คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยาเสพติดให้โทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวและการริบของกลาง
แม้เฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนจะเป็นยาเสพติดให้โทษคนละชนิดกัน แต่ต่างเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภทที่ 1 ทั้งเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นยึดเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนได้ในสถานที่และเวลาเดียวกัน แสดงว่าจำเลยมีเจตนามีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองด้วยกัน การที่โจทก์บรรยายฟ้องการกระทำความผิดของจำเลยเกี่ยวกับเฮโรอีนและแอมเฟตามีนแยกเป็น ข้อ ก และ ข้อ ข ก็ไม่อาจทำให้การกระทำความผิดของจำเลยแยกเป็นสองกรรมต่างกันแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว
มีดคัทเตอร์4เล่มและไฟแช็กแก๊ส 6 อัน ของกลาง ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นหรือทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งโจทก์ก็มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพยาเสพติดให้โทษมาด้วย กรณีจึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวได้ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติด: การจัดหายาเสพติดให้โทษตามคำสั่ง ถือเป็นการจำหน่าย แม้ไม่ใช่เจ้าของยา
คำว่า "จำหน่าย" ตามความหมายในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ การที่จำเลยเป็นผู้จัดหายาเสพติดให้โทษมาให้แก่ ช. โดย ช. ต้องมอบเงินให้แก่จำเลยส่วนจำเลยจะไปหายาเสพติดให้โทษมาจากที่ใด อย่างไร หาได้เกี่ยวข้องกับ ช.ไม่ ช. เป็นเพียงผู้ต้องการยาเสพติดให้โทษ เมื่อมอบเงินให้จำเลยไปจำเลยก็จัดหายาเสพติดให้โทษมามอบให้ตามที่ ช. ต้องการ จึงต้องถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะ ผู้จำหน่ายโดยไม่ต้องคำนึงว่ายาเสพติดให้โทษดังกล่าวจะเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 6และมาตรา 8(1) ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษประกาศให้ยาเสพติดให้โทษชื่อใดอยู่ในประเภทใดได้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ประกาศให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงมีผลใช้บังคับได้ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 6 เช่นกฎหมายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6413/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงสถานะยาจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดให้โทษต่อความผิดตามกฎหมายจราจร
ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "วัตถุออกฤทธิ์ หมายความว่าวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ฉะนั้นวัตถุสิ่งใดหรือวัตถุออกฤทธิ์ใดจะเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ต้องเป็นสิ่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสำคัญ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539)ให้ยกเลิกประกาศฉบับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวยาบางประเภทโดยเฉพาะเมทแอมเฟตามีนและแอมเฟตามีนเสียแล้วและตามบัญชีท้ายประกาศก็มิได้ระบุว่ายาทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ แต่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) และบัญชีท้ายประกาศ ข้อกำหนดดังกล่าวย่อมมีผลไปถึงกฎหมายฉบับอื่นที่ได้ระบุไว้เป็นการทั่ว ๆ ไปของคำว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไปด้วยในตัวการที่จำเลยขับรถยนต์ในขณะเสพเมทแอมเฟตามีน จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดให้โทษ ไม่ยกเลิกความผิดฐานครอบครอง และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนปริมาณ 0.589 กรัม เกินปริมาณรัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในครอบครอง และเมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองแต่อย่างใด ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ ส่วนจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย คือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6142/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงบทกฎหมายที่ใช้ลงโทษ: จากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดให้โทษ และอำนาจศาลในการยกฟ้อง
ขณะจำเลยกระทำความผิด การเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 62 ตรี ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ตรี ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539)ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ เดิมทุกฉบับและให้วัตถุออกฤทธิ์ที่ระบุชื่อในบัญชีท้ายประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวมิได้ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์อีกต่อไป ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ เท่านั้น จึงมีผลให้การเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57ต้องรับโทษตามมาตรา 91 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาทไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ อีกต่อไป อันเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 วรรคหนึ่ง เมื่อระวางโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 106 ตรี และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 ต่างเป็นคุณต่อผู้กระทำความผิดคือถ้าดูในโทษขั้นสูงแล้วพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 106 ตรีเป็นคุณกว่า เพราะจำคุกอย่างสูงเพียงห้าปี แต่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 ลงโทษอย่างสูงได้ถึงสิบปีแต่ถ้าดูโทษขั้นต่ำแล้ว พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา 91 เป็นคุณกว่าเพราะจำคุกตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปแต่พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา 106 ตรี จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ฉะนั้นถ้าศาลลงโทษจำคุกในอัตราขั้นสูงต้องใช้พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ เพราะเป็นคุณแก่จำเลยแต่ถ้าจะจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำต้องใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ เพราะเป็นคุณแก่จำเลย คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วางโทษจำคุก 1 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 6 เดือน การวางโทษอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายขณะกระทำความผิด คือ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ก็ได้ หรือใช้กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด คือ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯก็ได้ เช่นนี้ควรใช้กฎหมายขณะกระทำความผิดที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ จึงชอบแล้ว ข้อหาความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่งนั้น เมื่อภายหลังการกระทำความผิดเมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทแต่ได้เปลี่ยนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)และ พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษดังเช่น พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 แล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185,215 และ 225 การเสพเมทแอมเฟตามีนแล้วปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถยนต์ในทางสาธารณะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุเป็นผลให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บล้มตายซึ่งเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม นับได้ว่าเป็นภยันตรายที่ร้ายแรงปรากฏให้เห็นเป็นประจำในสังคมปัจจุบัน การลงโทษสถานหนักโดยให้จำคุกเป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันและปรามปรามหยุดยั้งมิให้มีการกระทำความผิดเช่นนี้อีก จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดซ้ำเกี่ยวกับกัญชาหลัง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ มีผลเพิ่มโทษจำเลยได้
จำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตซ้ำกันถึง 2 ครั้ง ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษคดีก่อนแม้ว่าโทษครั้งก่อนจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกัญชาแต่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกัญชาทั้งฉบับแล้วนำมาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษโดยให้ถือว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 และผู้ที่มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดฉะนั้น การที่จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งในคดีก่อนและคดีหลังจึงต้องถือว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษด้วยกันจึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีกัญชาและเมล็ดกัญชาเป็นความผิดกรรมเดียวตามกฎหมายยาเสพติดให้โทษ
การมีกัญชาไว้ในครอบครองเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ กัญชาและเมล็ดกัญชาก็คือกัญชาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนั่นเอง ดังนั้น การที่จำเลยมีกัญชาและเมล็ดกัญชาในขณะเดียวกัน อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ จึงเป็นการกระทำผิดเพียงกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13947/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง: การออกข้อกำหนดห้ามเสพยาเสพติดให้โทษต้องครอบคลุมเฮโรอีนหรือไม่
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ คำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่าตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย มิใช่ครอบคลุมเฉพาะกรณีวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทเท่านั้น เมื่ออธิบดีกรมตำรวจออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน ตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและประเภทของรถที่ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจสอบผู้ขับขี่ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 โดยยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพเฮโรอีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12151/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง: การประกาศห้ามเสพยาเสพติดให้โทษต้องครอบคลุมเฮโรอีนด้วยหรือไม่
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ คำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงครอบคลุมถึงยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มิใช่ครอบคลุมเฉพาะการเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทเท่านั้น เมื่ออธิบดีกรมตำรวจออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน ตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและประเภทของรถที่ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจสอบผู้ขับขี่ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 โดยยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพเฮโรอีน ซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง