คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยักยอก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 437 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6540/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์จากการเช่าซื้อ: การไม่ยอมให้ตรวจสอบและนำไปขายต่างประเทศถือเป็นความผิด
จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไป แม้จำเลยจะมีสิทธิใช้สอยและครอบครองรถจักรยานยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อ แต่รถจักรยานยนต์ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมประสงค์จะตรวจดู จำเลยจำต้องยอมให้ผู้เช่าซื้อตรวจดูทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้เป็นครั้งคราวในเวลาและระยะอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 555 การที่จำเลยไม่สามารถนำรถจักรยานยนต์มาให้โจทก์ร่วมตรวจดูได้ แม้จำเลยได้แสดงเจตนาที่จะชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ร่วม แต่จำเลยกับพวกนำรถไปขายที่ต่างประเทศแล้ว ถือได้ว่าจำเลยเบียดบังเอารถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยสุจริต เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซื้อขายเผื่อชอบ-ยักยอก: เมื่อมีข้อสงสัยต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
จำเลยรับนาฬิกาข้อมือจำนวน 7 เรือน ของผู้เสียหายไปเพื่อให้สามีตรวจดูโดยมีเจตนาจะซื้อขายกันและมีข้อตกลงจะใช้เวลาในการตรวจดูประมาณ 14 วัน หากจำเลยไม่ตกลงซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าไม่ซื้อหรือส่งนาฬิกาคืน ถ้าครบกำหนด 14 วัน แล้วจำเลยไม่แจ้งต่อผู้เสียหายและไม่ส่งมอบนาฬิกาคืน ย่อมถือว่าจำเลยตกลงซื้อนาฬิกาทั้ง 7 เรือน อันเป็นผลให้การซื้อขายเผื่อชอบมีผลบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 508 จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้เสียหาย หากไม่ชำระผู้เสียหายต้องไปว่ากล่าวแก่จำเลยในทางแพ่งตามสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด" และ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า "เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย" ดังนั้น เมื่อมีข้อสงสัยว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ขายให้จำเลยผู้ซื้อยืมสินค้าไปตรวจดูเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่หรือไม่เป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายเผื่อชอบกันแล้ว กรณีก็ต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยเป็นเรื่องสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จะนำ ป.พ.พ. มาตรา 11 มาใช้ตีความเพื่อลงโทษจำเลยไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามกฎหมาย เนื่องจากมิได้โต้แย้งเหตุผลที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องในความผิดฐานยักยอก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพฤติการณ์ของจำเลยตามที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอรับฟังว่า จำเลยในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทที่โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นได้เบียดบังยักยอกเช็คพิพาท โจทก์ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านในความผิดฐานยักยอก และอ้างว่าพยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมาขัดแย้งกันไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยนำเงินของบริษัทไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายและได้นำเงินส่วนที่เหลือมาคืน กรณีจึงเป็นยักยอกทำให้บริษัทและผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายโดยเจตนาทุจริต ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 188 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรให้ชัดเจน แม้โจทก์จะมีคำขอในท้ายอุทธรณ์ว่า ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องก็ตาม อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อหานี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ยักยอกเงินและใช้เอกสารปลอมเพื่อหลอกลวง
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายได้ยักยอกเงินที่ลูกค้านำมาชำระให้ผู้เสียหายแล้วจำเลยใช้เอกสารสำเนาใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปอ้างแสดงต่อผู้เสียหาย ก็เพื่อให้ผู้เสียหายเข้าใจว่าจำเลยนำเงินที่ลูกค้าชำระให้ผู้เสียหายส่งมอบให้แผนกการเงินของผู้เสียหายแล้ว แม้การใช้เอกสารสำเนาใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินปลอมจะต่างวาระกับความผิดฐานยักยอก แต่ก็เป็นเจตนาของจำเลยที่จะใช้เอกสารสำเนาใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินปลอมเป็นหลักฐานเพื่อยักยอกเงินของผู้เสียหายนั่นเอง ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและความผิดฐานยักยอกจึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงเป็นกรรมเดียว การกระทำของจำเลยในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและฐานยักยอก จึงเป็นกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าเสียหายจากการทำทองรูปพรรณชำรุด ผู้ประกอบการยึดหนี้เพื่อเจรจาต่อรอง ไม่ถือเป็นการยักยอก
ผู้เสียหายว่าจ้างจำเลยซึ่งเปิดร้านรับจ้างทำทองคำรูปพรรณ โดยนำพระแก้วสีเหลืองพร้อมตลับพระทองคำมาให้ทำกระจกปิดด้านหน้าและด้านหลังตลับพระทองคำ แต่จำเลยทำเศียรพระแก้วสีเหลืองบิ่น จึงตกลงจะใช้ค่าเสียหายด้วยการเลี่ยมพระองค์อื่นให้ ซึ่งผู้เสียหายได้นำพระองค์อื่นมาให้เลี่ยมอีก 2 องค์ จำเลยเลี่ยมพระให้ผู้เสียหายเป็นค่าเสียหายไปแล้ว 1 องค์ ภายหลังจำเลยเห็นว่าค่าเสียหายสูงไปต้องการตกลงค่าเสียหายกันใหม่ด้วยการยึดหน่วงตลับพระทองคำพิพาทไว้เพื่อหักหนี้กับค่าเลี่ยมพระองค์ที่ 2 ดังนี้แสดงว่าจำเลยมีเพียงเจตนายึดหน่วงตลับพระทองคำพิพาทไว้เพื่อเจรจาต่อรองกันใหม่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เศียรพระแก้วสีเหลืองบิ่น หาได้มีเจตนาจะเบียดบังไว้เป็นของตนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7077/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินของหุ้นส่วน ความผิดฐานยักยอกเกิดขึ้นเมื่อนำเงินของหุ้นส่วนไปใช้โดยไม่มีสิทธิและมีเจตนาทุจริต
จำเลยนำเงินที่โจทก์ร่วมและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในฐานะหุ้นส่วนไปโดยอ้างว่ามีสิทธิได้รับเงินค่าหุ้นและเงินส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนร่วมกัน เมื่อโจทก์ร่วมและจำเลยเป็นหุ้นส่วนกัน เงินที่จำเลยนำไปดังกล่าวจึงเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกันจนกว่าจะมีการเลิกการเป็นหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชี ดังนั้น แม้จำเลยจะมีความประสงค์จะเลิกเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ร่วม แต่เมื่อยังไม่มีการตกลงเลิกหุ้น ทั้งยังไม่มีการชำระบัญชีว่าเงินส่วนนี้จะเป็นของโจทก์ร่วมและจำเลยจำนวนเท่าใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะนำเงินที่เป็นของหุ้นส่วนไปใช้เป็นประโยชน์แก่ส่วนตัว เมื่อจำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวไปแล้วก็หลบหนีไม่ยอมกลับไปทำงานอีกจนเกือบหนึ่งปีจึงถูกจับกุม ย่อมแสดงได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองเงินที่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวนั้นไปเป็นของตนเองโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องฉ้อโกงแม้พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหายักยอก ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฉ้อโกงหลังพนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นการยักยอก โจทก์มีสิทธิปรับบทฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้จากการยักยอกเงินลงทุน ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยลงชื่อสั่งจ่ายเช็ค โดย ศ. เป็นผู้เขียนข้อความในเช็คตามที่จำเลยขอให้เขียนแทนเนื่องจากจำเลยอ้างว่าลายมือไม่สวยเมื่อ ศ. เขียนรายการในเช็คตามที่จำเลยขอให้เขียนให้ต่อหน้าจำเลยถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมและ ภ. ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกและปลอมแปลงเอกสารของพนักงานธนาคาร และเงื่อนไขการรวมโทษเกิน 20 ปี
ขณะที่จำเลยกระทำผิดในคดีนี้และคดีก่อน จำเลยเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้เสียหายอยู่ด้วยในทุกคดีโดยถือโอกาสที่เป็นพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับเอกสารและทรัพย์โดยมีเจตนาเพื่อเบียดบังเอาเงินของลูกค้าผู้ฝากเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตนคดีนี้และคดีก่อนจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 วรรคแรก การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ด้วย และเมื่อคดีนี้ความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และ 268 วรรคสอง เป็นกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี การนับโทษต้องอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกิน 20 ปี ไม่ได้แต่คดีก่อนเมื่อรวมโทษจำคุกทุกคดีและทุกกระทงโดยไม่รวมโทษจำคุกในคดีนี้ด้วยปรากฏว่าจำเลยถูกลงโทษจำคุก 23 ปี 6 เดือน ซึ่งเกิน 20 ปีแล้วจึงไม่อาจนับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีก่อนได้
of 44