คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยึดรถยนต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์หลังผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ: โจทก์ผิดสัญญาเมื่อไม่บอกกล่าวให้ชำระหนี้ก่อนยึดรถ
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะระบุว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อไม่ว่างวดหนึ่งงวดใด ให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้โดยทันที และยินยอมให้เจ้าของทำการยึด และเข้าครอบครองรถยนต์นั้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาตั้งแต่งวดที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งโจทก์ก็ยินยอมรับไว้ แม้โจทก์จะคิดค่าปรับแก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ล่าช้าก็ตาม แต่หลังจากโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาแล้ว โจทก์ยังยินยอมรับเงินค่าเช่าซื้องวดที่ 7 และ ที่ 8 พร้อมค่าปรับ พฤติการณ์ดังกล่าวของโจทก์แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าซื้อในสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ทั้งก่อนที่โจทก์จะไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ จากนั้นจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอรับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แสดงว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งการยึดนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระงวดที่ 9 ภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรดังบทบัญญัติดังกล่าว การที่โจทก์ไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาเพราะเหตุดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ก็โต้แย้งการยึด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อแทนค่าปรับที่ได้รับไว้แก่จำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3938/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์พิพาทโดยเจ้าพนักงานตำรวจหลังรับแจ้งความฉ้อโกง ไม่ถือเป็นการละเมิดหากมีเหตุอันควรสงสัย
การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานตำรวจไปยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นของกลางก็เพราะมีมูลเหตุเกิดจากพฤติการณ์ที่ ว. หลอกลวงซื้อรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์แล้วไปขายต่อให้บุคคลภายนอกโดยไม่นำเงินค่ารถไปชำระแก่โจทก์ ซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยว่ารถยนต์พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือ ว. การร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ว. ถือได้ว่าเป็นสิทธิของโจทก์ในฐานะประชาชนที่จะกระทำได้โดยชอบธรรมไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้มีการทำละเมิดกฎหมายอันจะเกิดแก่โจทก์ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจไปยึดรถยนต์พิพาทมาเป็นของกลาง แม้จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแต่ก็เป็นดุลพินิจและอำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินคดีแก่ ว. ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายให้อำนาจไว้พฤติการณ์แห่งคดียังไม่ถึงขนาดที่จะรับฟังได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อ หรือมีเจตนาจงใจกลั่นแกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยฝ่ายเดียว การกระทำดังกล่าวของโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ต้องรับผิดในความเสียหายจากการยึดรถยนต์ของเจ้าพนักงานตำรวจ แม้จะเคยเช่ารถยนต์คันดังกล่าว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ยอมส่งตัวลูกจ้างที่ขับรถยนต์พิพาทไปเกิดอุบัติเหตุไปให้พนักงานสอบสวนและไม่นำรถยนต์พิพาทไปมอบให้พนักงานสอบสวนต่อมาเมื่อโจทก์และจำเลยเลิกสัญญาเช่าต่อกันและจำเลยมอบรถยนต์พิพาทให้โจทก์แล้วเจ้าพนักงานตำรวจได้มายึดรถยนต์พิพาทไปการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่สามารถนำรถยนต์พิพาทไปให้เช่าได้ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายดังนี้การที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์ไปเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายมิใช่การกระทำของจำเลยจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อจากพฤติการณ์การชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนด และการยึดรถยนต์ ย่อมทำให้เกิดผลผูกพันตามสัญญา
การที่จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อตลอดมาทุกงวด โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ตามพฤติการณ์แสดงว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในการชำระค่าเช่าซื้อแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสำคัญอีกต่อไป จึงนำเอาข้อกำหนดในสัญญาเช่าซื้อมาใช้บังคับโดยถือว่าโจทก์ยอมผ่อนผันเวลาที่สัญญาจะเลิกกันออกไปอีก และถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีในวันที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อหาได้ไม่ ในกรณีดังกล่าวหากโจทก์ต้องการจะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ก่อนโจทก์เพียงแต่มีหนังสือถึงจำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อเกี่ยวกับค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาล่าช้าเท่านั้น หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายโดยอ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันก่อนแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าซื้อแต่การที่โจทก์ได้ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใดเลยเป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้วนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ถึงแม้ว่าโจทก์จะได้ติดตามยึดรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 มาครั้งหนึ่งแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์อยู่แสดงว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้ออยู่ สัญญายังมิได้เลิกกันในช่วงนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อจะต้องคืนรถยนต์เพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อกลับคืนสู่ฐานะเดิมและจะต้องใช้เงินเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในการใช้รถยนต์ของโจทก์ในระหว่างที่ตนยังไม่ส่งมอบรถยนต์คืนตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์จากการผิดสัญญาซื้อขาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยึดรถยนต์ชอบด้วยสัญญา ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายตามฟ้องหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาค่างวดรถยนต์ติดต่อกันถึง 7 งวดจำเลยจึงใช้สิทธิตามสัญญายึดรถยนต์พิพาทคืนจากโจทก์ จำเลยจึงมิใช่ฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยมิใช่ฝ่ายผิดสัญญา คดีจึงฟังไม่ได้ตามฟ้อง ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยคดีต่อไปว่า เมื่อจำเลยยึดรถพิพาทคืนจากโจทก์ เป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม และให้จำเลยคืนเงินค่างวดรถยนต์ที่ได้รับชำระไว้แล้วทั้งหมดแก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาท เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์คืนจากผู้ผิดสัญญาซื้อขาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยเรื่องเลิกสัญญาเกินประเด็น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาค่างวดรถยนต์ติดต่อกันถึง 7 งวด จำเลยจึงใช้สิทธิตามสัญญายึดรถยนต์คืนจากโจทก์ ดังนั้น จำเลยจึงมิใช่ฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยมิใช่ฝ่ายผิดสัญญา คดีจึงฟังไม่ได้ตามฟ้อง ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยคดีต่อไปว่า เมื่อจำเลยยึดรถยนต์พิพาทคืนจากโจทก์เป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมและให้จำเลยคืนเงินค่างวดรถยนต์ที่ได้รับชำระไว้แล้วทั้งหมดแก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์โดยมิชอบ เจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ละเมิดสิทธิเจ้าของรถ
รถยนต์คันพิพาทเป็นรถยนต์ที่ประกอบดัดแปลงโดยใช้ชิ้นส่วนเก่าภายในประเทศ มิใช่รถยนต์ที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาภายในประเทศหรือมีการลักลอบนำแค้ปของรถยนต์คันพิพาทเข้ามาภายใน ประเทศโดยไม่เสียภาษีจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะยึดรถคันพิพาทของโจทก์ได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อในการยึดรถยนต์คันพิพาทอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์โดยมิชอบ เจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่อละเมิดต่อโจทก์
รถยนต์คันพิพาทเป็นรถยนต์ที่ประกอบดัดแปลงโดยใช้ชิ้นส่วนเก่าภายในประเทศ มิใช่รถยนต์ที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาภายในประเทศหรือมีการลักลอบนำแค้ปของรถยนต์คันพิพาทเข้ามาภายในประเทศโดยไม่เสียภาษี จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะยึดรถคันพิพาทของโจทก์ได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อในการยึดรถยนต์คันพิพาทอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์ที่ซื้อมาโดยสุจริต: อำนาจหน้าที่พนักงานสอบสวน & สิทธิผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่ง
จำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสอบสวน ในการสืบสวนสอบสวนจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแสวงหาข้อเท็จจริง รวบรวมหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับความผิดเพื่อทราบข้อเท็จจริง พิสูจน์ความผิดและเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ การที่จำเลยที่ 3 สืบสวนทราบว่ารถยนต์ของ ช. ที่ถูกยักยอกไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์ และยึดรถยนต์ดังกล่าวมาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 และกรมตำรวจจำเลยที่ 4 ต้นสังกัด จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ซื้อรถยนต์จากท้องตลาดโดยสุจริต ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อนั้นไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 เพียงแต่บัญญัติว่าผู้ซื้อไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา ดังนี้เมื่อเจ้าของติดตามรถยนต์ดังกล่าวคืนโดยตำรวจยึดรถยนต์นั้นไปและศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาเพราะเหตุที่โจทก์ถูกรอนสิทธิแล้ว โจทก์จึงขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์แก่โจทก์อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์ของพนักงานสอบสวนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีอาญา: การกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ
จำเลยที่3เป็นพนักงานสอบสวนได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำการสอบสวนกรณีมีผู้ร้องทุกข์ว่ารถยนต์คันพิพาทถูกยักยอกจำเลยที่3จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแสวงหาข้อเท็จจริงรวบรวมหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับความผิดเพื่อทราบข้อเท็จจริงพิสูจน์ความผิดและเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษการที่จำเลยที่3สืบสวนทราบว่ารถยนต์คันพิพาทอยู่ในความครอบครองของโจทก์แล้วจำเลยที่3ยึดรถยนต์ดังกล่าวจากโจทก์ไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยที่3จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
of 2