พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินก่อนมีประมวลกฎหมายที่ดิน แม้ไม่แจ้ง ก็ยังมีสิทธิ ยันรัฐได้
ผู้ที่ครอบครองที่ดินมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน แม้จะมิได้แจ้งการครอบครองไว้ ก็หาทำให้เสียสิทธิครอบครองไปไม่ เป็นแต่เพียงจะยกขึ้นยันรัฐในการที่รัฐจะจัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือยันบุคคลผู้ได้สิทธิมาจากรัฐในการจัดที่ดินไม่ได้เท่านั้น ตราบใดที่รัฐยังมิได้เข้าจัดที่ดินนั้น ผู้นั้นยังมีสิทธิครอบครองอยู่
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58ทวิ และมาตรา 59ทวิ ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน แต่มิได้แจ้งการครอบครองไว้ รวมทั้งผู้ครอบครองต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าว มีสิทธิขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ เมื่อมีการเดินสำรวจรังวัดในท้องที่นั้นหรือเมื่อมีความจำเป็นอาจขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะรายก็ได้
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้ครอบครองตลอดมา แต่มิได้แจ้งการครอบครองไว้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันการแจ้งการครอบครองต่อจำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 2 อนุญาต และให้จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่าที่ดินที่โจทก์ครอบครองเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ยอมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58ทวิ และมาตรา 59ทวิ ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน แต่มิได้แจ้งการครอบครองไว้ รวมทั้งผู้ครอบครองต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าว มีสิทธิขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ เมื่อมีการเดินสำรวจรังวัดในท้องที่นั้นหรือเมื่อมีความจำเป็นอาจขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะรายก็ได้
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้ครอบครองตลอดมา แต่มิได้แจ้งการครอบครองไว้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันการแจ้งการครอบครองต่อจำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 2 อนุญาต และให้จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่าที่ดินที่โจทก์ครอบครองเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ยอมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้