พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแพ่งจากสัญญาจ้างแรงงานไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีอาญาเรื่องยักยอกเงิน แม้มีคำขอให้คืนเงินเหมือนกัน
คดีอาญาเรื่องก่อน พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเงินและขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อันเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงิน เก็บรักษาเงิน อนุมัติและเบิกจ่ายเงิน ตกลงว่าระหว่างการทำงานหากจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 1 ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดพร้อมค่าปรับอีก 3 เท่าของราคาทรัพย์สินหรือความเสียหาย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ระหว่างทำงานจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินโจทก์ไปหลายครั้ง อันเป็นการจงใจละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้เงินที่ยักยอกและค่าปรับตามสัญญาแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดด้วย ซึ่งเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้จะมีคำขอให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีที่พนักงานอัยการขอให้บังคับในส่วนแพ่งมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีมูลจากสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาค้ำประกัน ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงมิได้เป็นอย่างเดียวกัน มิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาเรื่องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ที่เกิดจากการยักยอกเงินและการฟ้องเรียกคืนจากผู้กระทำละเมิด
หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำกับ ส. ระบุว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงตกลงคืนเงินที่ยักยอกไปให้แก่ ส. นั้น เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นหนี้ ส. และยอมรับชำระหนี้แก่ ส. ไม่มีข้อความที่จำเลยที่ 1 กับ ส. ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้จากมูลละเมิดระงันสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ถึง 852
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งรับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่หายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ที่เกิดจากจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งรับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่หายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ที่เกิดจากจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายจากการยักยอกเงินของลูกจ้างธนาคาร และสิทธิไล่เบี้ยของธนาคารต่อลูกจ้าง
หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำกับ ส. ระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงตกลงคืนเงินที่ยักยอกไปให้แก่ ส. นั้น เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นหนี้ ส. และยอมชำระหนี้แก่ ส. ไม่มีข้อความที่จำเลยที่ 1 กับ ส. ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้จากมูลละเมิดระงับสิ้นไป
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งได้รับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ขาดหายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตามมาตรา 420
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งได้รับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ขาดหายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตามมาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเงินจากการขายสินค้าก่อนจดทะเบียนบริษัท ผู้ถือหุ้นมีสิทธิร้องทุกข์
ระหว่างดำเนินการจัดตั้งบริษัท อ. ร่วมกันนั้น จำเลย โจทก์ร่วม กับพวก ได้ตกลงกันให้ดำเนินการในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. (ซึ่งเป็นห้างเดิมของจำเลย) และ บริษัท ศ. ไปพลางก่อน โดยให้จำเลยเปิดบัญชีในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และมอบอำนาจให้โจทก์ร่วมเบิกถอนเงินได้แต่เพียงผู้เดียว ขณะอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งบริษัท ได้มีการจำหน่ายสินค้าในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไป แต่เช็คถึงกำหนดชำระหลังจากจดทะเบียนบริษัท เรียบร้อยแล้ว จำเลยนำเช็คเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. โดยที่โจทก์ร่วมและผู้ถือหุ้นคนอื่นไม่ยินยอมโดยอ้างว่าเพื่อ ชดใช้ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงานและเครื่องมือแพทย์ของจำเลยที่นำมาลงทุนไว้ในบริษัท เมื่อพิจารณาตามข้อตกลง ที่ว่าจำเลยเป็นเพียงผู้ลงหุ้นด้วยแรงงานเท่านั้น ข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่มีเหตุผลที่จะรับฟัง เมื่อเงินส่วนนี้เป็นเงินที่ได้จากการขายสินค้าก่อนที่จะมีการจดทะเบียนบริษัท จึงเป็นของโจทก์ร่วม การที่จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินดังกล่าวไปเสียโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ยักยอกเงิน, และเบียดบังทรัพย์สินจากหน้าที่
จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ร่วมได้รับเช็คของลูกค้าเพื่อชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วม แต่กลับนำเช็คนั้นไปเบิกเงินแล้วเก็บไว้เองจึงมีความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเช็คอันเป็นเอกสารของโจทก์ร่วมและทำให้ไร้ประโยชน์ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมผู้อื่นหรือประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 และฐานยักยอกเงินตามเช็คตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานธนาคารยักยอกเงินฝาก แก้ไขบัญชี และทำลายเอกสาร หลักฐานรับฟังหนักแน่น ศาลฎีกาพิพากษา
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย มีหน้าที่รับฝาก- ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย จำเลยรับมอบเงินจากโจทก์ร่วมซึ่งเป็นลูกค้าของผู้เสียหายเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าดังกล่าวแล้ว จำเลยจะเป็นผู้เขียน กรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค และฉีกต้นฉบับ ไว้แล้วมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐาน ต่อมาจำเลยได้ แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คให้น้อยกว่าจำนวนเงิน ที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วนำเอกสารที่แก้ไขพร้อมจำนวนเงินตาม เอกสารที่แก้ไขใหม่ ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนส่งเงิน เก็บรักษา จึงเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารจึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้ เอกสารสิทธิปลอม การที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่ให้จำนวนเงินฝากน้อยกว่าความเป็นจริงโดยเชื่อได้ว่าจำเลยได้ ทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงอันเป็นหลักฐานของ ธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีเพื่อแสดง ยอดเงินฝากของโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิทำลาย การกระทำของ จำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่น จำเลยได้เบียดบังเงินฝากของโจทก์ร่วมโดยแก้ไขจำนวนเงิน ในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค ให้มีจำนวนน้อยกว่าความเป็นจริง และได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่ระบุจำนวนน้อยกว่า จำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วลงบัญชีกระแสรายวัน ของโจทก์ร่วมตามจำนวนที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่นั้น และจำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมโดยสุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนจึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำหน่ายเช็ค-ใบเสร็จผูกพันนายจ้าง: ความรับผิดร่วมกันกรณีพนักงานยักยอกเงิน
จำเลยที่ 1 จัดพิมพ์ตราไปรษณียากรที่ระลึกเพื่อการสะสมออกจำหน่ายโดยมีจำเลยที่ 2 พนักงานของจำเลยที่ 1มีหน้าที่จำหน่ายและรับสั่งจองจากผู้ซื้อ โจทก์ติดต่อสั่งจองซื้อจากจำเลยที่ 2 และมอบเช็คเงินสดให้จำเลยที่ 2แม้โจทก์สั่งจ่ายเช็คเงินสดให้แก่ผู้ถือแทนที่จะสั่งจ่ายเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 จะผิดระเบียบ แต่ถ้าผู้รับสั่งจองคือจำเลยที่ 2 นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ก็จะจัดส่งตราไปรษณียากรที่ระลึกให้โจทก์ ปัญหาจึงเกิดจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงิน จึงปฎิเสธการกระทำของจำเลยที่ 2หากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินก็จะไม่ปฎิเสธโดยอ้างว่าเป็นใบเสร็จรับเงินปลอมหรือจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนืออำนาจเมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์ทราบระเบียบแล้วจงใจฝ่าฝืน โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อในการสั่งซื้อ เหตุเกิดจากจำเลยที่ 1มิได้ควบคุมดูแลการปฎิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเช็คที่รับไว้ไปเรียกเก็บเงินและนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวและจำเลยที่ 1 ก็มิได้ถือเอาการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการผิดระเบียบหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 รับสั่งจองซื้อและรับเช็คเงินสดจากโจทก์จึงเป็นการปฎิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 โดยชอบมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2รับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินรายได้ของสถานศึกษาและค่าเช่าที่ดิน จำเลยต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
ฎีกาโจทก์ที่ว่า เงินที่หักหรือลดเป็นค่าการตลาดร้อยละ 5 จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ และเงินค่าเช่าหรือค่าตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาจากข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วว่า จะมีผลทางกฎหมายว่าเงินดังกล่าวเป็นของโจทก์ หรือเป็นเงินค่าใช้จ่ายปกติที่ต้องเสียซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการบริหารกับผู้ขายที่สามารถจัดเข้าไว้เป็นเงินกองกลางได้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย เงินค่าการตลาดที่หักหรือลดให้ไว้จากการขายผลิตผลงานฟาร์ม ของโจทก์เกิดขึ้นหรือมีที่มาจากการขายผลิตผลงานฟาร์ม ของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ หาได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้ เงินนี้เป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเงินกองกลางไม่ส่วนเงินที่ได้รับตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นดอกผล ย่อมตกได้แก่เจ้าของทรัพย์คือโจทก์ด้วยเมื่อไม่มีกฎหมายหรือระเบียบให้นำเงินดังกล่าวไปใช้ได้โดยไม่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว การที่จำเลยนำเงินดังกล่าวไปใช้โดยไม่ส่งคืนโจทก์ ไม่ว่าจะนำไปใช้โดยสุจริตหรือเพื่อประโยชน์ต่อโจทก์ก็ตาม ถือว่าเป็นการนำไปใช้โดยไม่มีอำนาจ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหัวหน้างานต่อการยักยอกเงินของลูกน้อง: ประมาทเลินเล่อในการควบคุมดูแล
คำสั่งงดสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานและคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ต่างเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งของศาลแรงงานไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานได้นำเอกสารทั้งชุดที่โจทก์อ้างมาให้จำเลยที่ 2 ตรวจดู และจำเลยที่ 2 รับว่าเอกสารจำนวน 31 แผ่นเป็นระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์จริง ศาลแรงงานกลางจึงรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย จ.4 แล้ว เช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย พยานหลักฐานของโจทก์ที่ระบุเพิ่มเติมเข้าลักษณะเป็นพยานที่ไม่จำเป็นจะต้องสืบ ดังนี้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้ายประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 อุทธรณ์โจทก์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์ 3 ปาก ซึ่งจะเบิกความทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปก่อนแล้วเพราะเห็นว่าเข้าลักษณะพยานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการสั่งงดสืบพยาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคม รวมทั้งค่าบริการตู้ไปรษณีย์เช่า จำเลยที่ 1 รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคมจำนวน1,628,669.90 บาท และรับเงินค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ไว้1,200 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวไป ส่วนจำเลยที่ 2ก็เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่บริหารงานและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระโขนงทั้งหมดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวของโจทก์ไปจำเลยที่ 2มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์และการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ จึงต่างคนต่างทำละเมิด รวมทั้งเป็นการทำผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ผลแห่งความรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์จึงแบ่งแยกกันได้ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์เต็มตามที่จำเลยที่ 1ยักยอกเงินของโจทก์ไป และศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 438 และไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 291,296,297และ 301 มาบังคับแก่กรณีของจำเลยทั้งสอง และเมื่อจำเลยที่ 2เป็นแต่เพียงผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425,427,430มาบังคับแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จและทำพยานหลักฐานเท็จเพื่อปกปิดการยักยอกเงิน ศาลลดโทษหลังมีการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นพนักงานเก็บเงินของบริษัทผู้เสียหายเก็บเงินจากลูกค้าแล้วยักยอกไปโดยจำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายใช้อาวุธปืนและมีดจี้บังคับปล้นเอาเงินจำนวน 74,320 บาท ซึ่งเป็นของผู้เสียหายและบางส่วนเป็นของจำเลยไป โดยไม่มีการปล้นทรัพย์เกิดขึ้น แต่จำเลยทำพยานหลักฐานเท็จด้วยการใช้ท่อนไม้ทุบรถจักรยานยนต์ของจำเลยและแจ้งข้อความเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่าได้มีการปล้นทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา แจ้งความเท็จว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ