พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนฟ้องคดีอาญาที่ยอมความได้ของผู้จัดการมรดกของผู้เสียหาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน กรณีผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท เมื่อได้ความตามคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ว่า บรรดาทายาททุกคนของผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย จึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาและเมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฉ้อโกงกับความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน: การแยกพิจารณาความผิดอันยอมความได้และไม่ยอมความได้
ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าผู้เสียหายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 นั้น ไม่ทำให้การกระทำความผิดตามมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 กลายเป็นไม่มีความผิดไปด้วยเพราะความผิดตามมาตรา 91 ตรี มิใช่ความผิดอันยอมความได้ ทั้งได้บัญญัติถึงการกระทำความผิดเกี่ยวกับการที่ไปหลอกลวงคนหางานโดยทุจริตว่ามีงานให้ทำในต่างประเทศซึ่งเป็นเท็จจนเป็นเหตุให้ได้เงินและทรัพย์สินจากคนหางาน จึงเป็นความผิดอีกลักษณะหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8463/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน, การพรากเด็กเพื่ออนาจาร, การยอมความได้ของความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำเลยอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง แต่เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
จำเลยพรากเด็กชาย พ. ไปจากผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กชาย พ. ไป โดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อมารดาเด็กชาย พ. ด้วย ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กชาย พ. โดยใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กชาย พ. หากขัดขืนเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่งจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่า ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรกจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยพรากเด็กชาย พ. ไปจากผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กชาย พ. ไป โดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อมารดาเด็กชาย พ. ด้วย ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กชาย พ. โดยใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กชาย พ. หากขัดขืนเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่งจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่า ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรกจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยอมความได้ & อุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่ – คดีข่มขืน ทำร้ายร่างกาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก และมาตรา 310 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เสียหาย ถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผล บังคับอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้ตบหน้าผู้เสียหายแต่หากจะฟังว่าจำเลยตบหน้าผู้เสียหายจริงก็เป็นเพราะผู้เสียหาย ตบหน้าจำเลย จำเลยจึงตบหน้าผู้เสียหายเพื่อป้องกันตัวนั้น นอกจากจะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำผิด แล้ว ยังได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่าการกระทำของจำเลย เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริงเพื่อนำมาสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาที่ยอมความได้ และผลกระทบต่อคดีแพ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้กับขอให้จำเลยชำระเงินคืนเมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องและจำเลยไม่คัดค้านสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)สำหรับคดีส่วนแพ่งศาลฎีกาไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในชั้นฎีกาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์-ยักยอกทรัพย์ระหว่างพี่น้องเป็นความผิดอันยอมความได้ การตกลงประนีประนอมมีผลสร้างหนี้ได้
ความผิดฐานลักทรัพย์ที่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกระทำต่อกัน เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 วรรค 2 ทั้งความผิดฐานยักยอกทรัพย์ก็เป็นความผิดอันยอมความกันได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพี่ไปแจ้งความกล่าวหาว่าจำเลยผู้เป็นน้องทำการลักทรัพย์และยักยอกทรัพย์ของโจทก์ ต่อมามีการตกลงประนีประนอมโดยการทำบันทึกแบ่งทรัพย์สินกันบันทึกตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และถือได้ว่าเป็นบันทึกที่มีมูลหนี้ต่อกันระหว่างโจทก์จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาที่ยอมความได้ ทำให้สิทธิฟ้องระงับ และคำพิพากษาศาลล่างเป็นอันระงับไปด้วย
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ที่เป็นความผิดอันยอมความได้นั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายขอถอนฟ้องชั้นฎีกา และศาลฎีกาสั่งอนุญาตแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไป คำพิพากษาศาลล่างก็ย่อมระงับไปด้วยในตัวไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างซึ่งให้ลงโทษจำเลยไว้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาที่ยอมความได้ ทำให้สิทธิฟ้องระงับ และคำพิพากษาศาลล่างสิ้นผล
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ที่เป็นความผิดอันยอมความได้นั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายขอถอนฟ้องชั้นฎีกา และศาลฎีกาสั่งอนุญาตแล้วสิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไป คำพิพากษาศาลล่างก็ย่อมระงับไปด้วยในตัว ไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างซึ่งให้ลงโทษจำเลยไว้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัว ย่อมระงับสิทธิการฟ้อง
คดีความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความได้นั้นถ้ามารดาของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการได้ถอนคำร้องทุกข์โดยผู้เสียหายยินยอมไม่คัดค้าน สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) อัยการโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะดำเนินคดีนั้นต่อไปอีก ฉะนั้น การที่อัยการโจทก์แถลงขอผัดเวลายื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยจะไปขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน เพื่อมิให้ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ย่อมไม่บังเกิดผลแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยอมความได้และการกำหนดโทษในคดีค้ามนุษย์ ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อกำหนดโทษตามกฎหมายที่ยังไม่ระงับ
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก และ พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 อันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน จึงให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก แต่ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้เสียหายทั้งสามต่างยื่นคำร้องว่า แต่ละคนได้รับค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 จนเป็นที่พอใจแล้วจึงไม่ประสงค์จะว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไปซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคท้าย บัญญัติว่า "ความผิดตามวรรคแรกฯ เฉพาะกรณีที่กระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีเป็นความผิดอันยอมความได้" เมื่อผู้เสียหายทั้งสามซึ่งต่างก็มีอายุเกินสิบห้าปีแล้วทั้งสิ้น จึงเท่ากับยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในระหว่างฎีกา สิทธิของโจทก์ในการนำความผิดฐานนี้มาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 มาตรา 5 และ 7 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยศาลล่างทั้งสองต่างมิได้กำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ไว้ คดีของจำเลยที่ 1 จึงอาจต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษในความผิดดังกล่าว