คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยึดถือทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และสัญญาตีใช้หนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถใช้เป็นเหตุอ้างสิทธิยึดถือทรัพย์ได้
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ที่ว่า ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้นั้น หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงิน 5,000,000 บาท ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กับ ร. ร่วมกันกู้ยืมจากจำเลยนั้นไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการกู้ยืมเงินดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์เพื่อยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้ และการที่โจทก์กับ ร. ตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. อีกจำนวนหนึ่ง เห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มนั้นเป็นสาระสำคัญที่จะต้องตกลงกัน แต่จำเลยก็ยังไม่มีการตกลงกันในรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. เป็นจำนวนเท่าใด จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามชิงทรัพย์: การกระชากสร้อยคอจนขาด ไม่ถือเป็นการยึดถือทรัพย์สำเร็จ
จำเลยเข้าบีบคอผู้เสียหายทางด้านหลัง แล้วกระชากสร้อยคอห้อยพระเครื่องที่สวมอยู่ที่คอจนสร้อยขาดจากกัน ในทันใดผู้เสียหายได้ใช้มือกุมสร้อยคอที่หลุดจากคอแต่ยังอยู่ที่บริเวณหน้าอกไว้ได้ทันจำเลยแย่งเอาไปไม่ได้แม้สร้อยคอจะอยู่ที่มือจำเลยตอนกระชากก็เป็นการกระทำในขั้นที่มุ่งหมายจะให้สร้อยขาดหลุดจากคอผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อสร้อยขาดแล้วจำเลยยังไม่ทันยึดถือเอาไป ผู้เสียหายก็กุมสร้อยเอาไว้ได้ การที่จำเลยจะยึดถือเอาสร้อยไปยังไม่บรรลุผลการกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์: การกระชากสร้อยคอจนขาด ไม่ถือเป็นการยึดถือทรัพย์สำเร็จ
จำเลยเข้าบีบคอผู้เสียหายทางด้านหลัง แล้วกระชากสร้อยคอห้อยพระเครื่องที่สวมอยู่ที่คอจนสร้อยขาดจากกัน ในทันใดผู้เสียหายได้ใช้มือกุมสร้อยคอที่หลุดจากคอแต่ยังอยู่ที่บริเวณหน้าอกไว้ได้ทัน จำเลยแย่งเอาไปไม่ได้แม้สร้อยคอจะอยู่ที่มือจำเลยตอนกระชาก ก็เป็นการกระทำในขั้นที่มุ่งหมายจะให้สร้อยขาดหลุดจากคอผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อสร้อยขาดแล้วจำเลยยังไม่ทันยึดถือเอาไป ผู้เสียหายก็กุมสร้อยเอาไว้ได้ การที่จำเลยจะยึดถือเอาสร้อยไปยังไม่บรรลุผล การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์: ความยึดถือในทรัพย์สินของผู้เสียหายยังไม่ขาดตอน แม้มีผู้เก็บทรัพย์ได้ก่อน
ผู้เสียหายกับคณะกลองยาวไปวัดในพิธีอุปสมบท คณะกลองยาวเล่นกลองยาวบนศาลาอยู่กับผู้เสียหายและญาติ ต่อมาคณะกลองยาวก็ลงจากศาลาประโคมกลองยาวนำหน้านาค โดยมีผู้เสียหายเดินตามไปผู้เสียหายไปได้ 2 เส้น รู้สึกตัวว่าสายสร้อยข้อมือทองคำหายจึงกลับขึ้นไปหาบนศาลา ปรากฏว่า ส. อายุไม่เกิน 7 ปี เก็บสร้อยนั้นได้บนศาลาแล้วเอาไปให้จำเลยที่ 2 อายุ 13 ปี ซึ่งเป็นพี่สาวจำเลยที่ 2 เอาไปให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาที่ข้างศาลาในเวลากระชั้นชิดกัน จำเลยที่ 1 เอาสร้อยห่อพกออกจากวัดไปทันที เมื่อผู้เสียหายไปสอบถาม จำเลยที่ 1ว่าไม่รู้เห็น พฤติการณ์เช่นนี้ถือว่าสร้อยนั้นยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหาย ไม่ใช่ทรัพย์ตกหาย จำเลยที่ 1 น่าจะทราบว่าทรัพย์นั้นเป็นของพวกที่มาในคณะกลองยาวและเจ้าของจะติดตามเอาคืน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วน ส. และจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนาทุจริต จึงไม่มีความผิด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ การบังคับคดี และสิทธิในการยึดถือทรัพย์
ตามทางนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยมีความผูกพันเป็นพิเศษอย่างไรนอกเหนือจากที่เคยให้กู้ยืมเงินกันมาก่อน การที่หลังจากให้จำเลยกู้ยืมเงิน 1,800,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556 ต่อมาเดือนตุลาคม 2556 จำเลยขอให้โจทก์โอนเงินมาให้อีก 1,500,000 บาท และโจทก์เห็นว่าได้ยึดถือโฉนดที่ดินของจำเลยไว้แล้ว จึงโอนเงินไปให้โดยไม่ได้ทำหลักฐานอื่นใดเพิ่มเติมนั้น บ่งชี้ว่าเป็นการให้จำเลยกู้ยืมเงินอีกดังที่ศาลล่างวินิจฉัย ส่วนที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าการโอนเงินให้แก่กันไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นการโอนเงินที่สามารถเรียกคืนได้ตามกฎหมายนั้น การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฎว่าจำเลยจะต้องคืนเฉพาะเงินเหรียญหรือธนบัตรในลักษณะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเท่านั้น เมื่อโจทก์โอนเงินกู้ให้แก่จำเลยไป กรรมสิทธิ์ในเงินกู้ย่อมตกแก่จำเลย ฟ้องโจทก์จึงไม่ใช่การใช้ทรัพยสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน แต่เป็นการใช้บุคคลสิทธิเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" เมื่อโจทก์ยังมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เพราะจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญมานำสืบตามกฎหมาย จึงฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระเงินกู้ไม่ได้ ซึ่งรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อหนี้ที่โจทก์อ้างเป็นมูลฟ้องร้องและยึดถือโฉนดไว้เป็นหนี้เงินกู้ที่ฟ้องร้องบังคับไม่ได้ตามกฎหมาย ส่วนหนี้เงินกู้ 1,800,000 บาท โจทก์ก็รับว่าจำเลยชำระหนี้ให้แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ของจำเลยไว้ต่อไป