได้คัดค้านเช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินราชพัสดุ โจทก์ก็ไปขอคืน จำเลยจึงให้โจทก์หาที่ดินแปลงอื่นไปแลก แต่ตกลงราคากันไม่ได้ โจทก์ก็ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ เมื่อโจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทของโจทก์ และไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยนำที่ดินของโจทก์ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบ มิใช่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมระหว่างโจทก์หรือจำเลยศาลจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยกระทำให้ถูกต้องโดยให้จำเลยถอนคำคัดค้าน และให้เพิกถอนที่พิพาทออกจากทะเบียนได้ โดยไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ตาม ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง
นับตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้จำเลยสร้างโรงเรียน จำเลยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวที่ดินพิพาทเลย มีแต่ในระยะแรก นักเรียนโรงเรียนมัธยมที่จำเลยสร้างขึ้นในที่ดินแปลงอื่นได้มาขออนุญาตโจทก์ทำแปลงสาธิตการเกษตรในที่ดินพิพาทบางส่วน แต่ปลูกพืชไม่ได้ผลเพราะขาดแคลนน้ำ จึงเลิกไปไม่ได้กลับมาปลูกอีก โจทก์ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ต่อมาเมื่อทางราชการประกาศให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานออกมารังวัดตรวจสอบที่ดิน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน หลังจากนั้น โจทก์และบุตรปลูกบ้านและห้องแถวลงในที่ดินพิพาทจำเลยก็ไม่ได้คัดค้านเช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินราชพัสดุ โจทก์ก็ไปขอคืน จำเลยจึงให้โจทก์หาที่ดินแปลงอื่นไปแลก แต่ตกลงราคากันไม่ได้ โจทก์ก็ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ เมื่อโจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทของโจทก์ และไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยนำที่ดินของโจทก์ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบ มิใช่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมระหว่างโจทก์หรือจำเลยศาลจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยกระทำให้ถูกต้องโดยให้จำเลยถอนคำคัดค้าน และให้เพิกถอนที่พิพาทออกจากทะเบียนได้ โดยไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ตาม ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้ตามประเพณีอิสลามและการครอบครองปรปักษ์ สิทธิในที่ดินเป็นของผู้รับยกก่อน
มารดาจำเลยทำพิธีและทำหนังสือยกให้(แฮเบ๊าะ)ที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามศาสนาอิสลามแล้วจึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปยกให้ฮ. หรือขายให้ม. และม. ก็ไม่มีสิทธิขายให้แก่โจทก์หลังจากโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วจำเลยโต้แย้งสิทธิการครอบครองตลอดมาหาได้สละสิทธิการครอบครองไม่ฉะนั้นการที่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยยึดถือเพื่อตนตั้งแต่ได้รับการยกให้การยกให้มีผลสมบูรณ์ทันทีจำเลยย่อมได้สิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดินโดยการยกให้ และการครอบครองปรปักษ์ ทำให้ที่ดินนั้นไม่เป็นทรัพย์มรดก
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยไปให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า ป. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยมาประมาณ 13 ปี และจำเลยครอบครองต่อเนื่องเรื่อยมาซึ่งไม่เป็นความจริง จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยและ ด. ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตลอดมาจนกระทั่ง ด. ถึงแก่กรรมจำเลยก็ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา รวมเวลากว่า 13 ปี ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของป. ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ดินพิพาทเป็นมรดกหรือไม่ ดังนั้นการนำสืบของจำเลยเกี่ยวกับการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเพื่อแสดงให้เห็นว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของป. จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นข้อพิพาทในคำฟ้องและคำให้การ หาใช่นำสืบนอกคำให้การไม่