พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7831/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ยาคน-สัตว์ ไม่ทำให้สับสน ศาลอนุญาตจดทะเบียนได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5 เช่นเดียวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ค. แต่สินค้าของโจทก์เป็นคนละประเภทกับสินค้าของบริษัทดังกล่าว กล่าวคือ สินค้าของโจทก์เป็นยาและสารที่เตรียมขึ้นทางเภสัชกรรมไว้รักษาและป้องกันโรคผมร่วงหรือโรคหัวล้าน แต่สินค้าของบริษัท ค. เป็นยาทำลายหรือต่อต้านเชื้อแบคทีเรียสำหรับใช้ในการรักษาสัตว์ แม้จะเป็นยาเหมือนกันแต่ก็ใช้รักษาโรคในคนและสัตว์แตกต่างกันผู้ใช้จึงเป็นคนละกลุ่มกัน แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองจะคล้ายกันแต่ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่ายาของโจทก์เป็นยาของบริษัท ค. หรือมีแหล่งกำเนิดจากบริษัทดังกล่าว เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรยา: การประดิษฐกรรมวิธีต้องมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และการพิจารณาจากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปไม่ผูกมัด
พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 9 (1) บัญญัติให้การประดิษฐ์ยาหรือสิ่งผสมของยาซึ่งเป็นตัวผลิตภัณฑ์ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้บัญญัติให้กรรมวิธีการผลิตยาเป็นการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้
แม้โจทก์จะเคยได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ลักษณะเดียวกันนี้จากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปแล้วก็ตาม ก็หาได้เป็นข้อจำกัดในการตรวจสอบการประดิษฐ์โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกระบวนการและวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ไม่
แม้โจทก์จะเคยได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ลักษณะเดียวกันนี้จากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปแล้วก็ตาม ก็หาได้เป็นข้อจำกัดในการตรวจสอบการประดิษฐ์โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกระบวนการและวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3864/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตและการขายยาที่มิได้ขึ้นทะเบียน: การพิจารณาความเคลือบคลุมของฟ้องและกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ประกอบกิจการสถานพยาบาลไม่มีชื่อ ซึ่งจัดไว้เพื่อประกอบโรคศิลปะ โดยจำเลยกระทำเป็นปกติธุระได้รับผลประโยชน์ตอบแทนและไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายและจำเลยขายยาลูกกลอนอันเป็นยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้กับกระทรวงสาธารณสุขให้แก่บุคคลทั่วไป ส่วนการที่จำเลยจะกระทำเป็นปกติธุระอย่างไร มีประชาชนหลงเชื่อเข้าไปให้จำเลยทำการรักษาพยาบาลกี่ราย จำเลยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ใดบ้างกี่ครั้ง และจำเลยขายยาลูกกลอนให้แก่ผู้ใดบ้างนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ประกอบกับการดำเนินคดีในศาลแขวงต้องการความรวดเร็ว จึงเปิดโอกาสให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้ โจทก์หาจำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดดังเช่นคดีอาญาทั่วไปไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยประกอบกิจการสถานพยาบาลเพื่อประกอบโรคศิลปะและขายยาลูกกลอน จำเลยมีเจตนาที่ต่างกัน ย่อมเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยประกอบกิจการสถานพยาบาลเพื่อประกอบโรคศิลปะและขายยาลูกกลอน จำเลยมีเจตนาที่ต่างกัน ย่อมเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6828/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ขายยาเสพติดและยาแผนปัจจุบัน ศาลปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่หนักที่สุด
ความผิดฐานร่วมกันขายโดยการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 71 และพ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 101 นั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 101 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 ส่วนความผิดฐานมีไว้เพื่อขาย ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ไม่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นความผิด
สำหรับความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบัน ตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันจึงถือเป็นความผิดอย่างเดียวกัน จำเลยที่สองร่วมกันมียาแผนปัจจุบันไว้ในครอบครองเพื่อขายและร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันที่มีอยู่บางส่วนในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียวคือ การขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้องว่า ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็น 2 กรรมก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยไว้เอง โดยให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเพียงกรรมเดียวโดยไม่แก้โทษในความผิดฐานดังกล่าวตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง
สำหรับความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบัน ตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันจึงถือเป็นความผิดอย่างเดียวกัน จำเลยที่สองร่วมกันมียาแผนปัจจุบันไว้ในครอบครองเพื่อขายและร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันที่มีอยู่บางส่วนในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียวคือ การขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้องว่า ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็น 2 กรรมก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยไว้เอง โดยให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเพียงกรรมเดียวโดยไม่แก้โทษในความผิดฐานดังกล่าวตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมตามกฎหมายต่างพระราชบัญญัติ: ยา, สถานพยาบาล, และวิชาชีพเวชกรรม
ความผิดฐานขายยาบรรจุเสร็จหลายขนานโดยจัดเป็นชุดในคราวเดียวกันตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 75 ทวิ,122 และฐานประกอบกิจการและดำเนินกิจการสถานพยาบาลตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 16,24กับฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525มาตรา 26,43 นั้น การกระทำความผิดแต่ละข้อหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายต่างพระราชบัญญัติกันโดยมีเจตนาแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณายาและการสื่อความหมายที่ไม่เป็นเท็จ การใช้ข้อความเปรียบเทียบไม่ถือว่าละเมิด
คาเฟอีนเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายไม่ว่าจะผสมอยู่ในตำรับยาใด ก็ไม่สมควรที่จะปล่อยให้ประชาชนซื้อหารับประทานเองตามใจชอบ การที่จำเลยที่ 3 ลงพิมพ์ข้อความด้วยว่า เจ้าตำรับผลิตยามัจจุราชถามหาก็ดี เจ้าตำรับยาพยายมก็ดีแต่เมื่ออ่านข้อความทั้งหมดแล้ว คงมีความหมายแต่เพียงว่ายาดังกล่าวเป็นยาอันตรายต่อร่างกายและอาจถึงแก่ชีวิตได้ หาใช่มีความหมายว่ารับประทานแล้วจะเกิดผลให้ต้องตายในทันที ไม่แต่เป็นการสื่อความหมายให้ประชาชนทราบว่ามีความเสี่ยงต่อภัยอันตรายที่อาจได้รับจากการบริโภคยาสองชนิดดังกล่าวที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่ด้วยเท่านั้น
โจทก์ได้บรรยายสรรพคุณเกี่ยวกับยาโคบาลเคคินว่าเป็นยาบำรุงร่างกาย ส่วนยาโคบาล บี ดับบลิว ว่าเป็นยาช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบการหายใจ กับมีภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองติดอยู่ที่แผงยาด้วย และโจทก์ประสงค์จะใช้ภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยก็ตาม การที่จำเลยที่ 3 ใช้ข้อความว่า "เป็นยาปลุกคึกน้องใหม่" กับยาของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากบริโภคยาของโจทก์แล้วร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่าคึกคะนอง ยังไม่มีความหมายชัดเจนพอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นยาปลุกกำหนัดทางเพศสำหรับข้อความที่ว่า "ยังถูกเพ่งเล็งว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าเทียม" เมื่อจำเลยที่ 3ได้กล่าวเป็นทำนองยกขึ้นเปรียบเทียบและมิได้เป็นการกล่าวยืนยันว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อความที่จำเลยที่ 3 ลงพิมพ์ไปนั้นไม่เป็นข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ได้บรรยายสรรพคุณเกี่ยวกับยาโคบาลเคคินว่าเป็นยาบำรุงร่างกาย ส่วนยาโคบาล บี ดับบลิว ว่าเป็นยาช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบการหายใจ กับมีภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองติดอยู่ที่แผงยาด้วย และโจทก์ประสงค์จะใช้ภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยก็ตาม การที่จำเลยที่ 3 ใช้ข้อความว่า "เป็นยาปลุกคึกน้องใหม่" กับยาของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากบริโภคยาของโจทก์แล้วร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่าคึกคะนอง ยังไม่มีความหมายชัดเจนพอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นยาปลุกกำหนัดทางเพศสำหรับข้อความที่ว่า "ยังถูกเพ่งเล็งว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าเทียม" เมื่อจำเลยที่ 3ได้กล่าวเป็นทำนองยกขึ้นเปรียบเทียบและมิได้เป็นการกล่าวยืนยันว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อความที่จำเลยที่ 3 ลงพิมพ์ไปนั้นไม่เป็นข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับยาที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสม ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์ หากเป็นการติชมโดยสุจริตและไม่ฝ่าฝืนต่อความจริง
คาเฟอีนเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายไม่ว่าจะผสมอยู่ในตำรับยาใด ก็ไม่สมควรที่จะปล่อยให้ประชาชนซื้อหารับประทานเองตามใจชอบ การที่จำเลยที่ 3 ลงพิมพ์ข้อความด้วยว่า เจ้าตำรับผลิตยามัจจุราชถามหาก็ดีเจ้าตำรับยาพยายมก็ดี แต่เมื่ออ่านข้อความทั้งหมดแล้ว คงมีความหมายแต่เพียงว่ายาดังกล่าวเป็นยาอันตรายต่อร่างกายและอาจถึงแก่ชีวิตได้ หาใช่มีความหมายว่ารับประทานแล้วจะเกิดผลให้ต้องตายในทันทีไม่แต่เป็นการสื่อความหมายให้ประชาชนทราบว่ามีความเสี่ยงต่อภัยอันตรายที่อาจได้รับจากการบริโภคยาสองชนิดดังกล่าวที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่ด้วยเท่านั้น
โจทก์ได้บรรยายสรรพคุณเกี่ยวกับยาโคบาลเคคินว่าเป็นยาบำรุงร่างกาย ส่วนยาโคบาลบีดับบลิว ว่าเป็นยาช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบการหายใจกับมีภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองติดอยู่ที่แผงยาด้วยและโจทก์ประสงค์จะใช้ภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยก็ตาม การที่จำเลยที่ 3 ใช้ข้อความว่า "เป็นยาปลุกคึกน้องใหม่" กับยาของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากบริโภคยาของโจทก์แล้วร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่าคึกคะนอง ยังไม่มีความหมายชัดเจนพอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นยาปลุกกำหนัดทางเพศ สำหรับข้อความที่ว่า "ยังถูกเพ่งเล็งว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าเทียม" เมื่อจำเลยที่ 3 ได้กล่าวเป็นทำนองยกขึ้นเปรียบเทียบและมิได้เป็นการกล่าวยืนยันว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อความที่จำเลยที่ 3 ลงพิมพ์ไปนั้นไม่เป็นข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ได้บรรยายสรรพคุณเกี่ยวกับยาโคบาลเคคินว่าเป็นยาบำรุงร่างกาย ส่วนยาโคบาลบีดับบลิว ว่าเป็นยาช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบการหายใจกับมีภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองติดอยู่ที่แผงยาด้วยและโจทก์ประสงค์จะใช้ภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยก็ตาม การที่จำเลยที่ 3 ใช้ข้อความว่า "เป็นยาปลุกคึกน้องใหม่" กับยาของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากบริโภคยาของโจทก์แล้วร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่าคึกคะนอง ยังไม่มีความหมายชัดเจนพอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นยาปลุกกำหนัดทางเพศ สำหรับข้อความที่ว่า "ยังถูกเพ่งเล็งว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าเทียม" เมื่อจำเลยที่ 3 ได้กล่าวเป็นทำนองยกขึ้นเปรียบเทียบและมิได้เป็นการกล่าวยืนยันว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อความที่จำเลยที่ 3 ลงพิมพ์ไปนั้นไม่เป็นข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3834/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประกาศกรมศุลกากรเกี่ยวกับยาและอัตราอากร: ยาใช้นอก/ใช้เฉพาะที่แยกจากกันได้
ความมุ่งหมายของประกาศกรมศุลกากรที่46/2531ลำดับที่60มีความหมายว่าเป็นยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกชนิดหนึ่งและเป็นยาน้ำสำหรับใช้เฉพาะที่อีกชนิดหนึ่งหาได้มีความหมายว่าต้องเป็นทั้งยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกและใช้เฉพาะที่ในขณะเดียวกันไม่เมื่อยาน้ำมัน กวางลุ้งของโจทก์เป็นยาน้ำสำหรับใช้ภายนอกจึงต้องตามประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลังโจทก์ชำระอากรอัตราร้อยละ30ถูกต้องแล้วจำเลยจึงไม่จำต้องคืนเงินภาษีอากรให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจสถานพยาบาลและจำหน่ายยาโดยไม่ถูกต้อง อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. ยา และอาจถูกสั่งระงับเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาล ได้รับใบอนุญาตให้ขายยาแผนโบราณ และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาเภสัชกรรม เมื่อยาของกลางมีไว้เพื่อกิจการค้าของจำเลย และถูกเก็บซุกซ่อนอยู่ในสถานพยาบาล แม้มิได้นำออกแสดงโดยเปิดเผยให้คนทั่วไปทราบ แต่จำเลยพร้อมที่จะนำมาขายให้แก่คนไข้หรือผู้มาขอซื้อได้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยา
ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยถูกร้องเรียนจากราษฎรว่าสถานพยาบาลของจำเลยมีพฤติการณ์หลอกลวงคนไข้ว่าสามารถรักษาโรคสารพัด โดยใช้คนขับรถ-สองแถวรับจ้างชักจูงคนไข้ เจ้าหน้าที่เคยตักเตือนจำเลยแล้ว ก็ยังไม่ยอมงดการกระทำอันเป็นการท้าทายเจ้าหน้าที่ โดยอาศัยโอกาสที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ-แผนโบราณสาขาเภสัชกรรม หากปล่อยให้จำเลยประกอบอาชีพต่อไปอาจกระทำความผิดได้อีก กรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้แก่จำเลย
ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยถูกร้องเรียนจากราษฎรว่าสถานพยาบาลของจำเลยมีพฤติการณ์หลอกลวงคนไข้ว่าสามารถรักษาโรคสารพัด โดยใช้คนขับรถ-สองแถวรับจ้างชักจูงคนไข้ เจ้าหน้าที่เคยตักเตือนจำเลยแล้ว ก็ยังไม่ยอมงดการกระทำอันเป็นการท้าทายเจ้าหน้าที่ โดยอาศัยโอกาสที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ-แผนโบราณสาขาเภสัชกรรม หากปล่อยให้จำเลยประกอบอาชีพต่อไปอาจกระทำความผิดได้อีก กรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีการค้าสำหรับยาที่ไม่สามารถใช้ได้โดยตรง ต้องผ่านกระบวนการผลิตเพิ่มเติม
สินค้ายากานาไมซิน ซัลเฟตและเจนตาไมซิน ซัลเฟต แม้จะมีคุณสมบัติในการรักษาโรคโดยไม่ต้องใส่ยาตัวอื่นเติมเข้าไป แต่เมื่อจะใช้ต้องไปทำตามกรรมวิธีด้วยเครื่องจักรในสถานที่ปราศจากเชื้อ ตลอดจนภาชนะและตัวผู้ทำก็ต้องปราศจากเชื้อด้วย เป็นการเอาไปผลิตใหม่เพื่อให้เป็นยาสำเร็จรูปใช้ได้ทันที จึงไม่เป็นยาซึ่งแพทย์หรือประชาชนนำไปใช้ได้โดยตรง ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 บัญชีที่ 3 หมวด 2 (1) โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้านั้นตามมาตรา 5 (8) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 161(พ.ศ.2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรข้อ 1 (2) ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2529 จึงครบระยะเวลาสามเดือนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2530 และต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 1มีนาคม 2530 เป็นต้นไป
แม้ว่าตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตรามากกว่าอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ศาลจึงพิพากษาให้เท่าที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง
ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 161(พ.ศ.2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรข้อ 1 (2) ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2529 จึงครบระยะเวลาสามเดือนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2530 และต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 1มีนาคม 2530 เป็นต้นไป
แม้ว่าตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตรามากกว่าอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ศาลจึงพิพากษาให้เท่าที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง