คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยานพาหนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 202 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะในการฉ้อโกงประชาชน ไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวกร่วมกันใช้รถกระบะของกลางบรรทุกถังเรี่ยไรของกลางนำไปตั้งไว้ตามชุมชนในตำบลที่เกิดเหตุ เพื่อหลอกลวงประชาชนที่พบเห็นและใช้รถกระบะของกลางบรรทุกทรัพย์ที่ได้มาจากการหลอกลวงด้วยนั้น รถกระบะของกลางเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวกใช้เดินทางไปมาในการกระทำความผิดเท่านั้น จึงไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวกที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8104/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะร่วมกัน แม้ผู้กระทำผิดบางรายไม่รู้เห็นอาวุธหรือการใช้ยานพาหนะ
ปัญหาว่าจะลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ฐานร่วมชิงทรัพย์โดยมีอาวุธได้หรือไม่ ในกรณีที่จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธติดตัวมาและไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการใช้อาวุธข่มขู่ผู้เสียหาย และปัญหาว่าจะลงโทษจำเลยที่ 2 หนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ฐานใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมได้หรือไม่ เนื่องจากจำเลยที่ 2 เพียงนำรถจักรยานยนต์เที่ยวเตร่กับจำเลยที่ 1 หลังเกิดเหตุยังคงขับรถเที่ยวโดยไม่ได้หลบหนีนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 แต่ปัญหาทั้งสองประการเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 2 จึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
ในความผิดฐานชิงทรัพย์โดยมีอาวุธ ถ้าผู้ร่วมกระทำความผิดแม้คนใดคนหนึ่งมีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำความผิดที่ไม่มีอาวุธหรือไม่รู้ว่าผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันมีอาวุธติดตัวไป ก็ย่อมมีความผิดฐานชิงทรัพย์โดยมีอาวุธด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ทั้งยังเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปตามบทกฎหมายเดียวกัน
จำเลยทั้งสองร่วมกันชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย แล้วขับรถจักรยานยนต์พาทรัพย์ของผู้เสียหายไปจากที่เกิดเหตุ ก็เป็นการชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6316/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ และการสมคบร่วมกันกระทำความผิด
ขณะผู้เสียหายที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 ไปตามถนน จำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางโดยมี ศ. นั่งซ้อนท้ายตามหลังรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 แสดงว่าจำเลยกับ ศ. ขับรถจักรยานยนต์ของกลางตามรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 มาด้วยกันตั้งแต่ต้น เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 เครื่องดับ ศ. ได้เล็งอาวุธปืนมาที่ผู้เสียหายที่ 2 แล้วใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายที่ 2 รถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 ได้ล้มลง ศ. เข้ามาขับรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 หลบหนีพร้อมกับจำเลย แม้จำเลยจะมิได้ทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 และมิได้พารถจักรยานยนต์ ผู้เสียหายที่ 2 ไป แต่จำเลยก็อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุตลอดเวลา หลังจากเกิดเหตุจำเลยก็ขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไปพร้อมกับ ศ. พฤติการณ์ของจำเลยกับ ศ. เป็นการวางแผนกันมาก่อนและเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยจึงเป็นตัวการสมคบร่วมกระทำความผิดกับ ศ. เพื่อชิงทรัพย์มาตั้งแต่ต้น มิใช่เจตนาเพียงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
จำเลยกับ ศ. สมคบกันมาตั้งแต่ต้นเพื่อชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยเห็น ศ. พกอาวุธปืนมาด้วย ซึ่งการสมคบกันมาชิงทรัพย์นี้จำเลยย่อมคาดหมายได้ว่า ศ. ย่อมจะใช้อาวุธปืนในการชิงทรัพย์ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยไม่ทราบและไม่เกี่ยวข้องด้วยหาได้ไม่ ประกอบกับในการชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางพา ศ. มาชิงทรัพย์ ซึ่ง ศ. ได้เล็งอาวุธปืนไปที่ผู้เสียหายที่ 2 แล้วใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย แล้วจำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไป การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายโดยใช้ยานพาหนะ
จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางโดยมี ศ. นั่งซ้อนท้ายติดตามรถจักรยานยนต์คันที่ผู้เสียหายที่ 2 ขับมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งติดตามมาทันเนื่องจากรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 เกิดเหตุเครื่องดับกะทันหัน แล้วจำเลยกับ ศ. ร่วมกันชิงเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 จากนั้นจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไป แสดงให้เห็นว่า หากจำเลยกับ ศ. ไม่ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขับติดตามรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 ก็จะไม่สามารถติดตามผู้เสียหายที่ 2 ได้ทัน และทำการชิงเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 สำเร็จ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ อันพึงต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลสาบสูญ: รถยนต์ถูกพบยึด ไม่ถือเป็นยานพาหนะสูญหาย ใช้ระยะเวลา 5 ปี ตามกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พบรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ ช. ใช้เดินทางกรณีจึงมิใช่ยานพาหนะที่ ช. เดินทางสูญหาย อันจะเข้าหลักเกณฑ์ระยะเวลา 2 ปี ที่จะร้องขอให้ ช. เป็นคนสาบสูญตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่จะต้องใช้หลักเกณฑ์ระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการขอศาลสั่งเป็นบุคคลสาบสูญ: ยานพาหนะที่พบ vs. สูญหายพร้อมผู้ขับ
ช. เดินทางออกจากบ้านโดยใช้รถยนต์กระบะ แล้วสูญหายไป ภายหลังพนักงานของบริษัทพบรถยนต์กระบะที่ ช. เช่าซื้อไปจอดอยู่ที่ด่านทางออกไปสหภาพพม่าจึงยึดรถยนต์กลับคืนมา การที่พบรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ใช้เดินทาง จึงมิใช่ยานพาหนะที่ ช. เดินทางสูญหาย อันจะเข้าหลักเกณฑ์ระยะเวลา 2 ปี ที่จะต้องขอให้เป็นคนสาบสูญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่จะต้องใช้หลักเกณฑ์ระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนสาบสูญ: การพิจารณาช่วงเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 เมื่อยานพาหนะถูกพบ
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พบรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ ช. ใช้เดินทาง กรณีจึงมิใช่ยานพาหนะที่ ช. เดินทางสูญหาย อันจะเข้าหลักเกณฑ์ระยะเวลา 2 ปี ที่จะร้องขอให้ ช. เป็นคนสาบสูญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่จะต้องใช้หลักเกณฑ์ระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายให้ผู้อื่นใช้ยานพาหนะก่อความผิด ทำให้เจ้าของไม่มีสิทธิขอคืน
ผู้ร้องเป็นบิดาของจำเลยที่ 1 เคยใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปซื้อของและเคยจับได้ว่าจำเลยที่ 1 แอบเอารถจักรยานยนต์ของกลางไปขับในเวลากลางคืน ซึ่งไม่ปรากฏผู้ร้องได้ดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำดังกล่าวขึ้นอีกแต่อย่างใด แต่กลับปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 สามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิดได้อีก ทั้งที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์พักอาศัยอยู่บ้านเดียวกับผู้ร้อง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ 1 นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยที่ 1 ต้องการ โดยไม่คำนึงถึงว่าจำเลยที่ 1 จะนำไปใช้ในกิจการใด การที่จำเลยที่ 1 นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับแข่งกับพวกบนทางเดินรถสาธารณะในเวลากลางคืน ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 โดยปริยาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และข้อจำกัดการอุทธรณ์คดี
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 4 กับยึดรถยนต์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ใช้เป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดติดต่อซื้อขายยาเสพติดให้โทษเป็นของกลาง เมื่อจำเลยที่ 4 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาว่าจำเลยที่ 4 กระทำความผิดตามฟ้อง จึงต้องฟังว่ารถยนต์ของกลางที่ยึดจากจำเลยที่ 4 เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้เถียงว่ามิได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เป็นการมิชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยและพิพากษาให้คืนรถยนต์ของกลางแก่เจ้าของจึงเป็นการมิชอบเช่นกัน และโจทก์หามีสิทธิฎีกาต่อมาไม่ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับฎีกาของโจทก์และอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 โดยให้บังคับคดีลงโทษจำเลยที่ 4 ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2775/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้รายงานการสืบเสาะและพินิจประกอบการพิจารณาโทษและการวินิจฉัยความผิดฐานใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการกระทำความผิด
การที่ศาลชั้นต้นรับฟังตามคำฟ้องของโจทก์ และคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 364, 335 ประกอบมาตรา 336 ทวิ และมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยนั้น ก็เพื่อต้องการทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบดุลพินิจว่าสมควรกำหนดโทษแก่จำเลยสถานใด เพียงใด และเพื่อกำหนดวิธีการหรือเงื่อนไขอันสมควร และเหมาะสมที่จะปฏิบัติต่อจำเลยต่อไปเท่านั้น มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น และแม้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาฯ มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมประพฤติตามมาตรา 11 โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบก็ตาม แต่ก็เป็นการรับฟังเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วย จึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาเป็นเหตุยกฟ้องของโจทก์แม้เพียงบางส่วนก็ไม่ได้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาวินิจฉัยว่าการกระทำผิดของจำเลยครั้งนี้ไม่ปรากฏเหตุอันจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ และยกฟ้องโจทก์บางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ในคดียาเสพติด: รถยนต์ไม่ใช่ยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด จึงไม่สามารถริบได้
จำเลยที่ 3 นั่งโดยสารมาในรถยนต์กระบะ ถือกางเกงซึ่งมีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่มาด้วย หาได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเป็นที่ซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนของกลางไม่ รถยนต์กระบะจึงมิใช่ยานพาหนะซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อาจริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้อง โดยคืนให้แก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 21