พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6932/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดก: ทายาทผู้รับโอนมีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย การแบ่งมรดกไม่ถือเป็นการยักย้ายทรัพย์
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 1ในที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกนายเลื่อน จุลสิกขี เจ้ามรดก และเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว 1 แปลง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 6แล้วให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงมาในคำฟ้องเดียวกัน เป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่งเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่ และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่งเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่ และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบกันฉ้อฉลและยักย้ายทรัพย์มรดก ทำให้การซื้อฝากเป็นโมฆะ และตัดสิทธิการยกอายุความ
จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของ บ. โดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมรดกที่ยังมิได้แบ่งแก่โจทก์ทั้งหกผู้เป็นทายาทของ บ. อันเป็นการรับซื้อฝากไว้โดยไม่สุจริต เป็นการทำให้โจทก์ทั้งหกผู้เป็นทายาทซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการสมคบกันทำการฉ้อฉลโจทก์ทั้งหก โจทก์ทั้งหกชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. อ้างว่าบ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเพียงคนเดียวคือ ย. ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงบ. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 3 คน คือ ด. จ. และ ย. และเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้โอนที่ดินพิพาทเป็นของตนเองแต่ผู้เดียว ไม่จัดการแบ่งปันแก่ทายาท โดยปกปิดเจ้าพนักงานที่ดินผู้ทำหน้าที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่าไม่มีทายาทอื่น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดก จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของ บ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดก จำเลยที่ 1เป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกอายุความมาตัดสิทธิโจทก์ทั้งหก สำหรับจำเลยที่ 2 นั้น ไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นทายาท จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งหก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755 ได้เช่นกัน
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. อ้างว่าบ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเพียงคนเดียวคือ ย. ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงบ. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 3 คน คือ ด. จ. และ ย. และเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้โอนที่ดินพิพาทเป็นของตนเองแต่ผู้เดียว ไม่จัดการแบ่งปันแก่ทายาท โดยปกปิดเจ้าพนักงานที่ดินผู้ทำหน้าที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่าไม่มีทายาทอื่น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดก จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของ บ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดก จำเลยที่ 1เป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกอายุความมาตัดสิทธิโจทก์ทั้งหก สำหรับจำเลยที่ 2 นั้น ไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นทายาท จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งหก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755 ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้าย/ปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉล ไม่ทำให้ถูกกำจัดมรดก การใช้สิทธิทางศาลของทายาทไม่ถือเป็นความฉ้อฉล
การที่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทยื่นคำขอยกเลิกคำขอแบ่งแยกที่ดินของเจ้ามรดกนั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดก จึงไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลนอกจากนี้ การที่โจทก์ทั้งสี่คัดค้านต่อศาลในเรื่องที่จำเลยดำเนินการเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกในชั้นบังคับคดีว่าจำเลยขอบังคับคดีเกินกำหนดอายุความ ก็เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่ตนเป็นทายาทโดยชอบ ไม่ถือเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลเช่นเดียวกัน โจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิรับมรดกได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลไม่เป็นเหตุให้ถูกกำจัดมรดก การกระทำตามสิทธิย่อมไม่ถือเป็นการฉ้อฉล
จำเลยและทายาททุกคนทราบดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของเจ้ามรดกตามคำพิพากษาตามยอมที่ตกลงแบ่งที่ดินพิพาทให้เจ้ามรดกในคดีที่เจ้ามรดกฟ้องโจทก์ทั้งสี่เป็นจำเลยขอถอนคืนการให้ เจ้ามรดกได้ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินไว้ยังไม่เสร็จก็ถึงแก่กรรม ไม่มีทายาทเจ้าดำเนินการต่อ การที่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทได้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอยกเลิกคำขอแบ่งแยกที่ดินพิพาทไม่มีผลเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกจึงหาใช่การยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลไม่ และเมื่อจำเลยร้องขอเข้าเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกแล้ว จำเลยได้ขอเข้ารับมรดกความและบังคับคดีจนดำเนินการเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเช่นนี้ แม้โจทก์ทั้งสี่จะเคยคัดค้านต่อศาลในชั้นบังคับคดีอ้างว่าจำเลยขอบังคับคดีเกินกำหนดอายุความแล้ว ก็เป็นการที่โจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิทางศาลตามที่ตนเป็นทายาทโดยชอบหาใช่ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลไม่เช่นเดียวกันจึงไม่เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ถูกกำจัดมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4164/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกโดยเจตนาทำให้ทายาทอื่นเสียประโยชน์ ทำให้ถูกตัดสิทธิการรับมรดก
จำเลยเป็นภรรยา อ. ไม่มีบุตรด้วยกันเมื่อ อ. ตายศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. จำเลยจึงได้จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. มาเป็นของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกต่อมาจำเลยไปขอรับมรดกของ อ. ในฐานะเป็นทายาทโดยให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินและรับรองบัญชีเครือญาติว่า จำเลยเป็นทายาทของ อ. ทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีทั้งที่จำเลยก็ทราบว่า อ. มีโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมเป็นทายาทอีกคนหนึ่ง เป็นผลให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. ให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ส่วนทรัพย์มรดกอื่น ๆ จำเลยก็ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าไม่ใช่ของ อ.ถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าในส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่นจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1605.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อยักย้ายทรัพย์ก่อนล้มละลาย แม้มีการทำสัญญาซื้อขายและประนีประนอมยอมความ
ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้คัดค้านที่ 2 โดยผู้คัดค้านที่ 2 ได้วางมัดจำไว้และผู้คัดค้านที่ 1 ผิดสัญญาไม่โอนที่ดินให้ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 จึงฟ้องต่อศาลชั้นต้น และในที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1โอนที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านที่ 2 ดังนี้แม้ผู้คัดค้านทั้งสองจะทำสัญญาจะซื้อจะขายกันไว้ก่อน ก็มิได้เป็นเครื่องยืนยันว่ากระทำโดยสุจริต เพราะพฤติการณ์ที่มีการดำเนินคดีโดยรีบร้อนและทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยเร่งด่วน ย่อมแสดงถึงความไม่สุจริต เจตนาช่วยเหลือจำเลยในการยักย้ายทรัพย์สิน พยานหลักฐานของผู้คัดค้านยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการโอนที่พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 114,116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2976/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโกงเจ้าหนี้ต้องแสดงเจตนาให้ชัดเจนว่าจำเลยทราบว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิทางศาล
บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้และได้ยักย้ายถ่ายเทเอาทรัพย์อันเป็นหลักประกันไปเสีย แม้จะมีข้อความว่าเพื่อมิให้โจทก์จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้ได้ก็ตาม แต่เมื่อมิได้บรรยายว่า จำเลยได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ย่อมขาดองค์ประกอบแห่งความผิด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกตามพินัยกรรมและการจำกัดสิทธิทายาท: การปิดบัง/ยักย้ายทรัพย์มิใช่เหตุตัดสิทธิผู้รับพินัยกรรม
ทายาทที่จะถูกจำกัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1605 ต้องเป็นผู้ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกแต่การที่ทายาทคนหนึ่งไปขอประกาศรับมรดกโดยไม่ระบุลงไปในบัญชีเครือญาติว่ายังมีบุคคลอื่นเป็นทายาทอีกด้วยนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก
เมื่อเจ้าพนักงานโอนโฉนดให้แก่ทายาทผู้ขอรับมรดกดังกล่าวแล้ว ภายหลังทายาทนั้น ขอแบ่งที่ดินมรดกเพื่อจะขายและเอาเรือนที่ปลูกอยู่ในที่ดินนั้นไปประกันเงินกู้ดังนี้ ไม่ใช่กรณียักย้ายหรือปิดบังมรดก
โจทก์และจำเลยต่างก็เป็นบุตรของผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินกับเรือนให้จำเลย และยกโฉนดกระบือให้โจทก์ ดังนี้ จะนำเรื่องกำจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1605 วรรคแรก มาใช้บังคับแก่การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับที่ดินและเรือนมรดกหาได้ไม่
เมื่อเจ้าพนักงานโอนโฉนดให้แก่ทายาทผู้ขอรับมรดกดังกล่าวแล้ว ภายหลังทายาทนั้น ขอแบ่งที่ดินมรดกเพื่อจะขายและเอาเรือนที่ปลูกอยู่ในที่ดินนั้นไปประกันเงินกู้ดังนี้ ไม่ใช่กรณียักย้ายหรือปิดบังมรดก
โจทก์และจำเลยต่างก็เป็นบุตรของผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินกับเรือนให้จำเลย และยกโฉนดกระบือให้โจทก์ ดังนี้ จะนำเรื่องกำจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1605 วรรคแรก มาใช้บังคับแก่การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับที่ดินและเรือนมรดกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4765/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้ายทรัพย์มรดกทำให้ถูกตัดสิทธิการรับมรดก และสิทธิในการขอออกใบแทนโฉนด
โจทก์ทั้งสี่บรรยายคําฟ้องและมีคําขอมาในฟ้องให้กําจัดจำเลยมิให้รับมรดกของ ว. เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทน ว. เมื่อ ว. ถึงแก่ความตายที่ดินจึงตกเป็นทรัพย์มรดก โจทก์ทั้งสี่ในฐานะผู้จัดการมรดก ว. แจ้งให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินและให้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์จากจำเลยเป็นโจทก์ทั้งสี่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่จำเลยไม่ดำเนินการ กลับนําที่ดินมรดกไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอกแล้วรับเงินมัดจำไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้โดยรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์แก่ทายาท จำเลยจึงต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกของ ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605 ซึ่งโจทก์ทั้งสี่ก็มีคำขอให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดกของ ว. มาในคำฟ้องแล้ว และในส่วนการขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน โจทก์ทั้งสี่ก็มีคําขอมาในฟ้องแล้วด้วยว่า หากจำเลยไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินแก่โจทก์ทั้งสี่ ขอให้โจทก์ทั้งสี่ดำเนินการออกใบแทนโฉนดที่ดินได้ การขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่เป็นเรื่องวิธีการในชั้นบังคับคดี ซึ่งหากจำเลยไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินแก่โจทก์ทั้งสี่โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุอื่นใดให้จำเลยไม่สามารถส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่เพื่อดำเนินการนําที่ดินไปแบ่งปันแก่ทายาทได้ โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิดำเนินการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น กรณีจึงต้องพิพากษาให้กําจัดจำเลยมิให้รับมรดกของ ว. และพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินแก่โจทก์ทั้งสี่ ให้โจทก์ทั้งสี่ดำเนินการออกใบแทนโฉนดที่ดินได้ไว้ในคําพิพากษา อันเป็นการที่คําพิพากษาของศาลที่ชี้ขาดตัดสินคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคําฟ้องทุกข้อหา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 และ 252